โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ กันยายน 14, 2564
By David Nakayama, DET Corp Comms
กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 24 มิถุนายน 2564 - โควิด-19 กำลังเป็นอุปสรรคทางด้านการศึกษาของนักเรียนทั่วประเทศไทย ทว่าในช่วงเวลาที่ท้าทายแบบนี้ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย ยังคงเปิดโอกาสให้ผู้มีความสามารถในท้องถิ่นได้รับการฝึกอบรมด้านวิศวกรรมระดับโลกผ่านโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาฝึกงานระดับนานาชาติประจำปี แต่ในปี พ.ศ. 2564 เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านการเดินทางทำให้ชั้นเรียนในปีนี้ส่วนใหญ่ต้องฝึกอบรมกันที่โรงงานของเดลต้า ประเทศไทย
วันนี้เราได้มาสัมภาษณ์นักศึกษาวิศวกรรมชาวไทยสองคน ได้แก่ พนารินทร์ เบญจชย และสิทธา ศรีวราศาสตร์ (ซ้ายและขวาในรูปด้านบน) เกี่ยวกับประสบการณ์การฝึกงานในบริษัทในโครงการแลกเปลี่ยนของเรา
ช่วยเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับตัวคุณ ว่าคุณมาจากไหน? คุณกำลังเรียนอะไรอยู่? และทำไมคุณถึงเลือกสาขาวิชา/สายนี้?
พนารินทร์ : ฉันเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตอนที่อยู่ม. 1 ฉันโชคดีมากที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมค่ายนักอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเยาว์ที่สาขาของฉันและที่มหาวิทยาลัยมหิดลด้วย
จากนั้น ฉันก็เข้าเรียนที่โรงเรียนเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ ไทย-เยอรมัน และศึกษาต่อในสาขานี้ต่อไปจนมาถึงหลักสูตรปัจจุบัน ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ฉันได้พบบุคคลที่น่าสนใจมากมายและได้รับแรงบันดาลใจจากพวกเขา
สิทธา: ผมชื่อสิทธา แต่เรียกผมว่าต้นก็ได้ ผมเกิดและเติบโตที่เชียงใหม่ ภาคเหนือของประเทศไทย ผมเป็นนักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผมเลือกวิชาเอกนี้เพราะว่าวิศวกรรมเครื่องกลเป็นสาขาที่กว้างมาก วิศวกรรมประเภทนี้มีประโยชน์มาก เราสามารถควบคุมการไหลของน้ำหรือควบคุมความร้อนและอุณหภูมิได้เช่นกัน สิ่งนี้น่าสนใจสำหรับผม
คุณรู้จักโครงการ Delta International Exchange ได้อย่างไร และทำไมคุณถึงเข้าร่วม?
พนารินทร์ : ฉันรู้จักโครงการ Delta International Exchange จากป้ายโฆษณาที่มหาวิทยาลัย ประกาศบนหน้าเว็บไซต์ของคณะ และเมื่อบริษัทมาโปรโมท โครงการที่วิทยาเขตของฉัน ตอนนั้นฉันรู้เลยว่าฉันต้องสมัครเข้าร่วมโครงการนี้
โดยส่วนตัวแล้ว ฉันเชื่อว่าการมีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์ทำงานก่อนเริ่มทำงานจริงเป็นการเตรียมตัวที่ดีมากสำหรับฉัน ฉันใฝ่ฝันที่จะรู้ว่าถ้าตัวเองเป็นวิศกรจริง ๆ จะเป็นอย่างไร และฉันต้องการเข้าใจระบบและลำดับของเวิร์กโฟลว์
นอกจากนี้ ฉันยังเชื่ออีกด้วยว่าวิธีเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการเรียนรู้จากสิ่งที่ดีที่สุด และโครงการนี้เท่านั้นที่ให้โอกาสฉันได้
สิทธา: ผมรู้ว่าเดลต้ามีโครงการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ เนื่องจาก HR ของเดลต้า มาโปรโมทที่มหาวิทยาลัยของผม
ผมสนใจโครงการนี้เพราะว่าเดลต้าเป็นบริษัทขนาดใหญ่ และดำเนินกิจการในหลายประเทศทั่วโลก
คุณจะต้องฝึกงานที่เดลต้านานแค่ไหน และฝึกที่ไหน?
พนารินทร์ : ฉันจะต้องฝึกงานที่เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย เป็นเวลาหกเดือน ฉันอยู่ที่นี่ในฐานะนักศึกษาฝึกงานตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 ตอนนี้ฉันกำลังฝึกอยู่ที่โรงงานเดลต้า 5 ในแผนกวิศวกรรมทดสอบการผลิตพาวเวอร์ซัพพลาย
สิทธา: ผมฝึกงานที่เดลต้าเพียงสี่เดือน ซึ่งฝึกอยู่ที่โรงงาน Delta Automotive Plant แผนกวิศวกรรมเครื่องกล
หน้าที่หลักของคุณในฐานะนักศึกษาฝึกงานที่เดลต้า ประเทศไทยคืออะไร และส่วนใดของงานที่น่าสนใจที่สุด?
สิทธา: หน้าที่หลักของผมคือการเขียนแบบสำหรับชิ้นส่วนและโมเดล 3 มิติ เพื่อซับพอร์ตเครื่องจักร โดยส่วนที่น่าสนใจในงานของผมคือต้องทำให้ทุกคนเข้าใจแบบที่ผมวาดอย่างชัดเจน
เนื่องจากการวาดแบบเป็นเหมือนภาษาของวิศวกรรม มันจึงสามารถทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นเมื่อเรามีแบบที่ดี
พนารินทร์ : หน้าที่หลักของฉันในฐานะวิศวกรฝึกหัดคือการสนับสนุนทีม สำหรับฉัน ตำแหน่งนี้น่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะเป็นการยืนยันว่าผลิตภัณฑ์ภายใต้ชื่อแบรนด์ของบริษัทจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
เราไม่ได้ทดสอบผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นก่อนจัดส่งเพียงเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือความต้องการของลูกค้าของเรา แต่เราทำมากกว่านั้นเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในตลาด
คุณคิดว่าทักษะที่มีค่าที่สุดที่คุณจะได้รับจากการฝึกงานที่เดลต้า ประเทศไทย คืออะไร และทักษะนี้จะช่วยในการทำงานในอนาคตของคุณอย่างไร?
พนารินทร์ : โปรเจคที่ฉันทำอยู่ตอนนี้ค่อนข้างท้าทายมาก ซึ่งฉันได้ลองใช้ความคิดสร้างสรรค์ในที่ทำงานและก้าวไปอีกขั้นจากการเรียนในมหาวิทยาลัย ในชั้นเรียน ฉันได้รับคำแนะนำที่สมบูรณ์จากหนังสือเรียนหรือมีตัวอย่างให้ทำตามอยู่แล้ว
ที่นี่ฉันมีที่ปรึกษาที่ยอดเยี่ยมและเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ที่คอยช่วยเหลือ ดังนั้น การฝึกงานที่นี่ช่วยสร้างความรู้ใหม่ด้านการคิดอย่างวิศวกร
สิทธา: ในความคิดของผม ทักษะที่มีค่าที่สุดที่ได้รับจากการฝึกงานนี้คือทักษะในการสื่อสาร ในการทำหน้าที่ของผมที่นี่ ผมจะต้องสื่อสารกับผู้คนมากมายเพื่อให้ทุกคนมองเห็นภาพเดียวกัน
และการสื่อสารไม่ได้หมายถึงการพูดคุยเพียงเท่านั้น ยังมีอีกหลายวิธีมากมายให้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำเอกสารที่ดีด้วยเช่นกัน ดังนั้น การฝึกงานครั้งนี้ช่วยผมได้มากในการฝึกฝนทักษะนี้และทำให้ผมพร้อมสำหรับอาชีพในอนาคต
หัวหน้างานของคุณคอยสนับสนุนการฝึกงานของคุณอย่างไร และคุณเรียนรู้อะไรจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น?พนารินทร์ : หัวหน้างานของฉันคือคุณสุเมธ เขาเป็นที่ปรึกษาที่ยอดเยี่ยมมาก ประสบการณ์หลังจากทำงานที่นี่มาหลายสัปดาห์คือ ฉันไม่กลัวที่จะถามในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน เขาช่วยฉันเติมช่องว่างความรู้เหล่านั้นจริง ๆ ยิ่งไปกว่านั้น เขาทำให้ที่ทำงานและทีมสบายใจ
การแก้ปัญหาความผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ในแต่ละวันอาจทำให้คุณรู้สึกหดหู่ใจ แต่เขามักจะมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ ฉันไม่เคยรู้สึกว่าไม่อยากไปทำงานในตอนเช้าหรือรู้สึกแย่เมื่อจบวัน
ทุกคนในสำนักงานเป็นมิตรต่อกัน ด้วยการทำงานเป็นทีม พวกเขาเป็นหนึ่งในทีมที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่ฉันเคยทำงานด้วย
สิทธา: นี่เป็นคำถามที่ดีมาก ในอดีตผมเคยทำงานพาร์ทไทม์มาหลายที่ และปัญหาหลักที่ผมเจออยู่เสมอก็คือการเข้าสังคมกับคนที่ต้องทำงานด้วย แต่ที่นี่แตกต่างออกไป หัวหน้างานของผมใจดีมาก
มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมทำงานผิดพลาด แต่หัวหน้างานกลับไม่โกรธและอธิบายสิ่งต่าง ๆ ด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ เขาสอนผมอย่างใจเย็น และบอกวิธีที่ถูกต้องให้ผมทำเสมอ
ผมได้เรียนรู้มากมายเกี่ยวกับการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่นี่ สิ่งสำคัญคือเราต้องใช้ความคิดมากกว่าอารมณ์หากคุณต้องการเป็นมืออาชีพ
คุณคิดว่ามีอะไรพิเศษเกี่ยวกับเดลต้า ประเทศไทยบ้าง?
พนารินทร์ : แม่ฉันเป็นครู ฉันเติบโตขึ้นมาในทีทำงานของแม่ ที่นั่น ฉันได้เรียนรู้ว่าการสร้างสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นและการทำงานร่วมกันเป็นกลยุทธ์สำคัญในการทำงานให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมการทำงานแบบเดียวกันกับที่เดลต้า เราไม่ได้มาที่สำนักงานด้วยทัศนคติเหมือนบริษัทอื่น ที่คุณสนใจแค่เรื่องของตัวเอง และฉันสนใจแค่เรื่องของฉัน ทุกคนที่นี่เราเป็นเพื่อนกัน ตั้งแต่หัวหน้างานไปจนถึงพนักงานที่อายุน้อยที่สุด
สิทธา: เดลต้าเป็นบริษัทที่น่าทึ่งเพราะเดลต้าทำงานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน และเครื่องจักรในโรงงานที่นี่มีความทันสมัยมากกว่าที่ผมคิดโรงงานทั่วไปในประเทศไทย
อะไรคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณในการเลือกบริษัทที่จะทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษา?
พนารินทร์ : สำหรับฉัน ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกสถานที่ทำงานคือศักยภาพในการเติบโตและก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
อีกทั้งบริษัทที่มีระบบที่ชัดเจนพอที่จะเห็นภาพรวมและสนับสนุนคนที่คิดนอกกรอบ
สิทธา: ถ้าให้พูดตามตรงก็คือเงินเดือน บรรยากาศในที่ทำงานและเพื่อนร่วมงาน ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับผมหากจะเลือกเข้าทำงานสักที่หนึ่ง
อย่างแรก เงินเดือนต้องเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ประการที่สอง หากคุณต้องการผลลัพธ์ที่ดี บรรยากาศการทำงานที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมาก สุดท้ายนี้ เพื่อนร่วมงานของคุณต้องมีความเป็นมืออาชีพ
คุณช่วยแบ่งปันแผนการในอนาคตของคุณได้ไหม และคุณมีแนวคิดที่จะทำให้ประสบการณ์การฝึกงานดีขึ้นหรือไม่?
สิทธา: หลังจากเรียนจบ หากเป็นไปได้ ผมอยากจะทำงานที่เดลต้า และเรียนต่อปริญญาโทไปพร้อม ๆ กัน
สำหรับคำแนะนำหรือแนวคิดในการปรับปรุงโครงการนี้ ในความคิดของผม คงจะดีถ้าเรามีการเรียนเพิ่มเติมที่เดลต้าก่อนที่เราจะไปฝึกงานในโรงงาน
พนารินทร์ : หลังจากฝึกงาน ฉันจะกลับไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยหนึ่งหรือสองภาคเรียนก่อนจบปริญญา
ในระหว่างนี้ ถ้ายังมีเวลา ฉันอาจจะเรียนหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเพิ่มพูนทักษะของตัวเอง แล้วฉันก็วางแผนที่จะกลับมาเริ่มต้นอาชีพใหม่ที่นี่ที่เดลต้า
ค้นหาทีมที่คุณสามารถเติบโตได้ที่เดลต้า
หากคุณเป็นนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์รุ่นใหม่ที่ต้องการค้นหาสถานที่ที่ท้าทาย แต่พร้อมต้อนรับทุกคนเพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาชีพของคุณ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Delta International Intern Exchange ได้ทาง เพจ Delta Thailand Careers หรือติดต่อ HR ของเราวันนี้