นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

เพิ่มขีดความสามารถในการทำงานด้าน STEM สำหรับผู้หญิงที่เดลต้า ประเทศไทย

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ พฤศจิกายน 16, 2563

บทความโดย เดวิด นากายาม่า

แม้ว่า บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จะเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ผลิตรายใหญ่ในประเทศ แต่คุณอาจประหลาดใจที่เดลต้ามีพนักงานหญิงคิดเป็น 70% ของพนักงานทั้งหมด ในความเป็นจริงผู้หญิงคือกุญแจสำคัญในภาคการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และผู้หญิงที่มีความสามารถที่เดลต้าได้พบกับความสำเร็จในอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์ (STEM)

วันนี้เราจะได้พบกับผู้หญิงในอาชีพด้าน STEM ที่มีความมุ่งมั่นสองคนคือ เบญจวรรณ แสงวาโท เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ และ ณัฐธยาน์ จังพานิช วิศวกรอัตโนมัติ (ภาพด้านบนจากซ้ายไปขวาใน) ที่จะมาแบ่งปันประสบการณ์ที่เดลต้าและมุมมองเกี่ยวกับการเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิงในสถานที่ทำงานและสังคมในภาคการผลิต

คุณช่วยเล่าถึงการศึกษาและประสบการณ์การทำงานของคุณได้หรือไม่?

ณัฐธยาน์: ฉันจบการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในตอนที่เรียนอยู่ปีสาม ฉันได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่มหาวิทยาลัยและได้พบกับโครงการ Delta International Intern Program ฉันจึงได้เข้าร่วมโครงการหกเดือน และได้รับทุนไปฝึกอบรมและทำงานที่เดลต้า ประเทศไทย เป็นเวลาสองเดือนและที่เดลต้า ไต้หวัน เป็นเวลาสี่เดือน

ในตอนที่ฝึกงานกับเดลต้า ฉันได้ฝึกงานในแผนกวิศวกรรมผลิตภัณฑ์ (PE) โดยมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ความล้มเหลว ที่ไต้หวันฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ SCARA และภาษาจีน ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งชาติไทเป ในขณะทำงานที่ทำงานควบคู่กันไป หลังจากเรียนจบฉันได้ตัดสิ้นใจเข้าทำงานกับเดลต้า ประเทศไทย

เบญจวรรณ: ฉันสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจการเงิน จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และปริญญาโทบริหารธุรกิจ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียรังสิต ด้วยทุนรัฐบาลไทย ระหว่างเรียน MBA ฉันได้ไปแลกเปลี่ยน ที่ Technische Universität München (TUM) ในเยอรมนี เป็นเวลา 6 เดือน

ฉันเคยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อที่บริษัทผู้ผลิตกระดาษรายใหญ่ของไทยเป็นเวลาห้าปีก่อนที่จะเรียน MBA และทำงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ (IR) ที่บริษัทในนิคมอุตสาหกรรมชั้นนำของไทยเป็นเวลาเก้าเดือนก่อนที่จะมาทำงานกับเดลต้า ประเทศไทย

คุณเข้ามาทำงานกับเดลต้า ประเทศไทยตอนไหนและในปัจจุบันคุณมีบทบาทอย่างไร?
ณัฐธยาน์: ฉันเข้าทำงานในแผนกวิศวกรรมระบบอัตโนมัติของเดลต้า ประเทศไทย ในเดือนกรกฎาคมปี 2563 ฉันเป็นผู้หญิงคนเดียวจากสมาชิก 9 คน ในทีม Project Automation ซึ่งออกแบบเครื่องจักรอัตโนมัติให้กับทีม Implementation Automation เพื่อนำไปติดตั้งบนโซลูชั่นการผลิตอัจฉริยะดั้งเดิมของเราที่มีชื่อว่า Delta Smart Manufacturing (DSM) โดยเป้าหมายของเราคือการเพิ่มระบบอัตโนมัติในสายการผลิต DSM เพื่อลดงานที่ต้องใช้มือซึ่งเป็นอันตรายและซ้ำซ้อนในการผลิตซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และคุณภาพ

เราทดสอบและตรวจสอบสายการผลิตเพื่อตัดสินใจเกี่ยวกับฟังก์ชันและรูปแบบความต้องการของเครื่องจักรอัตโนมัติ จากนั้นฉันใช้ซอฟต์แวร์ AutoCAD และ SolidWorks เพื่อออกแบบโครงสร้างของเครื่อง ซึ่งงานโปรดของฉันคือการเชื่อมต่อเครื่องที่เสร็จสมบูรณ์เพื่อส่งข้อมูล PQM (การผลิต คุณภาพ เครื่องจักร) แบบเรียลไทม์ ไปยังระบบประมวลผลการผลิต (MES) ที่อยู่บนคลาวด์ภายในของเรา

เบญจวรรณ: ฉันเพิ่งเข้าทำงานในแผนกการเงิน ในตำแหน่งผู้ควบคุมสินเชื่อและสนับสนุนทีมขายของเดลต้าที่ต้องการขายด้วยเครดิตหรือด้วยวิธีการชำระเงินแบบ L/C เมื่อเดือนตุลาคม ฉันตรวจสอบวงเงินสินเชื่อของลูกค้า จากนั้นก็ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการประกันการค้าของเราเพื่อตรวจสอบและรักษาวงเงินสินเชื่อของลูกค้าไว้กับเรา ในระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบนี้ฉันต้องอ่านงบการเงินและการคาดการณ์การขายของลูกค้าทั้งหมดเพื่อกำหนดวงเงินสินเชื่อที่ถูกต้อง นอกจากนี้ฉันยังต้องจัดการความคุ้มครองประกันของบริษัทเราอีกด้วย

สิ่งใดของเดลต้าที่ดึงดูดคุณมากที่สุดและคุณรู้สึกอย่างไรกับภาคการผลิตในตอนนี้?

ณัฐธยาน์: เดลต้าเป็นบริษัทที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งไม่เพียงแต่มุ่งเน้นไปที่การผลิต แต่ยังปกป้องสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญที่สุดคือฉันประทับใจกับการดูแลความปลอดภัยของพนักงานในส่วนการผลิตของบริษัทว่าเราต้องทำอย่างไรเพื่อลดที่จะอุบัติเหตุในที่ทำงานให้เป็นศูนย์

ฉันคิดว่าภาคการผลิตของประเทศไทยค่อนข้างฉลาด แต่ไม่ใช่ในระดับที่เราไม่มีคู่แข่งเลย ซึ่งฉันคิดว่าการเปิดตัวระบบอัตโนมัติทั้งหมดยังคงเป็นหนทางที่ยาวไกลสำหรับบริษัทอย่างเดลต้า

เบญจวรรณ: สิ่งที่น่าสนใจที่สุดในทำงานกับเดลต้าคือขอบเขตงาน ฉันยังคิดว่าเดลต้าเป็นบริษัทที่ยั่งยืนมากและยังชื่นชอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของเรา เช่น เครื่องชาร์จ EV และอินเวอร์เตอร์พลังงานแสงอาทิตย์ ในตอนที่ฉันมาสัมภาษณ์ ผู้จัดการฝ่ายการเงินและ CFO ได้แบ่งปันพันธกิจและวิสัยทัศน์ของบริษัทซึ่งทำให้ฉันอยากเข้ามาทำงานด้วยมาก ๆ

เมื่อเทียบกับภาคธนาคารแล้ว ภาคการผลิตของประเทศไทยนั้นกว้างกว่ามากและเราสามารถมีส่วนร่วมในผลิตภัณฑ์และธุรกิจที่น่าสนใจต่าง ๆ ได้ตลอดการทำงานของเรา ฉันชอบทำงานด้านการผลิตเพราะมีการพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอในขณะที่การเงินจะสนับสนุนการเติบโตของเราไม่มากก็น้อย ฉันยังสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัฒนธรรมธุรกิจระดับโลกและธุรกิจระหว่างประเทศที่บริษัทข้ามชาติเพื่อเพิ่มทักษะของฉันให้กว้างขึ้น

คุณคิดว่าภาคการผลิตกำลังพัฒนาสำหรับผู้หญิงในประเทศไทยอย่างไรและคุณมีเป้าหมายอะไรในอาชีพการทำงาน?
เบญจวรรณ: ในปี 2562 ประชากรหญิงของประเทศไทยมีมากกว่า 50% ดังนั้นเราจึงมีโอกาสมากมายในการกระจายการผลิต ฉันคิดว่าทุกวันนี้ประเทศไทยเปิดกว้างมากและภาคการผลิตไม่ได้แบ่งงานตามบทบาททางเพศ ดังนั้น ผู้หญิงที่มีศักยภาพและความสามารถก็สามารถประสบความสำเร็จได้

ฉันต้องการได้รับใบประกาศ Financial Conduct Authority (FCA) ภายในห้าปี เนื่องจากตอนนี้มีผู้ถือ FCA เพียง 500 คนในประเทศไทยและฉันต้องการโอกาสในประเทศและต่างประเทศมากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ฉันอยากเป็นผู้จัดการฝ่ายการเงินของเดลต้า ฉันยังหวังอีกด้วยว่าจะมีโอกาสพิสูจน์ความสามารถของตัวเองและหวังว่าบริษัทจะรับรู้และเลื่อนตำแหน่งให้ฉันภายในสองปี

ณัฐธยาน์: ปัจจุบันผู้หญิงมีโอกาสมากมายในภาคผลิต ตัวอย่างเช่น ฉันเห็นช่างเทคนิคผู้หญิงทำงานในการบัดกรีด้วยคลื่นซึ่งเคยเป็นงานของผู้ชาย เพราะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบากและต้องใช้แรงงาน ดังนั้น ฉันจึงคิดว่าผู้หญิงจะประสบความสำเร็จมากขึ้นในภาคผลิต เนื่องจากเราสามารถแสดงให้ทุกคนเห็นว่าเราสามารถทำได้

เป้าหมายในตอนนี้ของฉันคือการเรียนรู้เทคโนโลยีทั้งหมดของเดลต้าเท่าที่สามารถจะทำได้รวมถึงระบบอัตโนมัติ การจัดการสิ่งแวดล้อมในภายโรงงาน การประหยัดพลังงาน และการบริหารจัดการคน ในอนาคตฉันวางแผนที่จะนำความรู้นี้ไปใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติที่บ้านเกิดของตัวเอง โดยอันดับแรกฉันต้องเป็นหัวหน้าทีม จากนั้นก็เป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมภายใน 10 ปี สุดท้ายฉันอยากที่จะตั้งบริษัทวิศวกรรมระบบอัตโนมัติของตัวเองเพื่อสร้างเครื่องจักรใหม่ที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน

คุณคิดว่าผู้หญิงในประเทศไทยสามารถมีส่วนร่วมมากขึ้นในอาชีพ STEM และการจัดการได้อย่างไร?

ณัฐธยาน์: ตอนฉันอายุ 16 ฉันชอบเรียนคณิตศาสตร์และฟิสิกส์มาก จนได้เข้ามาเรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ 60% เป็นผู้หญิงและเพื่อนร่วมชั้นของฉันหลายคนทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม เช่น R&D วิศวกรรมฝ่ายขาย และความปลอดภัยด้านไอที ในชั้นเรียนอิเล็กทรอนิกส์ฉันได้เรียนเพิ่งแค่การบัดกรีและบอร์ด PCB ดังนั้นทุกอย่างเกี่ยวกับเครื่องจักรฉันได้เรียนรู้จากเดลต้าทั้งหมด

ฉันคิดว่าผู้หญิงเราต้องพัฒนาอาชีพด้วยตัวเอง เราควรได้รับประสบการณ์และเสนอคุณค่าอยู่เสมอ เจ้านายของคุณสามารถสนับสนุนการพัฒนาของคุณได้ แต่เราอาจต้องปรับตัวให้เข้ากับการทำงานในทีมวิศวกรมืออาชีพในสถานที่ผลิต ขั้นแรกตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสามารถทำงานได้แล้วแสดงให้หัวหน้าและทีมเห็นว่าคุณสามารถทำอะไรได้บ้าง ทีมของฉันทั้งหมดทำงานร่วมกันในห้องเดียว เราจึงมีโอกาสปรึกษาปัญหาของเราและให้คำปรึกษาซึ่งกันและกันอยู่เสมอ ดังนั้นผู้หญิงจึงต้องกล้าพอที่จะแสดงไอเดียและความคิดเห็นของเราเอง

เบญจวรรณ: คุณต้องมีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และตรรกะศาสตร์ที่แน่นเพื่อทำงานในด้านการเงิน การเงินไม่ใช่งานประจำและมันอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เราจึงต้องศึกษากฎหมายธุรกิจเบื้องต้นด้วย ประมาณ 70% ของชั้นเรียนในมหาวิทยาลัยเป็นผู้หญิงและเพื่อนผู้หญิงหลายคนของฉันทำอาชีพด้านวิศวกรรมหรือการเงินและบางคนก็เป็นผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จ ฉันคิดว่าผู้หญิงในประเทศไทยโชคดีที่ได้อยู่ในสังคมที่ไม่ได้บังคับบทบาทใด ๆ กับผู้หญิงเมื่อเทียบกับบางประเทศในเอเชีย

คุณคิดว่าอะไรคือวิธีที่ไม่เหมือนใครที่สุดที่ผู้หญิงในการมีส่วนร่วมในสถานที่ทำงานและสังคม?
ณัฐธยาน์: ทั้งชายและหญิงนำความสมดุลตามธรรมชาติมาสู่โลก ในบริษัทหรือสังคมเราไม่สามารถมีแค่ผู้หญิงหรือผู้ชายเพียงอย่างเดียวได้ เพราะต่างฝ่ายต่างมีจุดแข็งของตัวเอง ผู้หญิงจะมีมุมมองที่ผู้ชายไม่เคยคาดคิด ตัวอย่างเช่น ฉันสามารถค้นหารายละเอียดเล็กน้อยของเครื่องจักรและการออกแบบที่ผู้ชายอาจจะมองข้าม

เบญจวรรณ: ฉันรู้สึกว่าธรรมชาติของผู้หญิงนั้นมีห่วงใยกันมากกว่าและเราไม่ได้สื่อสารกันอย่างก้าวร้าว แต่พยายามแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผู้หญิงมักจะรอบคอบและละเอียดกว่าและสามารถรับรู้ได้ว่ามีบางอย่างขาดหายไป ในขณะที่ผู้ชายมักให้ความสำคัญกับผลลัพธ์มากกว่า ดังนั้นในการทำธุรกิจบางครั้งเราต้องการผู้ชายที่กล้าหาญที่สามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้นจากนั้นผู้หญิงที่ระมัดระวังเพื่อช่วยลดความเสี่ยง ฉันคิดว่าสังคมไทยค่อนข้างเท่าเทียมกันเพราะเราเคยมีนายกรัฐมนตรีหญิงมาก่อนและผู้หญิงไทยมีอิสระที่จะมีส่วนร่วมในที่ทำงานอย่างเท่าเทียม

การเพิ่มขีดจำกัดให้กับผู้หญิงมีความสำคัญต่อสังคมอย่างไรและเราจะให้โอกาสผู้หญิงในการทำงานประจำวันและสนับสนุนการเติบโตของพวกเธอได้อย่างไร?

ณัฐธยาน์: ฉันโชคดีมากที่มีเพื่อนร่วมงานที่เป็นมิตร และรุ่นพี่กับหัวหน้างานที่ให้การสนับสนุน ฉันคิดว่าทุกคนรวมถึงผู้หญิงด้วยกันด้วยควรพยายามพิสูจน์ความสามารถของตัวเองตั้งแต่เริ่มทำงาน หัวหน้างานของฉันเห็นความพยายามนี้และมอบหมายงานที่เหมาะสมให้กับทุกคนในทีม ผมคิดว่าสังคมควรจะยุติธรรมสำหรับทุกคนเช่นกัน

เบญจวรรณ: การเพิ่มขีดความสามารถของผู้หญิงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากผู้หญิงบางคนอาจยังมีความคิดที่ว่าพวกเธอไม่สามารถจัดการหรือเป็นผู้นำได้ ดังนั้น เมื่อพวกเธอเห็นตัวอย่างที่ดีของผู้นำที่เป็นสตรี พวกเธอจะมีความมั่นใจที่จะออกจากคอมฟอร์ทโซนและพบว่าพวกเธอสามารถทำในสิ่งที่พวกเธอตั้งใจไว้ได้

ผู้หญิงต้องมีความกระตือรือร้นและรับโอกาสที่สังคมมอบให้ อย่ายอมแพ้แม้จะล้มเหลว ฉันอาจจะเปลี่ยนเส้นทางแต่เป้าหมายของฉันยังเหมือนเดิม และผู้จัดการไม่ควรมองไปที่เพศของพนักงาน แต่ควรพิจารณาเฉพาะผลงานและทัศนคติเพื่อประเมินผล

คุณอยากจะบอกอะไรกับน้อง ๆ นักเรียนผู้หญิงที่สนใจเรียนและทำงานในด้าน STEM?

เบญจวรรณ: อันดับแรกอย่าจำกัดตัวเองด้วยเพศ หากคุณใฝ่ฝันที่จะทำงานในงาน STEM ก็ลุยเลย หากคุณชอบการเงินให้เริ่มจากการสร้างพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ คนไทยบางคนบอกว่าภาษาอังกฤษเป็นเพียงทักษะเสริม แต่ฉันไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ฉันคิดว่ามันเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้ไกลขึ้น

นอกจากนี้คุณควรฝึกตรรกะของคุณด้วยการใช้สูตรทางการเงินในงานทางธุรกิจ การวิจัยที่ยอดเยี่ยมและการคิดเชิงตรรกะจะช่วยให้คุณทำการวิเคราะห์และคาดการณ์ได้อย่างดี และควรทำความเข้าใจหลักการและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เช่น เส้นอุปสงค์-อุปทาน

ณัฐธยาน์: ฉันบอกว่าคุณต้องกล้าและไล่ตามความฝันของคุณ ตอนนี้ผู้หญิงหลายคนจบการศึกษาในด้าน STEM ทุกปี หากคุณมีใจรัก คุณสามารถกระตุ้นตัวเองให้ประสบความสำเร็จได้ หากคุณต้องการเป็นวิศวกร ฉันคิดว่าทักษะที่สำคัญที่สุดในการเรียนรู้คือการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และทักษะการเขียนโค้ด เพราะสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ในวิศวกรรมทุกสาขา

คุณเป็นผู้หญิงที่กำลังค้นหาโอกาสในการทำงานด้าน STEM ภายในสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีศักยภาพและเป็นสากลอยู่หรือไม่? ติดต่อเราวันนี้และพูดคุยเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันความหลากหลายและรวมกันเป็นหนึ่งในประเทศไทยได้ที่ Delta Thailand Careers!

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next