นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

ผมเลือกประเทศไทย : พันธกิจระยะยาวของเดลต้าในการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ กันยายน 13, 2563

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 22 กรกฎาคม 2563 – การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในปีนี้ เป็นเหมือนบททดสอบความยืดหยุ่นและความยั่งยืนด้านการลงทุนและธุรกิจของประเทศไทย ในเดือนมิถุนายน PEMADU Associates กระทรวงวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมของมาเลเซียและ Sunway Group ได้จัดอันดับประเทศไทยเป็นอันดับ 2 จาก 184 ประเทศโลกที่ประสบความสำเร็จในการฟื้นตัวจากโควิด-19 และฟื้นตัวได้ดีที่สุดในเอเชีย

“เราไม่จำเป็นต้องหยุดการผลิตเลยแม้แต่วันเดียวในช่วงการระบาด” นายแจ็คกี้ ชาง ประธาน บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย กล่าว “นั่นหมายความว่าความต้องการลูกค้าของเรายังคงได้รับการตอบสนองอยู่เสมอ ซึ่งนั่นคือสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจของเรา” นายชางบอกกับ CNN ในขณะที่เขาอธิบายว่าเหตุใดเดลต้าจึงเลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์พิเศษของนายชาง กับ CNN โดยความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย การรับมือกับโควิด-19 ของประเทศ และโอกาสสำหรับความปรกติใหม่ด้านธุรกิจ

คุณช่วยบอกเราถึงข้อได้เปรียบที่สำคัญของประเทศไทยในด้านการทำธุรกิจหน่อยได้ไหม?

สิ่งที่ผมชอบเกี่ยวกับประเทศไทยคือประเทศไทยเป็นประเทศที่ต้อนรับคนทุกเชื้อชาติและทุกวัฒนธรรม ระบบการดูแลสุขภาพที่ดีเยี่ยมของประเทศไทย ทำให้ผมมั่นใจได้ถึงความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานของเราที่สามารถเข้าถึงโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และสถาบันทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังเป็นประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีระบบโลจิสติกส์ที่ยอดเยี่ยมคอยเชื่อมต่อกับประเทศใกล้เคียง BOI มีแผนการที่ยอดเยี่ยมในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงและตอนนี้ที่ตั้งโรงงานของเราในจังหวัดสมุทรปราการยังเป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นกว่าตอนที่เราเพิ่งเริ่มต้นเมื่อ 30 ปีที่แล้ว

แน่นอนว่าแรงจูงใจของ BOI นั้นสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาวของบริษัท ไม่เพียงแต่เรื่องการผลิตเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนาความสามารถของวิศวกรรมซอฟต์แวร์และโซลูชั่นอีกด้วย เดลต้า ประเทศไทยเปลี่ยนจากการดำเนินการผลิตอย่างเดียว โดยได้ตั้งศูนย์ R&D ที่เป็นเลิศของเราเองและตอนนี้เรายังกำลังแนะนำโซลูชั่น Industry 4.0 พร้อมกับระบบอัตโนมัติสำหรับจัดการอุตสาหกรรมและอาคาร โซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานเมืองอัจฉริยะของเราเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเติบโตของประเทศไทยในด้านต่าง ๆ เช่น ดาต้า เซ็นเตอร์ 5G EV การจัดการพลังงานและโซลูชั่นการกักเก็บพลังงาน

เพื่อนเคยบอกผมว่าชาวต่างชาติที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยส่วนมากมักจะทำให้โปรไฟล์ตัวเองดูต่ำเมื่อพวกเขาได้พบกับนักลงทุนคนอื่น เมื่อผมถามเขาว่าทำไม เขาหัวเราะและพูดว่า “มันเป็นเพราะเราไม่ต้องการให้ใครรู้ว่ามีโอกาสที่น่าอัศจรรย์มากมายในประเทศไทย ดังนั้น จึงทำให้เรามีโอกาสมากขึ้นในประเทศนี้

เหตุใดเดลต้า อีเลคโทรนิคส์จึงเลือกประเทศไทยเป็นสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคและเป็นศูนย์กลางการผลิตสำหรับธุรกิจในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้?

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า BOI มีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจของเราที่จะเข้ามาและดำเนินการพัฒนาในประเทศไทยต่อไป เป็นเวลาหลายสิบปีที่เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกับ BOI และเราได้มีส่วนร่วมในการหารือเกี่ยวกับการพัฒนาประเทศในอนาคต นี่จึงเป็นเวทีสำหรับเราในการแบ่งปันข้อเสนอแนะและความคิดเห็น เรารู้สึกว่า BOI ไม่เพียงแต่ช่วยเหลือเราในเรื่องการลงทุนเท่านั้น แต่พวกเขายังสนใจเกี่ยวกับความยั่งยืนและความสำเร็จในระยะยาวของเราอีกด้วย

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเป็นสากลเป็นอย่างมาก สิ่งนี้จึงกลายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่นักลงทุนต่างชาติต้องคำนึง เราต้องการสภาพแวดล้อมการลงทุนที่มั่นคงเพื่อให้แน่ใจว่าการลงทุนของเราจะได้รับผลตอบแทนสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและลูกค้าของเรา และในฐานะชาวต่างชาติคุณจะรู้สึกปลอดภัยและสะดวกสบายเมื่ออยู่ในประเทศไทย โดยส่วนตัวแล้วผมชอบประเทศไทยเป็นอย่างมาก

ประเทศไทยมีแผนต่าง ๆ ในการเพื่อเพิ่มลักษณะเฉพาะด้านการพัฒนา เช่น โครงการ Thailand 4.0 และ Smart City นี่แสดงให้เห็นถึงทิศทางที่ชัดเจนสำหรับบริษัทอย่างเดลต้าที่ให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศและบทบาทที่เราสามารถมีส่วนร่วมในการเติบโตของประเทศ

เดลต้าได้ร่วมมือกับ BOI กระทรวงอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมด้วยการริเริ่มโครงการ เช่น โครงการ Delta Angel Fund สำหรับ Startups และโครงการ Delta Automation Academy เพื่อช่วยเพิ่มการพัฒนาความสามารถสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเราเห็นศักยภาพและความมุ่งมั่นที่ยอดเยี่ยมจากพันธมิตรของเราและเราจะขยายขอบเขตโครงการเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยใดที่ทำให้คุณมั่นใจว่าประเทศไทยจะยังคงเป็นศูนย์กลางธุรกิจของอาเซียนต่อไป?

ประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางธุรกิจของเราในอาเซียนมีปัจจัยหลายประการที่ไม่สั่นคลอนจากมุมมองของผม เราได้กล่าวถึงไปแล้วค่อนข้างมาก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในมุมมองของผมคือไม่ใช่แค่การพูดแต่ต้องลงมือทำด้วย นี่คือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

นี่คือเหตุผลที่เราได้ร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์และ BOI เพื่อปลูกฝังความสามารถทางด้านอุตสาหกรรมอัตโนมัติ เดลต้ายังมีส่วนร่วมและสังเกตการณ์โครงการเมืองอัจฉริยะของประเทศ ผมคิดว่าการดำเนินงานและกิจกรรมเหล่านี้ล้วนทำให้เรามีความมั่นใจอย่างมากในความคืบหน้าของการพัฒนาในปัจจุบันและแผนงานในอนาคตของประเทศไทย

ภาพรวมของคุณเกี่ยวกับวิธีที่ประเทศไทยจัดการสถานการณ์โควิด-19 จนถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร?

ในบรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยค่อนข้างเตรียมพร้อมรับมือการระบาดได้เป็นอย่างดี เนื่องจากพวกเขาได้ลงทุนในการสร้างโรงพยาบาลและฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ในระดับสูง และรัฐบาลได้ดำเนินการใช้มาตรการหลายอย่าง เช่น การปิดกิจการบางธุรกิจและบังคับใช้มาตรการเคอร์ฟิวตอนกลางคืน ซึ่งเราเห็นได้เลยว่ามาตรการเหล่านี้มีประสิทธิภาพในการช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของโควิด-19 ได้

เราขอขอบคุณสำหรับการสนับสนุนอุตสาหกรรมและโรงงานในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน นอกจากนี้เรายังได้รับคำแนะนำจากกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับวิธีการป้องกันโควิด-19 และสิ่งที่ต้องทำหากเกิดการติดเชื้อ และทุกคนทำงานร่วมกันเพื่อค้นหาแนวทางแก้ไขร่วม ตัวอย่างเช่น BOI ขอความช่วยเหลือเราเรื่องพัดลม DC ซึ่งใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจแบบจ่ายอากาศบริสุทธิ์  (PAPR) และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่รักษาผู้ป่วยโควิด-19

เป็นเรื่องธรรมดาในสังคมไทยที่ทุกคนจะช่วยเหลือผู้อื่นและร่วมมือกันเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อให้ทุกคนปลอดภัย ผมคิดว่าการสนับสนุนที่ดีจากรัฐบาลสามารถช่วยให้นักลงทุนในประเทศไทยในการดำเนินงานและมองหาโอกาสทางธุรกิจสำหรับ “บรรทัดฐานใหม่” อย่างการพัฒนาดาต้า เซ็นเตอร์หรือ 5G

อะไรคือสิ่งที่ประกันได้ว่าแนวทางเชิงรุกของประเทศจะเอื้อต่อธุรกิจของคุณ?

จากประสบการณ์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ผมรู้สึกว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ดีที่สุดในการสร้างธุรกิจที่ยั่งยืนพร้อมกับการเติบโตระยะยาวเพื่อประโยชน์ของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสียของเรา เดลต้ามีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอยู่ตลอดเวลาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสังคม และเราเห็นว่าสังคมไทยกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เราจึงมั่นใจว่าเราสามารถช่วยเหลือได้

ผมคิดว่าประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำในภูมิภาคได้เมื่อพูดถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ซึ่งประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ กำลังใช้เพื่อจัดการกับเมกะเทรนด์ เช่น ประชากรสูงอายุและความก้าวหน้าของ AI และด้วยวัฒนธรรมของประเทศไทยนั้นทำให้ประเทศยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่มั่นคงกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป และเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศในกลุ่มอาเซียน

ด้วยโครงการระยะยาวมากมายทำให้เรามั่นใจว่าเรามีสิ่งที่ต้องทำมากมายในอนาคต ผมหวังว่าจะได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับ BOI และพาร์ทเนอร์ในท้องถิ่นของเรา ตลอดจนนักลงทุนต่างชาติมากขึ้น เพื่อสร้างสังคมที่ดีและมีความเจริญรุ่งเรืองให้กับประเทศไทย

อ้างอิง

https://www.thaipbsworld.com/thailand-is-ranked-2nd-in-global-covid-19-recovery-index/
https://sponsorcontent.cnn.com/intl/boi/resilient-thailand/

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next