นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

การพัฒนาอย่างยั่งยืนของเดลต้า ตอนที่ 6: ตั้งแต่เรื่องสิทธิมนุษย์ชนจนถึงความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม (DEI) ที่เดลต้า ประเทศไทย

โดย Delta Thailand HR - เผยแพร่เมื่อ กรกฎาคม 13, 2565

ในฐานะที่กลุ่มบริษัท เดลต้า อิเลคโทรนิคส์ เปรียบเสมือนพลเมืองโลกอีกหน่วยหนึ่ง บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนโดยนำแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ได้แก่ หลักจรรยาบรรณแห่งพันธมิตรธุรกิจผู้มีความรับผิดชอบ (RBA) และมาตรฐานแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) มาบูรนาการณ์เพื่อดำเนินการภายในบริษัท นอกจากนี้ นโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัทยังได้รับการปรังปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (UNGP)

ในตอนที่ 6 ของซีรี่ส์การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SD) ของเดลต้า ประเทศไทย เราจะได้เห็นการดำเนินงานของเดลต้าอย่างใกล้ชิดในการรักษาสิทธิมนุษยชนและความหลากหลาย และขั้นตอนของเราในการเริ่มต้นเพื่อก้าวสู่ความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วมที่มากขึ้นซึ่งจะมอบอนาคตที่ดีกว่าให้กับทุกคนในองค์กรของเรา

สิทธิมนุษยชน

ในบทความก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ซึ่งเป็นสามปัจจัยหลักในการวัดความยั่งยืนและผลกระทบทางสังคมของการลงทุนทางธุรกิจ จากผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในด้าน ESG ทำให้เราเป็นธุรกิจที่สามารถแข่งขันได้ทั่วโลก มีการดำเนินงานที่ยั่งยืน และได้รับมอบใบอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ทางสังคมในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและในภูมิภาค

จากสามปัจจัยหลักของ ESG บรรษัทภิบาลเป็นกุญแจสำคัญของโอกาสในการเติบโตเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่แข็งแกร่งของเดลต้าทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม โดยนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของเดลต้า ประเทศไทย เป็นแกนหลักของบรรษัทภิบาลของเรา

ที่มา: OECD Due Diligence Guidance

เดลต้าได้นำแนวปฏิบัติของ OHCHR มาใช้ในการตรวจสอบด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่งนโยบายสิทธิมนุษยชนของเราครอบคลุม:

  1. แรงงาน
  2. สุขภาพและความปลอดภัย
  3. สิ่งแวดล้อม
  4. จริยธรรม
  5. การคุ้มครองสิทธิของกลุ่มเปราะบาง

ทุกคน (พนักงานหรือบุคคลที่สาม) สามารถยื่นคำร้องเรียนหรือเบาะแสเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้นโยบายนี้ผ่านทางอีเมล Whistleblow@deltathailand.com ได้ ซึ่งบริษัทจะคุ้มครองบุคคลที่ยื่นเรื่องร้องเรียนโดยจะเก็บเป็นความลับ ในส่วนของผู้ต้องสงสัยจะยังไม่ถูกพิจารณาว่ามีความผิดโดยทันที จนกว่าคำร้องนั้นจะได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นธรรมและพิสูจน์ได้ว่ามีมูลความจริง

เดลต้าได้เผยแพร่และแจ้งให้พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเราทราบเกี่ยวกับนโยบายสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ เรายังสร้างความตระหนักรู้และจัดฝึกอบรมให้กับหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงการฝึกอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชนโดยผู้พิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการ

สิทธิเด็ก
ด้วยการดำเนินงานกว่า 30 ปีในประเทศไทย เดลต้าได้มอบโอกาสทางการศึกษาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นแก่เด็ก ๆ ในชุมชนของเรา ตั้งแต่ปี 2561 เราได้ร่วมมือกับยูนิเซฟ ประเทศไทย เพื่อสนับสนุนสิทธิเด็กในประเทศ ในปี 2564 เดลต้าคว้าตำแหน่ง “ผู้นำ” ด้านองค์กร และผู้นำเกณฑ์มาตรฐานสิทธิเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจัดขึ้นโดย Global Child Forum และ Boston Consulting Group

คำแถลงต่อนโยบายสิทธิเด็กเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายองค์กรของเรา และเราได้ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานไทยและมาตรฐานอุตสาหกรรมระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ซึ่งรวมถึง RBA, ISO26001, ILO และ UNSDGS โดยโครงการ Delta Energy Education (DEEP) ได้กำหนดเป้าหมายการฝึกอบรมตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2566 ไว้ 42,000 ชั่วโมง ซึ่งเราสามารถทำได้เกินเป้าหมายทั้งจำนวนชั่วโมงการฝึกอบรมนักเรียนและชั่วโมงการมีส่วนร่วมของพนักงานตั้งแต่สิ้นปี 2561 และเป็นที่พึงพอใจของของนักเรียนมากกว่า 90 %

นอกเหนือจากการปรับปรุงและการบริจาคอุปกรณ์ให้กับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทั่วประเทศแล้ว ทุกปี เดลต้ายังมอบทุนการศึกษาให้กับบุตรของพนักงานและมอบทุนการศึกษาและเงินช่วยเหลือให้แก่เด็กนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลทางภาคเหนือของประเทศไทยอีกด้วย

ความหลากหลายและการมีส่วนร่วม
นโยบายสิทธิมนุษยชนและการจ้างงานของกลุ่มเดลต้า (แก้ไขล่าสุดเดือนมิถุนายน 2565) ได้บูรนาการความมุ่งมั่นของเราที่มีต่อความหลากหลายและการมีส่วนร่วมไว้เป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานประการหนึ่งของเรา จากนโยบายของเดลต้าที่ใช้ทั่วโลก (ซึ่งครอบคลุมประเทศไทยด้วย) เดลต้าสนับสนุนวัฒนธรรมองค์กรที่มีความหลากหลายและการมีส่วนร่วม เคารพในความแตกต่างของทุกคน และการยอมรับมุมมองที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันที่เป็นเอกลักษณ์ของบริษัท เราให้ความสำคัญกับความหลากหลายและการมีส่วนร่วมโดยการจ้างงานผู้ที่มีความพิการ ความหลากหลายทางเพศ ชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์อื่น และติดตามสถานะการดำเนินการทุกปีทั้งในระดับผู้บริหารและพนักงาน กระบวนการดำเนินงาน และการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ในฐานะบริษัทอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เดลต้าเป็นผู้จ้างงานรายใหญ่ที่มีพนักงานประมาณ 17,000 คน ในปี 2563 เรามีพนักงานหญิงคิดเป็น 70% ของพนักงานทั้งหมดของเรา 43% ของผู้บริหารเป็นผู้หญิงและ 71% เป็นคนท้องถิ่น เดลต้าทำงานร่วมกับรัฐบาลไทยเพื่อสร้างสถานที่ทำงานที่เป็นมิตรต่อผู้หญิง มีสิ่งอำนวยความสะดวกและโปรแกรมสำหรับคุณแม่ ได้แก่ การวางแผนครอบครัวและโภชนาการ มีรถเข็นสำหรับเด็กฟรี มีสายการผลิตพิเศษสำหรับสตรีมีครรภ์ และห้องปั๊มนม และพนักงานที่ตั้งครรภ์ทุกคนจะได้รับสวัสดิการพิเศษเมื่อต้องออกจากงาน

ในขณะเดียวกัน เดลต้าได้ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ในต่างประเทศเพื่อดำเนินการฝึกอบรมและยกระดับทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับพนักงานหญิงของเราให้พร้อมสำหรับสถานที่ทำงานในยุคอุตสาหกรรม 4.0 นอกจากนี้ เรายังทำงานร่วมกับลูกค้าทั่วโลกเพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการส่งเสริมสิทธิสตรีและความยั่งยืนในวงกว้าง ในปี 2562 ทีมงานความรับผิดชอบห่วงโซ่อุปทานของกูเกิ้ล (Google Responsible Supply Chain) ได้เลือกเดลต้าเป็นซัพพลายเออร์ยั่งยืนรายสำคัญในการสร้างภาพยนตร์เสมือนจริง (VR) 360 องศา พร้อมประสบการณ์ Augmented Reality (AR) ชื่อวิดีโอ Powered By Me โดย Google ได้เปิดตัวเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีและความสวยงามที่แปลกใหม่ในเดือนพฤศจิกายน 2563 เพื่อให้ผู้ชมทั่วโลกสามารถสัมผัสประสบการณ์ที่ไม่เหมือนใครในการทำงานและชีวิตพนักงานหญิงของเดลต้าซึ่งเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้กับ Google

ในปี 2564 บริษัท เดลต้า ประเทศไทย เป็นบริษัทแรกในกลุ่มเดลต้าที่มีส่วนร่วมกับกลุ่ม LGBT ภายในบริษัทเราเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความหลากหลายในช่วงเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นเดือน Pride Month ในปีนี้ ฝ่ายบุคคลได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดตั้งและดำเนินการตามกลยุทธ์ DEI ของบริษัท โดยในขั้นเริ่มต้น เราได้ค้นหาว่า DEI คืออะไร เหตุใดเราจึงต้องมี และวิธีการเริ่มต้นดำเนินการ ดังต่อไปนี้:

  • DEI อยู่ภายใต้นโยบายสิทธิมนุษยชนเดิมหรือนโยบายใหม่
  • ประกาศของฝ่ายบุคคลเรื่อง DEI เกี่ยวกับการจ้างงาน
  • การมีส่วนร่วมในความคิดริเริ่มด้านอุตสาหกรรมเพื่อให้แน่ใจว่ามีการจ้างงานและการคุ้มครองชนกลุ่มน้อยอย่างยุติธรรม
  • การให้คำปรึกษาและการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญ
  • การศึกษาของพนักงานและกลุ่มเป้าหมายสำหรับการสนับสนุนและความร่วมมือ
  • การส่งเสริมและการตระหนักรู้เกี่ยวกับ DEI ภายในบริษัท

กรณีศึกษาทางธุรกิจเกี่ยวกับความหลากหลาย

ตั้งแต่ปี 2557 McKinsey ได้ค้นคว้ากรณีศึกษาทางธุรกิจเกี่ยวกับความหลากหลายด้วยชุดข้อมูลที่ครอบคลุม 15 ประเทศและบริษัทขนาดใหญ่มากกว่า 1,000 แห่ง จากรายงานของ McKinsey เกี่ยวกับ DEI ในปี 2562 ผลการวิเคราะห์พบว่าบริษัทที่มีความหลากหลายทางเพศในทีมผู้บริหารสูงมีแนวโน้มที่จะมีผลกำไรสูงกว่าค่าเฉลี่ย 25% เมื่อเทียบกับบริษัทในควอร์ไทล์ที่สี่ โดยเพิ่มขึ้นจาก 15% ในปี 2557 เป็น 21% ในปี 2560

การศึกษายังพบอีกว่าแม้พนักงานจะมีความรู้สึกเชิงบวกต่อเรื่องความหลากหลาย แต่การมีส่วนร่วมนั้นหย่อนยานเนื่องจากความรู้สึกเชิงลบต่อโอกาสของความเท่าเทียมและความยุติธรรม ในทางตรงกันข้าม บริษัทที่มีความหลากหลายจะมีแนวโน้มด้านผลประกอบการที่ดีกว่า โดยการใช้แนวทางที่เป็นระบบและขั้นตอนเพื่อส่งเสริมสร้างการมีส่วนร่วม

รายงานของ McKinsey มุ่งเน้นไปที่กรณีศึกษาทางธุรกิจที่แข็งแกร่งซึ่งออกแบบให้เหมาะสมกับแต่ละบริษัท การกำหนดเป้าหมายตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และความรับผิดชอบของผู้นำ โดยเน้นการดำเนินการห้าด้านดังต่อไปนี้:

  1. มอบการแสดงออกที่หลากหลายให้กับของผู้มีความสามารถ: บริษัทควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสามารถที่หลากหลายในบทบาทด้านการบริหาร การจัดการ ด้านเทคนิค และคณะกรรมการ พวกเขายังต้องกำหนดเป้าหมายที่ขับเคลื่อนด้วยชุดข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการแสดงพรสวรรค์ที่หลากหลาย
  2. เสริมสร้างความรับผิดชอบและความสามารถของผู้นำในด้าน I&D: นอกเหนือจากหน้าที่ด้านทรัพยากรบุคคล แล้ว บริษัทต่างควรวางผู้นำและผู้จัดการไว้ที่ศูนย์กลางของความพยายามด้าน I&D นอกจากนี้ บริษัทควรให้ผู้นำทุกคนรับผิดชอบต่อความก้าวหน้าในด้าน I&D
  3. มอบความเท่าเทียมของโอกาสผ่านความยุติธรรมและความโปร่งใส: เพื่อการก้าวไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง เป็นสิ่งสำคัญที่บริษัทต้องทำให้แน่ใจว่ามีพื้นที่สำหรับความก้าวหน้าและโอกาส พวกเขาควรใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อแสดงให้เห็นว่าการเลื่อนตำแหน่ง กระบวนการจ่ายเงินเดือน และเกณฑ์เบื้องหลังมีความโปร่งใสและยุติธรรม ลดอคติที่มีต่อกระบวนการเหล่านี้ และมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายที่หลากหลายโดยการจัดทำแผนอัตรากำลังในระยะยาว
  4. ส่งเสริมการเปิดกว้างและจัดการกับการคุกคามขนาดย่อม: ทุกบริษัทควรยึดถือนโยบายที่ไม่ยอมรับการเลือกปฏิบัติ เช่น การกลั่นแกล้งและการล่วงละเมิด และช่วยเหลือผู้จัดการและพนักงานอย่างเต็มที่ในการระบุและจัดการกับการคุกคามขนาดย่อมนี้
  5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมผ่านการสนับสนุนสำหรับความหลากหลายพหุตัวแปร: ผู้จัดการควรสื่อสารและยอมรับความมุ่งมั่นต่อความหลากหลายอย่างชัดเจน บริษัทควรประเมินความอย่างชัดเจนด้วยแบบสอบถามภายใน

ความหวังของการเปลี่ยนแปลงที่ขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนหลังจากที่เราผ่านขั้นเริ่มต้นของการจัดตั้งและการเติบโตอยู่ในระดับที่สูงแล้ว เราต้องเตรียมพร้อมที่จะเป็นสถานที่ที่คนรุ่นใหม่ของเราสามารถมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในฐานะผู้บุกเบิกที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งรวมถึงความกล้าที่จะระบุช่องว่างและเสริมสร้างความยั่งยืนของเราด้วยการอัปเกรดโครงสร้างและระบบของเราสำหรับองค์กรที่คอยสนับสนุน เท่าเทียม และเป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น ที่ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้มีความสามารถสามารถประสบความสำเร็จได้

แม้ว่า DEI จะเป็นเส้นทางที่ยาวไกล แต่รากฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชนและความมุ่งมั่นในค่านิยมหลักเพื่อความยั่งยืนกระตุ้นให้เดลต้าเริ่มต้นการเดินทางครั้งนี้และดำเนินการตามขั้นตอนที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อรับรองความหลากหลายในแง่ของการยอมรับและการแสดงออก เราหวังว่านอกจากการหารายได้เพื่อเลี้ยงชีพแล้ว สักวันหนึ่ง เดลต้า ประเทศไทย อาจกลายเป็นสถานที่ที่ทุกคนในทีมงานที่มีความหลากหลายของเราได้มีโอกาสที่เท่าเทียมในการกำหนดเส้นทางชีวิตและสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับตนเองและครอบครัว

ด้วยคำมั่นสัญญาของเดลต้าที่ว่า “Smarter. Greener. Together” เราต้องไม่เพียงแต่นำเสนอนวัตกรรมที่ชาญฉลาด และอาคารและโซลูชั่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อประหยัดพลังงานเท่านั้น แต่เราต้องทำงาน “ร่วมกัน” กับพนักงานทุกคนและชุมชนของเราเพื่อดึงศักยภาพสูงสุดของเราในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืนอย่างแท้จริง

เกี่ยวกับผู้เขียน (แขกรับเชิญ)

Delta Thailand HR

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next