นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

การพัฒนาอย่างยั่งยืนของเดลต้า ตอนที่ 4: ก้าวสู่เส้นทางคาร์บอนเป็นศูนย์ในยุค RE100

โดย อรทิพย์ อ้อทอง - เผยแพร่เมื่อ พฤศจิกายน 12, 2564

บทความโดย อรทิพย์ อ้อทอง, ผู้จัดการอาวุโสความยั่งยืนของบริษัทเดลต้า ประเทศไทย

ในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืนระดับภูมิภาคและองค์กรระดับโลก กลยุทธ์และการดำเนินงานด้าน SD ของเดลต้า ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต และเพื่อให้สอดคล้องกับเมกะเทรนด์ของโลก การเปลี่ยนแปลงด่านสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในปัญหาเร่งด่วนที่สุดแห่งยุค และเดลต้าได้รับมือกับปัญหานี้ด้วยการเข้าร่วมโครงการริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง EV100 และ RE100 โดย Climate Group

ในตอนที่ 4 ของซีรีส์ การพัฒนาอย่างยั่งยืนของเดลต้า ประเทศไทย เราจะมาชมการดำเนินงานของเดลต้าอย่างใกล้ชิดในการมุ่งสู่เป้าหมาย RE100 ด้านพลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2573 อย่างมุ่งมั่น มาชมเส้นทางของเดลต้าสู่ RE100 ไปด้วยกัน:

  1. การเปิดเผยข้อมูล ESG ต่อ TCFD
  2. การเข้าร่วม EV100 และ RE100
  3. กลยุทธ์การผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบหมุนเวียน

การเปิดเผยข้อมูล ESG ต่อ TCFD

ในตอนก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงแล้วว่าสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจประจำวันของเดลต้าอย่างไร การพัฒนาที่ยั่งยืน (SD) ของเดลต้าเป็นการผสมผสานระหว่างกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) และวิธีการและแนวทางปฏิบัติ ESG ที่สามารถวัดผลและพิสูจน์ให้เห็นได้ ผลการดำเนินงาน ESG ที่แข็งแกร่งทำให้เราหลายเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันระดับโลก การดำเนินงานที่ยั่งยืน และท้ายที่สุดก็ได้รับใบอนุญาตทางกฎหมายและทางสังคมแก่เราในการดำเนินกิจการในประเทศไทย

ในปี 2015 รัฐมนตรีคลังของกลุ่ม G20 และผู้ว่าการธนาคารกลางภายในคณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน (FSB) ได้จัดตั้งคณะทำงานเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD) เป้าหมายของ TCFD คือการพัฒนาการให้คำแนะนำสำหรับการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพอากาศอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสามารถส่งเสริมการลงทุนอย่างมีข้อมูลมากขึ้น เครดิต และการตัดสินใจพิจารณาประกันภัย และช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจระดับความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับคาร์บอนในภาคการเงินและความเสี่ยงของระบบการเงินที่ส่งผลต่อความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพอากาศได้ดียิ่งขึ้น

Delta Electronics Group เข้าร่วมโครงการริเริ่มที่ก้าวล้ำนี้ด้วยการเปิดเผยข้อมูลต่อ TCFD ครั้งแรกในปี 2017 ซึ่งในปีเดียวกันนั้น TCFD ได้เผยแพร่คำแนะนำการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับสภาพอากาศฉบับแรก ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยให้บริษัทต่าง ๆ สามารถให้ข้อมูลที่ดีขึ้นเพื่อสนับสนุนการจัดสรรทุนอย่างมีข้อมูล โดยคำแนะนำของ TCFD มีเนื้อหาอยู่ทั้งหมดสี่ด้านที่แสดงถึงองค์ประกอบหลักในการดำเนินงานขององค์กร:

  1. การบริหาร

    การกำกับดูแลองค์กรด้านความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ

  2. ยุทธศาสตร์

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นและที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพอากาศที่มีต่อธุรกิจ กลยุทธ์ และการวางแผนทางการเงินขององค์กร

  3. การจัดการความเสี่ยง

    กระบวนการที่องค์กรใช้เพื่อระบุ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวกับสภาพอากาศ

  4. การเชื่อมโยงและเป้าหมาย

    การเชื่อมโยงและเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินและจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพอากาศ

ในปี 2020 เดลต้า อิเล็คโทรนิคส์ได้เพิ่มคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีเพื่อความยั่งยืน (SASB) ลงไปในการเปิดเผยข้อมูล ESG ของเรา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ทีมงาน SD ของเดลต้า ประเทศไทย ได้ร่วมมือกันดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ และระบุความเสี่ยงสูงสี่ประการต่อไปนี้จาก 22 รายการความเสี่ยง:

  1. การเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ
  2. นโยบายด้านพลังงานทดแทน
  3. ความรุนแรงของสภาพอากาศที่เพิ่มขึ้น
  4. การเปลี่ยนแปลงรูปแบบฝนและสภาพอากาศที่รุนแรง

การเข้าร่วม EV100 และ RE100

Climate Group เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ลอนดอนซึ่งมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ตั้งแต่ปี 2014 Climate Group ได้เปิดตัวโครงการริเริ่มด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญสามโครงการ ได้แก่ RE100 EV100 และ EP100 เดลต้าตระหนักถึงความสำคัญของการริเริ่มเหล่านี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของเรา และได้เข้าร่วม EV100 ในปี 2018 และ RE100 ในต้นปี 2021

เดลต้า เป็นสมาชิกรายแรกของ EV100 จากไต้หวันที่เข้าร่วมและยังเป็นสมาชิกที่เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) รายแรก ปีนี้เดลต้าได้เฉลิมฉลองความสำเร็จครั้งสำคัญในการจัดหาเครื่องชาร์จ EV กว่า 1,000,000 เครื่องทั่วโลก ซึ่งช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 7.7 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงด้วยประสิทธิภาพการชาร์จที่เหมาะสมที่สุด

RE100 มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงสู่พลังงานสะอาดและมุ่งสู่กริดที่ไม่มีคาร์บอนทั่วโลก เดลต้าเป็นหนึ่งในสมาชิกกว่า 300 ราย รวมถึงบริษัทในไต้หวัน 6 แห่งที่มุ่งมั่นสู่ RE100 เพื่อนสมาชิก RE100 ของเราประกอบด้วยลูกค้าจำนวนมากที่เป็นแบรนด์ชั้นนำระดับโลกในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ โทรคมนาคม และโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เราทุกคนรวมกันเป็นหนึ่งด้วยความมุ่งมั่นเดียวกันในการผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบหมุนเวียน 100%

เดลต้าได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหาร RE100 เพื่อดูแลความคืบหน้าไปเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของเรา คณะกรรมการบริหารชุดนี้มีคณะกรรมการบริหารของกลุ่มเดลต้า ซึ่งจะตรวจสอบเป้าหมายโดยรวมและความคืบหน้าในระดับภูมิภาค สำนักเลขาธิการสำนักงานพัฒนาความยั่งยืนองค์กรของเดลต้าเป็นช่องทางการติดต่อหลักสำหรับโครงการริเริ่ม RE100 และจัดหาการวิจัยและทรัพยากรด้านแนวโน้มให้กับ Climate Group ในขณะเดียวกันก็ร่วมมือกับหน่วยงานระดับภูมิภาคทั้งหมดเพื่อประสานงานผลการปฏิบัติงาน ระบุอุปสรรคและทรัพยากรที่สำคัญ

กลยุทธ์การผลิตพลังงานไฟฟ้าทดแทน

เป้าหมาย RE100 ของเดลต้า คือ การผลิตพลังไฟฟ้าหมุนเวียน 100% ผ่านการดำเนินงานทั่วโลกทั้งหมดของเราภายในปี 2573 เป้าหมายของเราสำหรับการดำเนินงานระดับภูมิภาคคือ Delta Thailand RE35 และ Delta India RE30 ภายในปี 2025 และ RE100 ทุกภูมิภาคภายในปี 2030 ในการดำเนินการนี้ เราได้รับพลังงานหมุนเวียนจากแหล่งพลังงานดังต่อไปนี้:

  • พลังงานหมุนเวียนที่ผลิตเองและใช้พลังงานทดแทน
  • การจัดซื้อโดยตรง (เช่น PPA)
  • พลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากผู้ผลิตพลังงาน (เช่น Green tariffs)
  • การรับรองคุณลักษณะพลังงานที่ไม่ได้รวมกลุ่ม (เช่น iREC, TIGR)
  • พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนจากโครงข่ายไฟฟ้าที่มีใบรับรอง
  • พลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนจากโครงข่ายไฟฟ้าทดแทน 95% ขึ้นไป และไม่มีกลไกในการจัดสรรไฟฟ้าหมุนเวียนโดยเฉพาะ

พลังงานทดแทนใช้เทคโนโลยีการผลิตประเภทต่าง ๆ ได้แก่:

  • พลังงานแสงอาทิตย์ (PV/ CSP)
  • พลังงานลม (นอกชายฝั่ง/บนบก)
  • ไฟฟ้าพลังน้ำ
  • เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
  • อื่น ๆ (พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง ชีวมวล รวมทั้งก๊าซชีวภาพ เป็นต้น)

ในปี 2021 เดลต้าในไต้หวันได้ลงนามในสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้า (PPA) กับ TCC Green Energy Corporation เพื่อจัดซื้อพลังงานไฟฟ้าสีเขียวประมาณ 19 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงต่อปี ภาระการถ่ายโอนจะมาจากกังหันลมบนบกที่สร้างโดย Xingbao Wind Farm Group ด้วยกำลังการผลิตอุปกรณ์ 3.6MW ต่อหน่วย ปัจจุบันเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมบนบกเหล่านี้มีกำลังการผลิตอุปกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน

หากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมหรือเข้าร่วมการดำเนินงานของเรา สามารถติดต่อสำนักงาน Delta Thailand SD นอกจากนี้ คุณยังสามารถดาวน์โหลดรายงาน SD ประจำปีของเดลต้า ประเทศไทยได้อีกด้วย เราขอขอบคุณทุกคนสำหรับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในขณะที่เดลต้าพยายามเป็นบริษัทที่มีส่วนช่วยในการสร้างวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าให้กับทุกคน

Aonthip Aorthong

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

อรทิพย์ อ้อทอง

ฉันเกิดในช่วงระหว่างคนรุ่น Gen X และ Gen Y สำเร็จการศึกษาสายสังคมและปริญญาโทด้านการประกอบการ/การจัดการ ฉันชื่นชอบศิลปะ ดนตรี วัฒนธรรม ปรัชญาเปรียบเทียบและวิทยาศาสตร์ ฉันเข้าทำงานกับเดลต้า ประเทศไทย ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานโรงงานในปี 2542 และจากการเรียนรู้อย่างยาวนาน การเอาชนะความท้าทาย และความปรารถนาที่จะค้นพบความเป็นเลิศที่ซ่อนอยู่ของเดลต้า ฉันได้ค้นพบบทบาทของตัวเองในฐานะผู้จัดการการพัฒนาความยั่งยืน ฉันชอบทำสวน ทำอาหาร อ่านหนังสือ และทำงาน D.I.Y. กับครอบครัวและสัตว์เลี้ยงของฉัน สามารถแบ่งปันกิจกรรมที่สร้างสมดุลการใช้ชีวิตและการทำงานกับฉันได้ที่ IG: Aonthip.Kate

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next