นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

การพัฒนาอย่างยั่งยืนของเดลต้า ตอนที่ 5: Zero Food Waste สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่น

โดย Nicha Aramay - เผยแพร่เมื่อ มกราคม 19, 2565

เขียนโดย Nicha Aramay, DET SD

ส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD) ของเราที่เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย คือ การ ลดขยะอาหารลงหลุมฝังกลบและส่งเสริมแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ในชุมชนท้องถิ่นของเรา

และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น เดลต้าจัดการแปรรูปเศษอาหารที่โรงอาหารของบริษัทด้วยโมเดล FoodCycle” สิ่งนี้เป็นตัวช่วยในการนำเอาเศษอาหารจากโรงอาหารไปให้เกษตรกรในท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ กระบวนการรีไซเคิลอาหารของเราเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรในท้องถิ่นและช่วยให้เราลดขยะอาหารที่ซึ่งปกติแล้วเราจะกำจัดโดยการนำลงหลุมฝังกลบได้

FoodCycle ของเดลต้าใช้แนวคิดหมุนเวียน Waste-To-Farm-To-Table" เราลดและรีไซเคิลขยะโดยการคัดแยกเศษอาหารเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์หรือเป็นอาหารปลาในบ่อเลี้ยง เศษอาหารที่เกิดขึ้นที่เดลต้าจะไม่มีทางสูญเปล่า เราจะใช้สิ่งนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เศษอาหารของเราที่ใช้เป็นอาหารในบ่อปลานั้น ขั้นแรกจะได้รับการบำบัดล่วงหน้าด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (EMs) EMs เป็นจุลินทรีย์ชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น แบคทีเรียโฟโตโทรปิก แบคทีเรียกรดแลคติก แอคติโนมัยซีท เชื้อรา และยีสต์ ที่ถูกนำมาใช้ในด้านอาหาร, การเกษตร, การเลี้ยงสัตว์, การประมง, การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมและในด้านการแพทย์

    EM ที่เสริมด้วยกากน้ำตาล กากกล้วยและน้ำสะอาดจะเป็นแหล่งคาร์บอน หลังจากผ่านไป 10-15 วัน EM จะพร้อมใช้งานสำหรับการหมักเศษอาหารเหลว ของแข็งจากเศษอาหารที่ผ่านการบำบัดแล้วจะถูกกรองและป้อนให้ปลาในบ่อ ของเสียที่เป็นของเหลวที่เหลือจะถูกผสมกับ EM และเก็บไว้ในถังที่มีฝาปิด ซึ่งจะป้องกันการปนเปื้อนจากแมลงและสัตว์ระหว่างกระบวนการหมัก

หลังจากกระบวนการหมัก 3-4 วัน ของเสียที่เป็นของเหลวก็พร้อมที่นำไปทำเป็นอาหารปลา EM ช่วยในการย่อยสลายสารประกอบอินทรีย์และเร่งกระบวนการบำบัดหรือการสลายตัว นอกจากนี้ยังช่วยขจัดปัญหากลิ่นและแมลงวันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำปุ๋ยหมักเศษอาหารได้อย่างมาก

ของเสียจากอาหารเหลวที่ไม่ผ่านการบำบัด ซึ่งประกอบด้วยน้ำ น้ำมันพืช และเครื่องปรุงรสที่มีค่า pH สูง ไม่เหมาะที่จะทำเป็นอาหารปลาหรือระบายเข้าสู่ระบบท่อระบายน้ำโดยตรง น้ำมันพืชจากอาหารสามารถสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ เช่น ทำให้ท่ออุดตัน ออกซิเจนในน้ำลดลง สร้างฟิล์มน้ำมัน ส่งกลิ่นเหม็น และทำให้ตัวกรองการบำบัดน้ำอุดตัน ดังนั้นน้ำมันที่ไม่ผ่านการบำบัดทำให้เกิดมลพิษที่สามารถฆ่าสิ่งมีชีวิตในทะเลได้

เราใช้ EM ในการย่อยสลายน้ำมันและปรับระดับค่า pH ก่อนจะปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ กระบวนการนี้ถือว่ามีความปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุ้มค่า อีกทั้งยังได้การยอมรับจากชุมชน นอกจากนี้การใช้วิธีการย่อยสลายน้ำมันพืชจากจุลินทรีย์ช่วยลดเวลาในการบริหารจัดการ ใช้งานง่าย ซึ่งจะช่วยลดค่า Chemical Oxygen Demand (COD) และสารแขวนลอย (Suspended Solids) ที่เป็นของแข็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับการใช้วิธีการทางความร้อน

 ที่ตั้งของเดลต้าที่อยู่ในจังหวัดสมุทรปราการนั้นอยู่ติดกับแนวชายฝั่งทำให้เหมาะสำหรับการทำการประมงน้ำจืดและการประมงชายฝั่ง จากการวิจัยของจังหวัดในปี 2018 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้้าจืดที่พบมากที่สุดคือปลานิลชนิดต่าง ๆ ซึ่งกินเนื้อที่ประมาณ 48,218.65 ไร่

เศษอาหารเหลวหมักที่บำบัดด้วย EM จะถูกนำไปใช้เป็นอาหารในบ่อปลา ซึ่งสารอินทรีย์และน้ำมันพืชจะไม่เป็นอันตรายต่อปลา จากการศึกษาในปี 2021 EM อาจมีประโยชน์ต่อปลานิล เช่น การส่งเสริมการเจริญเติบโต การปรับปรุงภูมิคุ้มกันของปลา และการกระตุ้นการบริโภคอาหาร

คุณอ๊อฟ เกษตรกรในชุมชนจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า ราคาอาหารปลาเพิ่มขึ้นทุกปี เศษอาหารจากโรงอาหารของเดลต้าช่วยประหยัดต้นทุนอาหารปลา และยังดีต่อการเติบโตของปลาเป็นอย่างมาก

ทุก ๆ ปี เดลต้าจะคัดแยกขยะอาหารประมาณ 620 ตันเพื่อมอบให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ และด้วยวิธีนี้ เดลต้าประเทศไทยสามารถลดของเสียและช่วยลดต้นทุนอาหารสัตว์ให้เกษตรกรในชุมชนได้ถึง 31% ซึ่งนับว่าเป็นการช่วยสนับสนุนทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่อภาคเกษตรกรรมในท้องถิ่น เราดีใจที่เกษตกรสามารถประหยัดเงินค่าอาหารสัตว์ได้ประมาณ 1,720,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว

เดลต้าเลือกดำเนินการตามทฤษฎีเศรษฐกิจใหม่ Bio - Circular - Green Economy (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ในการจัดการเศษอาหาร เป้าหมายของเราคือการหมุนเวียนเศษอาหารให้มีมูลค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เรามุ่งหวังที่จะดูแลผู้คนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

Nicha Aramay

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

Nicha Aramay

ชีวิตเราเรียนรู้ด้วยการลองผิดลองถูก อย่าให้ความผิดพลาดหรืออุปสรรคมาเป็นตัวขัดขวางเราจากเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมักคุ้มค่ากับความพยายามเสมอ เราจบปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ และทำงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ F&B เรารักวิถีชีวิตที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ สามารถพูดคุยกันได้ที่ https://www.linkedin.com/in/nicha-aramay-b059b7b4

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next