นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

พัฒนาศิลปะแห่งประสิทธิภาพการผลิตให้สมบูรณ์แบบด้วยโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศของเดลต้า

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ กรกฎาคม 15, 2564

กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 22 มิถุนายน 2564 - แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก แต่เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย ยังคงยึดมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมผู้มีความสามารถด้านวิศวกรรมในประเทศไทยด้วยโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศประจำปี เนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทาง ในปี 2564 นี้ จึงจะทำการฝึกอบรมส่วนใหญ่ที่โรงงานของเดลต้าในประเทศไทย

วันนี้เราได้พูดคุยกับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ชาวไทยที่คลั่งไคล้ในการพัฒนาประสิทธิภาพ 2 คน ได้แก่ กฤษติน เลาหอุดมโชค และ กานต์ธิดา จุลศรีไกวัล (ซ้ายและขวาในรูปด้านบน) เกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขาในบริษัทระดับโลกกับโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศของเดลต้า ประเทศไทย

ช่วยเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับตัวคุณ ว่าคุณมาจากไหน? คุณกำลังเรียนอะไรอยู่? และทำไมคุณถึงเลือกสาขาวิชา/สายนี้?

กฤษติน: ผมเรียนอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ผมเชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต

ผมเลือกสาขานี้เพราะมันตรงกับแนวทางที่ผมต้องการทำงานในฐานะวิศวกร งานของวิศวกรอุตสาหการมักเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งผมมีความชื่นชอบเป็นอย่างมาก

กานต์ธิดา: ฉันเป็นนักศึกษาวิศวกรรมอุตสาหการชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือเขตอุตสาหกรรม EEC ของประเทศไทย

ฉันเลือกเรียนวิศวกรรมอุตสาหการเพราะสำหรับฉันคำจำกัดความของวิศวกรรมอุตสาหการคือการทำให้สิ่งต่าง ๆ มีประสิทธิภาพอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งมันเจ๋งมาก ๆ!

คุณรู้จักโครงการ Delta International Exchange ได้อย่างไร และทำไมคุณถึงเข้าร่วม?
กานต์ธิดา: โครงการ Delta International Exchange มาโปรโมทที่มหาวิทยาลัยของฉันในเดือนธันวาคม 2563 ฉันเข้าร่วมโปรแกรมนี้เพราะฉันสนใจที่จะเข้าร่วมหลักสูตรระยะสั้นที่ไต้หวันเป็นเวลา 10 สัปดาห์ และเป็นโอกาสที่ดีสำหรับฉันที่จะได้ศึกษาระบบและกระบวนการในโรงงาน

กฤษติน: ผมรู้จักโครงการนี้จากอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย และผลคิดว่าเดลต้าเป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ในประเทศ และผมอยากมีประสบการณ์การทำงานในโรงงานจึงตัดสินใจเข้าร่วม

คุณจะต้องฝึกงานที่เดลต้านานแค่ไหน?

กฤษติน: ผมต้องฝึกงาน 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564 ที่เดลต้า ประเทศไทย ผมฝึกอบรมและทำงานในฐานะวิศวกรด้านการผลิตแหล่งจ่ายไฟที่โรงงานเดลต้า 5

กานต์ธิดา: ฉันฝึกงานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 29 ตุลาคม 2564 โดยฉันฝึกอบรมและทำงานที่โรงงานเดลต้า 3 ในด้านการผลิตโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย

หน้าที่หลักของคุณในฐานะนักศึกษาฝึกงานที่เดลต้า ประเทศไทยคืออะไร และส่วนใดของงานที่น่าสนใจที่สุด?
กฤษติน: ในฐานะที่ฝึกงานเป็นวิศวกรอุตสาหการ ผมต้องนับและบันทึกเวลาที่แต่ละสถานีในสายการผลิต ผมพล็อตแผนภูมิกระบวนการผลิตโดยใช้ข้อมูลที่ผมบันทึกเองเพื่อวิเคราะห์และปรับปรุงเวลาที่ใช้ในแต่ละสถานี จากนั้นจึงสร้าง line balance เพื่อให้เวลาที่แต่ละสถานีบรรลุเป้าหมายที่เราคาดไว้

กานต์ธิดา: หน้าที่หลักในการทำงานของฉันคือการศึกษาเวลาและหาสมดุลการผลิต กิจวัตรของฉันเริ่มต้นในตอนเช้าเวลา 7:40 น. เมื่อฉันตรวจสอบเส้นความเร็วของสายพานลำเลียงและจำนวนเครื่องจักรที่ทำงานได้ ส่วนที่น่าสนใจที่สุดของงานของฉันคือการวิเคราะห์เหตุผลว่าทำไมงานของเราไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งนี่เป็นปริศนาที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

คุณคิดว่าทักษะที่มีค่าที่สุดที่คุณจะได้รับจากการฝึกงานที่เดลต้า ประเทศไทย คืออะไร และทักษะนี้จะช่วยในการทำงานในอนาคตของคุณอย่างไร?

กฤษติน: ที่เดลต้า ผมได้รับทักษะในการปรับปรุงกระบวนการทำงานและแก้ปัญหาที่ไม่คาดคิด และทักษะอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ทักษะการสื่อสาร หรือการแสดงความคิดริเริ่ม การฝึกงานทำให้ผมมีโอกาสพัฒนาทักษะเหล่านี้และบรรลุผลสำเร็จ

กานต์ธิดา: สำหรับฉัน มันคือทักษะการสื่อสาร ฉันคิดว่า IE เป็นสาขาที่ต้องการวิศวกรในการสื่อสารและทำงานกับผู้คนจำนวนมาก เราต้องฟังและเรียบเรียงใหม่ ถามและตอบตรงประเด็น เมื่อเราพูด สิ่งสำคัญคือต้องมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย

ยิ่งไปกว่านั้น เราต้องมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เราไม่สามารถเข้าใจเพียงคำแนะนำได้ แต่เราต้องแบ่งปันอารมณ์ของผู้อื่นด้วย ทักษะนี้สามารถช่วยฉันได้ในอาชีพการงานในอนาคต มันจะปรับปรุงการสื่อสารของฉันเมื่อฉันพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานหรือเพื่อนร่วมงาน ดังนั้น ฉันจึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีใครสับสนหรือมีคำถาม

หัวหน้างานของคุณคอยสนับสนุนการฝึกงานของคุณอย่างไร และคุณเรียนรู้อะไรจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น?
กานต์ธิดา: หัวหน้างานสนับสนุนฉันในหลาย ๆ ด้าน เช่น ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ให้คำแนะนำในการทำงานให้สำเร็จ และให้กำลังใจฉันด้วย

เมื่อทำงานร่วมกับผู้อื่น ฉันเรียนรู้ที่จะฟังและพูดอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่ฉันต้องการ ฉันถามคำถามเมื่อฉันไม่เข้าใจและคิดว่าวิธีที่ฉันจะเป็นส่วนหนึ่งของทีม

กฤษติน: เขามอบหมายงานที่น่าสนใจให้กับผม สอนทักษะสำหรับงานอุตสาหกรรม และให้ข้อคิดเห็นดี ๆ เกี่ยวกับงาน

คุณคิดว่ามีอะไรพิเศษเกี่ยวกับเดลต้า ประเทศไทยบ้าง?

กฤษติน: ผมสนใจในกระบวนการทำงานทั้งหมดที่นี่และวิธีทำงานให้เสร็จตรงเวลา ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ยอดเยี่ยมในการสำรวจและเรียนรู้

กานต์ธิดา: เอกลักษณ์ของเดลต้าคือเรามีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนสายการผลิตแบบเดิมที่ต้องมีผู้ปฏิบัติงานจำนวนมากคอยปฏิบัติงาน ให้กลายเป็นสายการผลิตอัตโนมัติที่มีหุ่นยนต์ที่ช่วยลดความผิดพลาดของมนุษย์ ซึ่งเป็นการปรับปรุงและลดความซับซ้อนในการผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่

นอกจากนี้ เดลต้ายังทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในทุกด้านของการผลิตและการดำเนินงาน

อะไรคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณในการเลือกบริษัทที่จะทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษา?

กฤษติน: สำหรับผม คือประเภทของงาน สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และเงินเดือน

กานต์ธิดา: ชั่วโมงการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และโอกาสในการเติบโต ฉันคิดว่าปัจจัยทั้งสามนี้สำคัญที่สุดสำหรับฉันมาก ฉันต้องการความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่ดี ฉันไม่ต้องการที่จะทุ่มเททั้งชีวิตไปกับการทำงาน

วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งสำคัญสำหรับฉันมากเพราะเราต้องค้นหาสภาพแวดล้อมการทำงานที่เราชอบ สุดท้ายคือโอกาสในการเติบโต นี่ไม่ใช่แค่การเติบโตทางการเงินเท่านั้น ฉันหมายถึงโอกาสที่จะพัฒนาทักษะและมีความสามารถมากขึ้น

คุณช่วยแบ่งปันแผนการในอนาคตของคุณได้ไหม และคุณมีแนวคิดที่จะทำให้ประสบการณ์การฝึกงานดีขึ้นหรือไม่?
กฤษติน: ผมรู้สึกว่าโครงการจะดีกว่านี้ถ้าเดลต้าทำให้กระบวนรับนักศึกษาฝึกงานเร็วขึ้น แล้วเราจะได้ประสบการณ์การทำงานที่หลากหลายมากขึ้น

กานต์ธิดา: ฉันอยากสอบ IELTS และ TOEFL และพักสมองหลังจากเรียนจบเป็นเวลาหนึ่งเดือน เพื่อให้ประสบการณ์การฝึกงานดีขึ้น ฉันต้องคิดบวกและสนุกกับกิจกรรมหรืองานทั้งหมดที่ได้รับมอบหมาย

ฉันได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากที่นี่เพื่อให้ได้ความรู้และประสบการณ์มากขึ้น แม้จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับสายงานของฉันก็ตาม นอกจากนี้ ยังช่วยให้ฉันค้นหาว่าฉันชอบงานประเภทใดและวางแผนอาชีพเส้นทางในอนาคตตัวเอง

เปิดโลกทัศน์ของคุณให้กว้างขึ้นที่เดลต้า

หากคุณเป็นนักศึกษาวิศวกรรมชาวไทยที่กระตือรือร้นที่จะฝึกฝนทักษะและเข้ารับการฝึกอบรมภาคปฏิบัติกับเรา สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Delta International Intern Exchange ได้ที่ เพจ Delta Thailand Careers หรือติดต่อ HR ของเราวันนี้

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next