โดย Delta Thailand - เผยแพร่เมื่อ กรกฎาคม 10, 2567
กรุงเทพฯ ประเทศไทย 8 กรกฎาคม 2567 - บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ผู้นำระดับโลกด้านการจัดการพลังงานและผู้ให้บริการโซลูชันอัจฉริยะสีเขียวด้วยเทคโนโลยี IoT นำโดย นายวิคเตอร์ เจิ้ง ประธานกรรมการบริหารบริษัท เดลต้า ประเทศไทย ร่วมแสดงความยินดีในการได้รับตำแหน่งใหม่ของ รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณะบดีชุดใหม่ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายวิคเตอร์ เจิ้ง ประธานกรรมการบริหารบริษัท เดลต้า ประเทศไทย กล่าว “เดลต้า ประเทศไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนานมากกว่า 10 ปี ด้วยความร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ เราได้พัฒนาการฝึกอบรมด้านวิศวกรรมศาสตร์ขั้นสูงเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรไทย นอกจากนี้ เดลต้า ประเทศไทย ยังมีอีกหลากหลายโครงการที่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น Delta Industrial Automation Academy และ Delta Automation Lab ซึ่งนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม Delta Academy ยังได้รับรางวัลจากการแข่งขัน Delta Advanced Automation Cup ระดับนานาชาติ อีกด้วย”
ในครั้งนี้ทางเดลต้า ประเทศไทย และคณะบดีชุดใหม่ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมปรึกษาหารือในส่วนของการก่อตั้ง Delta Power Electronics Lab เพื่อต่อยอดจาก Delta Industrial Automation Lab ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยตั้งแต่ปี 2565 เดลต้า ได้ร่วมงานกับหลากหลายมหาวิทยาลัยเพื่อเปิด power electronics labs โดยมีเครื่องมือที่ทันสมัย และการฝึกอบรมต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาไทย รวมไปถึงคณะอาจารย์ เพื่อพร้อมรับมือกับเทรนด์ใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่มีแนวโน้มที่จะส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญอีกด้วย
โดยโครงการดังกล่าวนั้นมีจุดประสงค์เพื่อให้นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้เครื่องมือและเครื่องจักรอุตสาหกรรมอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องไปกับนโยบายของกระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (MHESI) ในแง่ของการพัฒนาตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย
ในฐานะที่เดลต้า ประเทศไทย เป็นบริษัทที่ยั่งยืน และเป็นผู้ให้บริการโซลูชันอัจฉริยะสีเขียวชั้นนำ เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับโอกาสร่วมงานกับภาคส่วนวิชาการและรวมไปถึงคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดลต้า ประเทศไทย เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับบุลการของไทยนั้นจะส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญในด้านการพัฒนาทั้งด้านวิชาการและอุตสาหกรรมในประเทศไทย