นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

ไขปริศนาการผลิตผ่านการปฏิบัติจริงในโครงการ Delta International Exchange

โดย Delta Electronics (Thailand) PCL. - เผยแพร่เมื่อ พฤศจิกายน 12, 2564

กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 23 มิถุนายน 2564 - บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย เป็นบริษัทเดียวในประเทศที่นำเสนอการฝึกงานระดับโลกที่ไต้หวัน ให้แก่ผู้มีความสามารถด้านวิศวกรรมผ่านโครงการ Delta International Exchange แต่ด้วยข้อจำกัดด้านการเดินทางเนื่องจากโควิด-19 ทำให้ในปีนี้การฝึกงานทั้งหมดจะอยู่ที่โรงงานของเดลต้าในประเทศไทย ซึ่งพวกเขาจะได้ทำงานในสภาพแวดล้อมนานาชาติ

วันนี้เราได้ร่วมพูดคุยกับนักศึกษาด้านวิศวกรรมสองคนคือ รชต พิกุลกานตเลิศ และ เพ็ญเปา กีรกะจินดา (ภาพด้านบนซ้าย-ขวา) เกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขาในที่ทำงานระดับโลกกับโครงการ Delta Thailand International Exchange

ช่วยเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับตัวคุณ ว่าคุณมาจากไหน? คุณกำลังเรียนอะไรอยู่? และทำไมคุณถึงเลือกสาขาวิชา/สายนี้?

รชต: ผมมาจากกรุงเทพฯ ประเทศไทย จบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และตอนนี้กำลังศึกษาอยู่ที่คณะวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาการออกแบบการผลิตและวัสดุที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผมเลือกเรียนเอกการออกแบบการออกแบบการผลิตและวัสดุ เพราะตอนเด็ก ๆ ผมเคยออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานจากเลโก้ แม้แต่ตอนนี้ในเวลาว่าง ผมก็ยังชอบต่อแอ็คชั่นฟิกเกอร์ของ Bandai

ตอนที่เล่นของเล่นประเภทนี้ ผมรู้ได้เลยว่าตัวเองต้องเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องในการออกแบบสิ่งต่าง ๆ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของวัสดุนั้น ๆ

เพ็ญเผ่า: ผมมาจากจังหวัดนนทบุรี ตอนนี้กำลังศึกษาเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เหตุผลที่ผมเลือกวิศวกรรมวัสดุก็เพราะผมคิดว่ามันสนุกมาก!

วิศวกรรมเป็นสาขาวิชาที่สามารถแก้ปัญหาสิ่งที่มีผลกระทบมากที่สุดในโลกของเรา และสามารถตอบคำถามที่ว่า "ทำไม" ได้ในหลายเรื่องส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน

คุณรู้จักโครงการ Delta International Exchange ได้อย่างไร และทำไมคุณถึงเข้าร่วม?
รชต: ผมรู้จักโครงการ Delta International Exchange นี้จากประกาศของมหาวิทยาลัย

ผมเข้าร่วมโครงการนี้เพราะผมต้องการเรียนรู้และเชี่ยวชาญในการใช้ภาษาจีน ได้รู้จักเพื่อนใหม่ และสร้างประสบการณ์จากการทำงานในชีวิตจริง

เพ็ญเผ่า: พี่ชายของผมส่งข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้มาให้ และเหตุผลที่ผมเข้าร่วมคือโครงการดูน่าสนใจมากสำหรับผม

คุณจะต้องฝึกงานที่เดลต้านานแค่ไหน และฝึกที่ไหน?

รชต: ผมต้องฝึกงาน 6 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 กันยายน 2564 ซึ่งผมฝึกและทำงานที่โรงงานยานยนต์ของเดลต้าที่โรงงานเดลต้า 1 ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู

เพ็ญเผ่า: เราต้องฝึกงานที่เดลต้าเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งผมฝึกงานในส่วนการจัดการคุณภาพซัพพลายเออร์ของเดลต้า

หน้าที่หลักของคุณในฐานะนักศึกษาฝึกงานที่เดลต้า ประเทศไทยคืออะไร และส่วนใดของงานที่น่าสนใจที่สุด?

รชต: ในการผลิตยานยนต์ หน้าที่ประจำวันของผมคือการรวบรวมข้อมูล เช่น รอบเวลา และรุ่นของแต่ละผลิตภัณฑ์จากสายการผลิต

ส่วนที่น่าสนใจที่สุดในการฝึกงานของผมคือที่ปรึกษาให้ผมทำงานจริง และผมต้องทำให้เสร็จเมื่อถึงเวลาที่เธอกำหนด ตอนนี้เธอยังให้ผมออกแบบอุปกรณ์ติดตั้งสำหรับการใช้งานในอนาคตอีกด้วย และผมตั้งหน้าตั้งตารอที่จะทำงานที่มีประโยชน์มากกว่านี้

เพ็ญเผ่า: หน้าที่หลักของผมนฐานะนักศึกษาฝึกงานคือการช่วยทีมปรับปรุงคุณภาพซัพพลายเออร์ ซึ่งผมสนใจในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพที่ใช้แนวคิด Six Sigma เป็นอย่างมาก

คุณคิดว่าทักษะที่มีค่าที่สุดที่คุณจะได้รับจากการฝึกงานที่เดลต้า ประเทศไทย คืออะไร และทักษะนี้จะช่วยในการทำงานในอนาคตของคุณอย่างไร?เพ็ญเผ่า: ทักษะที่มีค่าที่สุดที่ผมได้รับจากเดลต้าคือทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์และพร้อมที่จะจัดการกับปัญหาทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นกับงาน

รชต: ผมคิดว่าทักษะที่มีค่าที่สุดที่ผมได้เรียนรู้จากที่นี่คือภาษาจีน เพราะในความคิดของผม ภาษาที่สามสามารถใช้เป็นข้อได้เปรียบและมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น

นอกจากนี้ ผมยังสามารถใช้มันเพื่อสื่อสารกับพนักงานคนอื่น ๆ ที่พูดภาษาจีนได้และเข้าใจพวกเขาเป็นอย่างดี

หัวหน้างานของคุณคอยสนับสนุนการฝึกงานของคุณอย่างไร และคุณเรียนรู้อะไรจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น?
รชต: หัวหน้างานสนับสนุนผมด้วยการบอกที่ปรึกษาให้มอบประสบการณ์การทำงานจริงให้กับผม และผมซาบซึ้งใจมาก เพราะผมได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากการทำงานร่วมกับที่ปรึกษา

ผมได้เรียนรู้ว่าผมต้องทำงานอย่างรวดเร็ว และเมื่อผมทำงานเร็วขึ้น ผมจะต้องใส่ใจทุกรายละเอียดให้มากที่สุดเพื่อทำงานที่มืออาชีพมากทีสุด

เพ็ญเผ่า: หัวหน้างานของผมสนับสนุนทุกประสบการณ์การฝึกงานของเรา โดยให้โอกาสเราในการเรียนรู้แง่มุมต่าง ๆ ของงานตั้งแต่เริ่มต้นโดยตรง มันเหมือนกับเป็นพนักงานใหม่ที่เดลต้าแม้จะเป็นนักศึกษาฝึกงานก็ตาม

คุณคิดว่ามีอะไรพิเศษเกี่ยวกับเดลต้า ประเทศไทยบ้าง?

รชต: ความพิเศษคือตอนที่ผมเห็นระบบบางอย่างที่ดีกว่า ผมสามารถยกระดับให้คนอื่นปรับปรุงได้ นี่เป็นสิ่งจำเป็นในการปกป้องคุณภาพของผลิตภัณฑ์

เพ็ญเผ่า: วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของเดลต้าที่ผมค้นพบคือการทำงานเป็นทีมและบรรยากาศเหมือนครอบครัวที่นี่

อะไรคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณในการเลือกบริษัทที่จะทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษา?

รชต: ในความคิดของผม ความสุขในการทำงานกับบริษัทต้องมาก่อนเพราะมันจะทำให้งานของคุณออกมาดี ด้วยผลงานที่ยอดเยี่ยม คุณจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งและมีแรงจูงใจมากขึ้นในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยมยิ่งขึ้นไปอีก

เพ็ญเผ่า: สำหรับผม ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือชื่อเสียงองค์กรที่ยอดเยี่ยมและภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท

คุณช่วยแบ่งปันแผนการในอนาคตของคุณได้ไหม และคุณมีแนวคิดที่จะทำให้ประสบการณ์การฝึกงานดีขึ้นหรือไม่?
เพ็ญเผ่า: ผมไม่มีแผนระยะยาวมากนัก ผมแค่พยายามทำให้ดีที่สุดในแต่ละวันและพยายามเรียนรู้ให้มากที่สุด

รชต: แผนต่อไปของผมคือการเรียนภาษาญี่ปุ่นเพื่อให้มีความได้เปรียบทางภาษามากขึ้น บางทีผมอาจจะเรียนปริญญาโทที่ญี่ปุ่นและทำงานที่นั่น 3-4 ปี เพื่อรับประสบการณ์และเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการทำงานในต่างประเทศ

เมื่อผมกลับมาและสมัครงานกับเดลต้า ผมหวังว่าประสบการณ์ของผมจะช่วยสนับสนุนบริษัทให้ทำกำไรได้มากขึ้นและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก

เข้าสู่โลกของวิศวกรรมระดับนานาชาติที่เดลต้า

หากคุณเป็นนักศึกษาวิศวกรรมชาวไทยที่อยากเปิดโลกทัศน์ให้กว้างและสัมผัสประสบการณ์การทำงานในสถานที่จริง สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Delta International Intern Exchange ได้ที่ เพจ Delta Thailand Careers หรือติดต่อ HR ของเราวันนี้

 

 

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

Delta Electronics (Thailand) PCL.

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next