โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ มิถุนายน 26, 2563
บทสัมภาษณ์ของนักศึกษาฝึกงานสายออโตเมชั่น
บทความโดย David Nakayama, DET Corp Comms
รูปโดย Benjapol Disa, DET Marketing
ในฐานะผู้ผลิตและส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ในหลายประเทศ บริษัทเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้จูงใจ นักศึกษาจำนวนมากจากหลากหลายสถาบันการศึกษาที่มีความกระตือรือล้นอยากมีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาวิศวกรรม บริหาร ไอที และโลจิสติกส์เข้ามาฝึกงานกับเรา ในวันนี้เราจะมาพูดคุยกับนักศึกษาฝึกงานเกี่ยวกับประสบการณ์ของพวกเขาในโครงการ Delta Automation Internship Program:
จากซ้ายไปขวา: นายเจตจรินทร์ จิตรหาญ นางสาวศิรินาถ เครือแก้ว นายพีระศิลป์ หอยสังข์
ตอนนี้น้องๆกำลังเรียนอยู่ในสาขาอะไรกันบ้างครับ?
พวกเรากำลังเรียนอยู่ชั้นปี 4 ในภาควิชาวิศวกรรมระบบควบคุมและเครื่องกลที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และจะจบการศึกษาในเดือนมิถุนายน 2563 ซึ่งขณะนี้กำลังฝึกงานอยู่ที่เดลต้า ประเทศไทย ระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-เดือนพฤศจิกายน 2562
รู้จักโครงการนี้ได้อย่างไร? และทำไมถึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ?
พีระศิลป์: อาจารย์นำรายชื่อบริษัทที่เป็นพาร์ทเนอร์กับคณะมาให้เราเลือกเพื่อที่จะไปฝึกงาน ซึ่งเดลต้าก็เป็นหนึ่งในนั้น ผมเลือกมาฝึกที่เดลต้า เพราะบริษัทอยู่ไม่ไกลจากวิทยาเขตบางมดและเดลต้าเป็นที่รู้จักในด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และผมมีความสนใจพิเศษที่อยากเรียนรู้เรื่องการประหยัดพลังงานภายในโรงงานและในรถยนต์
ศิรินาถ: เดลต้าเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและทุกคนที่นี่ก็ใจดีและคอยช่วยเหลืออยู่เสมอ รุ่นพี่ที่เคยมาฝึกงานกับเดลต้าเล่าให้ฟังว่าบรรยายกาศในการทำงานเป็นกันเอง มีสวัสดิการรถรับส่ง และอาหารที่บริษัทยังราคาไม่แพงอีกด้วย
เจตจรินทร์: ใช่ครับ ผมเห็นด้วยกับทั้งสองคน และผมยังชอบที่เดลต้ามีโปรเจคมากมายไว้ให้เรียนรู้อีกด้วย
หน้าที่ของคุณมีอะไรบ้างจากการเข้าร่วมโครงการ Delta Internship Program ?
ศิรินาถ: ทีมของเรารับผิดชอบเรื่องการออกแบบเครื่องบัดกรีอัตโนมัติ ดังนั้นงานของเราคือปรับปรุงและพัฒนาหุ่นยนต์SCARAของเดลต้า ให้เชื่อมต่อโลหะได้อย่างแม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง และย่นระยะเวลาในกระบวนการขั้นต่อไป หุ่นยนต์ SCARA จะเข้ามาแทนการใช้แรงงานมนุษย์ประกอบชิ้นงานด้วยมือและการจุดบัดกรีสำหรับสายการผลิตบอร์ด DC หลังจาก PCB ผ่านเข้าเครื่อง Wave Soldering นอกจากการทำงานกับหุ่นยนต์ SCARA แล้ว เรายังช่วยประกอบเครื่องจักรสำหรับการผลิตอื่น ๆ และเดินสายไฟ สำหรับเครื่องบัดกรี 5 รุ่นของเดลต้า
สิ่งที่น้องๆได้เรียนรู้จากที่นี่ที่มีประโยชน์มากที่สุดคือ?
พีระศิลป์: ผมได้เรียนรู้วิธีการเขียนโปรแกรมสั่งงานหุ่นยนต์ SCARA ของเดลต้า อีกทั้งยังได้ฝึกเดินสายไฟสำหรับตัวควบคุมอุณหภูมิของเครื่องบัดกรีสำหรับสายการผลิต Self-feeder Soldering Station
ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกงานที่เดลต้าและคุณคิดว่าตัวเองได้รับทักษะจากโครงการนี้มากน้อยเพียงใด?
เจตจรินทร์: ผมได้รับการฝึกปฏิบัติหลายอย่างและรู้สึกว่าได้นำความรู้ที่มีมาใช้ทำงานในระบบและเครื่องจักรในสายการผลิตอัตโนมัติ ผมคิดว่าความรู้ด้านวิศวกรรมของผมตอนนี้ 50% จากในห้องเรียนและอีก 50% มาจากการปฏิบัติจริง
ศิรินาถ: ฉันได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวกับ Smart Conveyor ซึ่งหมายความว่ามันสามารถลำเลียงผลิตภัณฑ์หลากหลายรุ่นจากต่างสายการผลิตบนสายพานเดียวกันในเวลาเดียว ฉันได้ฝึกการเขียนโปรแกรมพื้นฐานและเดินสายไฟทุกวัน สำคัญที่สุดคือฉันได้ค้นพบระดับความสามารถจริง ๆ ของตัวเองและรู้จุดอ่อนเพื่อนจะได้นำไปพัฒนาในฐานะวิศวกรต่อไป ความจริง ฉันคิดว่าทักษะในตอนนี้ของตัวเองมาจากห้องเรียนแค่ 30% ส่วนอีก 70% ได้จากการลงมือทำที่เดลต้า
พีระศิลป์: สำหรับผมคิดว่าได้ใช้ความรู้จากทฤษฎี 60% และประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติที่เดลต้าอีก 40% และผมยังมีโอกาสได้เห็นกระบวนการผลิตอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากสาขาวิชาที่เรียนด้าน SMT ซึ่งน่าสนใจ อีกด้วย
นอกจากทักษะด้านเทคนิคแล้ว คุณได้รับอะไรจากการฝึกงานในครั้งนี้?
พีระศิลป์: ผมได้เรียนรู้ว่าอะไรคือหน้าที่ของเจ้าของโปรเจค คุณจะไม่มีวันรู้เลยว่าการทำงานจริง ๆ นั้นเป็นอย่างไรจนกว่าจะได้ลงมือทำในสถานการณ์จริงที่มีการใช้งานเครื่องจักรนับพันพร้อมกันในเวลาเดียว ซึ่งแตกต่างจากแลปในตอนเรียนอย่างสิ้นเชิง
ศิรินาถ: ฉันได้รับประสบการณ์ใหม่มากมาย ทั้งทักษะทางเทคนิคและการเขียนโปรแกรม รวมไปถึงการทำงานร่วมกับผู้อื่นและวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เดลต้าเป็นบริษัทใหญ่มีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทำงานอยู่ เป็นสถานที่ที่เหมาะกับการเรียนรู้อย่างยิ่ง
เจตจรินทร์: ผมรู้สึกว่าได้เรียนรู้ชีวิตในโลกของการทำงานมากขึ้นและได้เตรียมพร้อมสำหรับการงานในอนาคต ผมไม่รู้มาก่อนถึงความซับซ้อนของโปรเจคและขั้นตอนการจัดการ ดังนั้นผมจึงมีความสุขมากที่ได้ทำมัน
คุณมีแผนที่จะทำอะไรต่อไปและอยากจะแชร์อะไรให้กับนักศึกษาฝึกงานรุ่นต่อไป?
พีระศิลป์: ผมอยากกลับไปทำงานที่บ้านเกิด และยังอยากที่จะทำในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพราะคิดว่า Budding engineer ต้องรู้วิธีการใช้ซอฟต์แวร์ เช่น SolidWorks ภาพวาด 3 มิติในกระบวนการออกแบบ ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญไม่ใช่แค่สำหรับวิศวกรรมเครื่องกลยังรวมไปถึงวิศวกรรมไฟฟ้าอีกด้วย
ศิรินาถ: ฉันวางแผนที่จะไป Work & Travel ที่อเมริกาเป็นเวลา 4 เดือน เพื่อฝึกทักษะภาษาอังกฤษและหาเงินนิดหน่อย เมื่อกลับมาแล้วอยากทำงานในสายวิศวกรรมให้กับบริษัทใหญ่ ๆ และแน่นอน ฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีในการเตรียมพร้อมสำหรับงานในอนาคตให้มากที่สุดโดยเฉพาะความรู้ด้านออโตเมชั่นให้มากขึ้น
เจตจรินทร์: ผมอยากทำงานในอุตสาหกรรมอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมมิ่ง หรือ ออโตเมชั่น ผมคิดว่านักเรียนไม่ควรลังเลเมื่อต้องเลือกที่ฝึกงาน แค่เดินไปข้างหน้าและทำมัน คุณแค่ต้องรู้จักที่จะถามคำถามไม่ใช่มัวแต่นั่งรอคำตอบ นี่คือความแตกต่างจากห้องเรียนที่อาจารย์อธิบายทุกอย่างให้เราฟัง
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการฝึกงานหรือสมัครงาน เยียมชมได้ที่ Delta Thailand Careers Page