นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ของสหประชาชาติและผลกระทบต่อการลงทุน ESG

โดย Rachna Kango - เผยแพร่เมื่อ กันยายน 10, 2566

สามารถอ่านบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มได้ในนิตยสาร Sustainability Magazine
เมื่อพูดถึงการลงทุนที่ยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) และ ESG คืออะไร รวมไปถึงความสัมพันธ์และผลกระทบที่แปรผันระหว่างสองสิ่งนี้ ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติได้นำเป้าหมาย SDG 17 ข้อมาใช้ในปี 2558 ซึ่งเป็น “พิมพ์เขียวในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างอนาคตที่ดีกว่าและยั่งยืนมากขึ้นสำหรับทุกคน” โดยจะต้องสำเร็จภายในปี 2573 ในความพยายามนี้ ESG ได้จัดเตรียมกรอบการทำงานสำหรับองค์กรต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน
ESG ส่งเสริมการลงทุนที่ยั่งยืนอย่างไร
จากการสำรวจของ Deloitte เกี่ยวกับรูปแบบการซื้อในยุคมิลเลนเนียล พบว่า 42% ของคนรุ่นนี้มีแนวโน้มที่จะอยู่กับบริษัทต่อไป หากพวกเขาคิดว่ามันส่งผลเชิงบวกต่อสังคม บริษัทที่ไม่เป็นมิตรกับ ESG อาจประสบปัญหา เนื่องจากคนรุ่นมิลเลนเนียลแซงหน้าเบบี้บูมเมอร์ในฐานะกลุ่มประชากรที่มีการใช้จ่ายที่มากที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป วิธีการนำหลักการ ESG มาใช้กับกระบวนการลงทุนได้เปลี่ยนไป แม้ว่าแนวทางที่ยึดหลักจริยธรรมในช่วงแรก ๆ เช่น การคัดกรองเชิงลบ ยังคงใช้ได้อยู่ในปัจจุบัน แต่ก็สามารถรวมกลยุทธ์ใหม่อื่น ๆ ไว้ได้อีกมากมาย
การลงทุน ESG จึงเป็นกลยุทธ์ที่ต้องสร้างกรอบความเสี่ยงทางธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการลงทุน ESG ได้คำนึงถึง 3 ด้านหลักสำคัญต่อไปนี้:
  • สิ่งแวดล้อม: ธุรกิจต่าง ๆ ดำเนินกิจการโดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่พวกเขาสามารถกำหนดนโยบายเพื่อลดหรือทำให้ผลกระทบเหล่านั้นหมดไปได้ หรือแม้แต่การสร้างผลกระทบเชิงบวกในด้านต่าง ๆ เช่น การปล่อยก๊าซคาร์บอน การใช้น้ำ พลังงานสีเขียว มลพิษ และการจัดการของเสีย และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • ความยั่งยืน: ความสัมพันธ์ของบริษัทกับผู้คนและสถาบันในชุมชนก็มีผลกระทบเช่นกัน นโยบายเกี่ยวกับความหลากหลายและการไม่แบ่งแยก ขั้นตอนการจ้างงาน ความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบในด้านนี้
  • บรรษัทภิบาล: ธุรกิจมีระบบการดำเนินการ ขั้นตอน และการควบคุมภายในสำหรับการตัดสินใจ ดำเนินการ และปฏิบัติเป็นไปตามข้อกฎหมาย ความหลากหลายของคณะกรรมการ ค่าตอบแทนผู้บริหาร จริยธรรมของบริษัท การแข่งขันที่ยุติธรรม และกระบวนการทางการเงินที่โปร่งใส ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของบรรษัทภิบาล
การปรับใช้ SDG ให้สอดคล้องกับค่านิยมของบริษัท
บริษัทต่าง ๆ ได้เลือก SDG ที่แตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับค่านิยมของบริษัทโดยพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ ซึ่งต่อไปนี้เป็นวิธีที่บริษัทต่าง ๆ เลือกใช้ SDG ดังนี้
  • พันธกิจและค่านิยม: ขั้นแรกบริษัทจะตรวจสอบพันธกิจและค่านิยมหลักของตนเพื่อระบุประเด็นทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับเป้ามายของตน โดยจะพิจารณาว่ากิจกรรมทางธุรกิจสามารถสนับสนุน SDG จะสอดคล้องกับค่านิยมขององค์กรมากที่สุดได้อย่างไร
  • การประเมินประเด็นสำคัญ: การดำเนินการประเมินประเด็นสำคัญช่วยให้บริษัทสามารถระบุประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาลที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม ผู้มีส่วนได้เสีย และการดำเนินธุรกิจของตนได้ การประเมินนี้ช่วยจัดลำดับความสำคัญของ SDG ที่มีสาระสำคัญต่อการดำเนินงานของบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากที่สุด
  • การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงพนักงาน ลูกค้า นักลงทุน และชุมชน ทำให้บริษัททราบข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับข้อกังวลและความคาดหวังของพวกเขา บริษัทจะคำนึงถึงความคิดเห็นและมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อพิจารณาว่า SDG ใดที่มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของตน
  • การทำงานร่วมกันและผลกระทบโดยรวม: บริษัทจะสำรวจโอกาสในการทำงานร่วมกันและผลกระทบโดยรวมโดยการระบุ SDG ที่สอดคล้องกับบริษัทในอุตสาหกรรม องค์กรพัฒนาเอกชน รัฐบาล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายอื่น ๆ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการลงทุน ESG
ส่วนแบ่งการตลาดของการลงทุน ESG เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมานานหลายทศวรรษ ดังนั้น จึงไม่ใช่แค่กระแสนิยมที่มาแล้วผ่านไป ปัจจุบันหนึ่งในสามของสินทรัพย์ทั่วโลกภายใต้การบริหารคาดว่าจะประกอบด้วยสินทรัพย์ ESG ซึ่งมีมูลค่า 4t ดอลลาร์สหรัฐ
อุตสาหกรรมนี้คาดว่าจะขยายตัวเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความอยุติธรรมทางสังคม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหลักปฏิบัติด้านธรรมาภิบาลกลายเป็นกระแสหลักมากขึ้น นอกจากเป็นการดีต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนของเราแล้ว กลยุทธ์การลงทุน ESG ยังแสดงให้เห็นถึงการเติบโตในระยะยาวอย่างโดดเด่นในด้านผลตอบแทน นอกจากนี้ ยังมีความคงทนในช่วงที่ตลาดตกต่ำมากกว่าหุ้นอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน ความเสี่ยงของนักลงทุน เช่น ผลกระทบระยะยาวของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อองค์กรต่าง ๆ สามารถลดลงได้ด้วยความช่วยเหลือจากการลงทุน ESG ซึ่งจำเป็นต้องมีการรายงานความเสี่ยงอย่างเป็นระบบมากขึ้น เนื่องจากการลงทุน ESG ได้รับความนิยมมากขึ้น ขณะนี้นักลงทุนและที่ปรึกษาสถาบันสามารถเข้าถึงความรู้ที่จำเป็นในการตัดสินใจเลือกและคำแนะนำในการลงทุนได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น
การบูรณาการหลักการ ESG และการสนับสนุน SDG ช่วยให้บริษัทได้รับประโยชน์หลายประการ รวมถึงชื่อเสียงของแบรนด์ที่เพิ่มขึ้น การบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น การเข้าถึงเงินทุน ประสิทธิภาพการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น การดึงดูดและการรักษาผู้มีความสามารถ และความยืดหยุ่นทางธุรกิจในระยะยาว นอกจากนี้ การปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจให้สอดคล้องกับ SDG ยังช่วยให้บริษัทต่าง ๆ มีส่วนร่วมในความยั่งยืนระดับโลกและความก้าวหน้าทางสังคม ซึ่งจะส่งเสริมอนาคตอย่างครอบคลุมและเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น
Rachna Kango

เกี่ยวกับผู้เขียน (แขกรับเชิญ)

Rachna Kango

ประสบการณ์เกือบ 14 ปีในบทบาทการวางแผนเชิงกลยุทธ์และองค์กรในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ซีเมนต์ รถยนต์ ยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์ และอุปกรณ์พาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ฉันได้รับประสบการณ์ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายและวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกัน ฉันพยายามอย่างมากในการแก้ปัญหาและทักษะในการวิเคราะห์ซึ่งช่วยให้ฉันระบุปัญหาและคิดหาวิธีแก้ไขได้ นอกจากนี้ ฉันยังเป็นนักเดินทางตัวยงที่ชอบไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ และสำรวจสิ่งใหม่ ๆ กับครอบครัวและเพื่อน ๆ

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next