นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

ฟาร์มอัจฉริยะแห่งแรกของเดลต้าสร้างรากฐานให้วิสาหกิจชุมชนของไทย

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ กรกฎาคม 13, 2565

บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ภูมิใจที่เป็นบริษัทของไทยที่เติบโตอย่างยั่งยืนมามากกว่า 30 ปีในประเทศที่อบอุ่นและเป็นกันเอง การเดินทางของเราเริ่มต้นด้วยการก่อตั้งโรงงานแห่งแรกที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งในปี 2533 ผลิตภัณฑ์แรกเริ่มของเราคือตัวกรองสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า (EMI)

จากจุดเริ่มต้น เราได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และรัฐบาล ซึ่งการสนับสนุนตลอดหลายปีที่ผ่านมานี้เป็นหัวใจสำคัญของการเติบโตที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยของเดลต้า

ในปัจจุบัน เรามีโรงงานและโกดังสินค้าทั้งหมด 3 แห่งที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซึ่งผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ระบบเครือข่าย นอกจากนี้ เรายังได้สร้างโรงงานแห่งใหม่และศูนย์ R&D เพิ่มใกล้กับโรงงานและสำนักงานใหญ่ของเรา เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากลูกค้าทั่วโลก
ในฐานะบริษัทขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ เดลต้าจึงเป็นส่วนสำคัญของชีวิตผู้คนที่นี่ ทุกวัน คนไทยหลายพันคนในชุมชนของเราเดินทางมาทำงานที่โรงงานเดลต้าในนิคมอุตสาหกรรมบางปู ซึ่งพนักงานเดลต้าทุกคนต่างมุ่งมั่นในพันธกิจของเราที่ว่า “มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้พลังงานสะอาดและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่ออนาคตที่ดีกว่า”

พันธกิจของเรากระตุ้นให้เราต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปพร้อม ๆ กับการพัฒนาและสร้างพาวเวอร์ซัพพลาย ยานยนต์ พัดลมระบายอากาศและผลิตภัณฑ์เครือข่าย “Made in Thailand” ที่สนับสนุนแบรนด์ชั้นนำระดับโลกและเป็นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและยานยนต์แห่งอนาคตหรือ EV ที่น่าจับตามองของยุค Thailand 4.0

เราขอขอบคุณทุกการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและมีความสุขที่มีโอกาสได้ตอบแทนชุมชนของเรา เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา เดลต้าร่วมกับบีโอไอ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และเทศบาลเมืองแพรกษา จัดงานเปิดตัวฟาร์มอัจฉริยะแห่งแรกของเดลต้าในประเทศไทยที่วิสาหกิจชุมชนเงาะป่าพาราไดซ์ ตำบลแพรกษา จังหวัดสมุทรปราการ
นายแจ็คกี้ จาง ประธานบริษัท เดลต้า ประเทศไทย เป็นตัวแทนบริษัทร่วมพิธีตัดริบบิ้นเปิดฟาร์มอัจฉริยะ กับนางสาวซ่อนกลิ่น พลอยมี รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) นายคงวุฒิ ยอดพยุง ผู้อำนวยการนิคมอุตสาหกรรมบางปู และบุคคลสำคัญจากภาครัฐ

นายจางได้กล่าวภายในงานว่า “บริษัทรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เปิดตัวฟาร์มอัจฉริยะแห่งแรกของเดลต้าในประเทศไทย และเริ่มบทใหม่ของนวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อสังคมที่ยั่งยืน บริษัทหวังว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการทำฟาร์มอัจฉริยะรูปแบบใหม่ที่จะปฏิวัติภาคการเกษตรของประเทศไทยและสร้างประโยชน์ต่อชุมชนทั่วประเทศ บริษัทมุ่งหวังที่จะได้ร่วมงานกับบีโอไอ และกนอ. รวมถึงพันธมิตรภาครัฐและเอกชน เพื่อนำโซลูชั่นระดับโลกอื่น ๆ มาปรับใช้ภายในประเทศต่อไป”

เดลต้ามีประสบการณ์มาอย่างยาวนานในด้านการพัฒนาโซลูชั่นฟาร์มอัจฉริยะในประเทศสิงคโปร์เพื่อตอบสนองความต้องการในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอาหาร และพัฒนาความมั่นคงด้านอาหารให้ดียิ่งขึ้น โซลูชั่นฟาร์มอัจฉริยะของเราใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติและนวัตกรรมการสร้างอัจฉริยะเพื่อเพิ่มความสม่ำเสมอด้านคุณภาพและผลผลิตในขณะที่ใช้ที่ดินและทรัพยากรน้อยลง
ย้อนกลับไปในปี 2554 เดลต้าเริ่มพัฒนาโรงงานของตนเอง และต่อมาได้นำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดภายใต้ชื่อ 'DELvege' ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อส่งมอบผักที่ปลอดสารพิษและมีคุณภาพสูง โรงงานอัจฉริยะของเดลต้าใช้หลอดไฟ LED เพื่อสร้างสภาวะที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตของผักในแต่ละระยะ ยังมี flood table ระบบหมุนเวียนสารอาหาร พัดลม DC brushless และโซลูชั่นอื่น ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของเดลต้าในด้านนวัตกรรมข้ามอุตสาหกรรม

ในปี 2564 เดลต้าได้เปิดตัวโรงงานอัจฉริยะแบบตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 เมตรที่ย่านดิจิทัลพังกอล (Punggol Digital District : PDD) ในประเทศสิงคโปร์ ด้วยโซลูชั่นพัดลมและการจัดการความร้อน หลอดไฟ LED และเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ เมื่อเทียบกับการทำฟาร์มแบบดั้งเดิม ระบบฟาร์มอัจฉริยะใช้น้ำน้อยลงถึง 5%

การดำเนินงานในโรงงานของเดลต้าใช้ประโยชน์จากระบบตรวจสอบอัจฉริยะที่ใช้เซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมได้แบบเรียลไทม์ ข้อมูลที่ได้จะถูกปรับแบบอัตโนมัติโดย PLC ของเดลต้า และยังแสดงผลโดยระบบ SCADA VTScada นอกจากนี้ กระบวนการผลิตหลายกระบวนการยังเป็นแบบอัตโนมัติ เช่น ระบบถ่ายเปลี่ยนถาดอัตโนมัติและอุปกรณ์หว่านเมล็ดพันธุ์อัตโนมัติ
เป็นที่น่าสังเกตว่าโรงงานมีระบบปรับอุณหภูมิ ทิศทางลม และแสงเพื่อให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและประหยัดการใช้ไฟฟ้า เมื่อเทียบกับวิธีการทำนาทั่วไปซึ่งต้องใช้เวลา 40-45 วันในการเจริญเติบโตเต็มที่ ระบบช่วยให้เก็บเกี่ยวได้ในเวลาเพียง 35 วันโดยมีน้ำหนักและคุณภาพที่สม่ำเสมอมากขึ้น

ในประเทศไทย ทีมระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมของเราได้พัฒนาโซลูชั่นฟาร์มอัจฉริยะที่ไม่เหมือนใคร เพื่อตอบสนองความต้องการของวิสาหกิจชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งโซลูชั่นนี้ได้รวมอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติของเดลต้าเอาไว้ ซึ่งรวมถึง ตัวควบคุมลอจิกแบบตั้งโปรแกรมได้ (PLC), อุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (VFD), หน้าจอระบบสัมผัสควบคุมระบบ Human Machine Interface (HMI) และเราท์เตอร์อุตสาหกรรมไร้สาย 4G

บนหลังคาเรามีระบบโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) ขนาด 5.4 kWp ที่ถูกนำมาใช้ 100% สำหรับการดำเนินงานของสมาร์ทฟาร์ม มีระบบบำบัดน้ำเสียแบบรีเวอร์สออสโมซิส (Reverse Osmosis) ช่วยให้สามารถนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งเพื่อลดการใช้น้ำ โดยระบบนำน้ำกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ มีปริมาณการใช้น้ำเพียง 10% ถึง 20% เมื่อเทียบกับความต้องการปกติ
นอกจากการติดตั้งและการใช้งานแล้ว ทีมวิศวกรของเราพร้อมให้ความช่วยเหลือในการฝึกอบรมวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับการทำงานของโซลูชั่นและการให้บริการความเหลือด้านอื่นๆ สำหรับโครงการนี้ เราทำงานร่วมกับเทศบาลเมืองแพรกษาและเลือกวิสาหกิจชุมชนเงาะป่าพาราไดซ์เป็นวิสาหกิจชุมชนนำร่องของเรา

ในอีก 3 ปีข้างหน้า เราคาดว่าโครงการนี้คาดว่าจะเติบโตไปสู่รูปแบบธุรกิจที่เป็นไปได้ ในขณะเดียวกันยังช่วยพัฒนาคุณภาพและกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อก้าวสู่ตลาดในอนาคต เราหวังว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบการทำฟาร์มอัจฉริยะรูปแบบใหม่ที่ปฏิวัติภาคการเกษตรของประเทศไทยและสร้างประโยชน์แก่ชุมชนทั่วประเทศ
สุดท้ายนี้ เดลต้าขอขอบคุณสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)และหน่วยงานภาครัฐที่สนับสนุนความพยายามของเราในการนำโซลูชั่นฟาร์มอัจฉริยะมาสู่ประเทศไทย เราตื่นเต้นที่จะได้ทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อนำโซลูชั่นระดับโลกมาใช้ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next