
บทความโดย David Nakayama, DET Corp Comms
กรุงเทพฯ ประเทศไทย 5 ตุลาคม 2565 – บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่นจากนายกรัฐมนตรี ในประเภทอุตสาหกรรมศักยภาพ ประจำปี 2565 จากความทุ่มเทของบริษัทในการสนับสนุนนโยบายประเทศไทย 4.0 ด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยานยนต์ยุคใหม่ โซลูชั่นการผลิตอัจฉริยะ และการพัฒนาความสามารถของวิศวกรในท้องถิ่น
หมวดหมู่รางวัลอุตสาหกรรมศักยภาพ เป็นหมวดหมู่ที่ยกย่องบริษัทที่เป็นแรงผลักดันให้อุตสาหกรรมของประเทศไทยมีศักยภาพ โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประเทศไทย ได้ให้เกียรติมอบรางวัลแก่ นายแจ็คกี้ จาง ประธานบริษัทเดลต้า ประเทศไทย

ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมดีเด่น ในประเภทอุตสาหกรรมศักยภาพ ประจำปี 2565 ของเดลต้า ได้แก่:
- นวัตกรรมผลิตภัณฑ์: พัดลมระบายความร้อนประสิทธิภาพสูง (DC brushless blowers) และพัดลมไร้สายสำหรับการใช้งานในรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในเดลต้าโรง6 ซึ่งช่วยสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยในการพัฒนาการวิจัยและพัฒนา (R&D) ยานยนต์ไฟฟ้าโดยวิศวกรท้องถิ่น
- โซลูชั่นโรงงานอัจฉริยะจากเดลต้า (Delta Smart Manufacturing):
- โซลูชั่นเครื่องฉีดขึ้นรูปเฟรมพัดลม DC ที่ใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติของเดลต้า ได้แก่ เซอร์โวมอเตอร์ และไดรฟ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (VFD) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงการผลิต
- เครื่องพันขดลวดอัตโนมัติอัจฉริยะที่ทำและแก้ไขโดยวิศวกรชาวไทยของเดลต้าเพื่อใช้ในโรงงานในท้องถิ่น
ปีนี้ถือเป็นปีที่เจ็ดแล้วที่เดลต้าได้รับรางวัลอุตสาหกรรมจากนายกรัฐมนตรี โดยบริษัทเคยชนะรางวัลในหลายประเภท ได้แก่ ประเภทการเพิ่มผลผลิต (Productivity) ประเภทการบริหารงานคุณภาพ (Quality Management) และประเภทการจัดการพลังงาน (Energy Management) ในปี 2543, ปี 2553, ปี 2554 และ ปี 2563 ตามลำดับ ทั้งยังได้รับรางวัลประเภทอุตสาหกรรมศักยภาพ (Potential Industry ) และประเภทความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในปี 2561
นอกจากนี้ในปี 2555 เดลต้ายังเคยได้รับรางวัล Prime Minister’s Best Industry Award ซึ่งถือเป็นเกียรติสูงสุด เหนือรางวัลอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ

เกี่ยวกับผู้เขียน (Editorial Team)
ถ้าเปรียบว่า Content is king แน่นอนว่าก็ต้องมี Kingmaker และเรื่องที่ผมโปรดปรานมากที่สุดก็คือความปรารถนาของมนุษย์เพื่อเสรีภาพ ผมจบปริญญาโทด้านการศึกษาภาษาจีนและมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมและประเทศต่าง ๆ และในฐานะที่ผมเป็นนักสื่อสารที่ DET ผมหมกมุ่นอยู่กับเรื่องราวเบื้องหลังการสร้างผลิตภัณฑ์และผู้คน คุณสามารถแชร์เรื่องราวกับผมได้ที่