นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

โดย Pornsuda Witoonchatree - เผยแพร่เมื่อ กันยายน 14, 2563


ถ้าคุณยังไม่ได้ลอง วางแผนที่จะพูดคุยกับตัวเอง ณ ตอนนี้

เขียนโดย Pornsuda Witoonchatree, DET Corp Comms

HIGHLIGHTS

• เจสสิกา นิโคโลซี นักจิตวิทยาคลินิกที่นิวยอร์ก กล่าวว่าการพูดกับตัวเองจัดอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะจริงๆ แล้วเราพูดกับตัวเองตลอดเวลา เพียงแต่ไม่ได้พูดออกมาดังๆ เท่านั้นเอง

• การพูดคนเดียว หรือ Self-Talk เป็นวิธีเดียวกับที่เราหาเพื่อนสักคนที่ไว้ใจได้เพื่อ ‘สะท้อนความคิดและความรู้สึก’ ออกมา

• ในสถานการณ์ที่เราตื่นเต้นหนักๆ หรือกังวลใจมากๆ เช่น ก่อนพรีเซนต์งานในที่ประชุมหรือสัมภาษณ์งาน การพูดคุยกับตัวเองอาจช่วยให้เรารู้สึกสงบจิตสงบใจและคลายความเครียดลงได้

คุณเคยพูดกับตัวเองมั้ย?

“เอ… วางกุญแจไว้ที่ไหนนะ? บ้าจริง! ทำไมเราขี้ลืมแบบนี้ อ๊ะ นี่ไง เจอแล้ว! เรานี่ไม่ไหวเลยนะเนี่ย”

ในวันหนึ่ง ฉันเห็นเพื่อนของฉัน – ที่พบว่าการจอดรถเข้าซอง เป็นการต่อสู้ที่ไม่สิ้นสุด – เธอพูดคุยกับตัวเองตลอด “ขวานิด…ซ้ายหน่อย…ถอยหลังๆๆ…อย่าบอกว่าชนรถเก๋งคันนั้น…เกือบบบบบบ…แล้ว…โอ้ววววแม่!” ในที่สุด เธอจอดรถได้สำเร็จ

บทความนิวยอร์กไทม์ ชี้ให้เห็นว่า “การพูดคนเดียวที่พบบ่อยๆ เห็นได้ 2 ประเภท เช่น ออกคำสั่งกับตัวเอง ให้กำลังใจตัวเอง บอกตัวเอง “ฉัน ทำ ได้”

“บทความนิวยอร์กไทม์เดียวกันนี้ให้แนวคิดข้อเสนอแนะ โดยอธิบายว่าการพูดคุยด้วยตนเองเชิงการเรียนรู้สามารถเร่งความสามารถทางปัญญาและประสิทธิภาพของงานได้อย่างไร โดยพื้นฐาน สมมติฐานเมื่อคนสิ้นหวังจำไม่ได้ว่าวางโทรศัพท์ของพวกเขาไว้ที่ไหน พวกเขาจึงเดินไปรอบ ๆ บ้านและตะโกนดังๆว่า "โทรศัพท์!" จนกว่าจะพบ “ สิ่งนี้ช่วยให้คุณแยกความแตกต่างจากสิ่งของอื่น ๆ ที่มีชื่อเรียกแตกต่างกัน”  นาย Lupyan นักวิจัยและศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย Wisconsin-Madison ผู้ทำการทดลองหลายชุดในเรื่องเดียวกันกล่าว”

นอกจากนี้การพูดคนเดียวยังเป็นส่วนสำคัญใน ‘พัฒนาการด้านสื่อสาร’ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กที่กำลังหัดเรียนรู้การสื่อสาร เพราะการพูดถือเป็นหนึ่งในการทวนความจำและความรู้ด้านภาษาได้เป็นอย่างดี

แต่ในอีกมุมหนึ่ง Self-talk ก็เปรียบเสมือนดาบสองคม เพราะการพูดคุยกับตัวเองมักผูกโยงกับตัวตนของคนคนนั้น หากเราเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ก็อาจจะทำให้สถานการณ์ขณะนั้นแย่ลงกว่าเดิมด้วยคำพูดที่บั่นทอนจิตใจและตอกย้ำความเศร้าตรงกันข้าม หากเราเป็นคนมองโลกในแง่ดี การพูดคุยกับตัวเองจะได้ผลลัพธ์ในเชิงบวกและสร้างความหวัง ความสามารถที่มหัศจรรย์
อย่าลืมที่จะฟังบ้าง จริงๆ แล้วการพูดกับตัวเองเกิดจากกระบวนการสองอย่าง นั่นก็คือ ‘การพูด’ และ ‘การฟัง’ ฉะนั้น Self-listening จึงเป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การตระหนักรู้เกี่ยวกับตัวเอง (Self-awareness) ได้ดีขึ้น เพราะการพูดคนเดียวสะท้อนถึงเสียงที่อยู่ในหัวหรือ Inner Voice ของเรา 

ดังนั้นอย่าลืมตั้งใจฟังสิ่งที่เราพูดออกมาและไม่เก็บสิ่งลบๆๆไว้ภายใน

แหล่งอ้างอิง

https://thestandard.co/lone-talker-does-not-mean-crazy-but-a-healthy-mental-health/

https://www.arre.co.in/first-person/self-talk-conversation-chatting/

Pornsuda Witoonchatree

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

Pornsuda Witoonchatree

คุณสามารถเรียกฉันว่า ‘ฮ้วง’ ชื่อที่พ่อแม่ตั้งให้ที่ฟังดูแล้วเรียกยาก ฉันได้กลับมาทำงานที่เดลต้าอีกครั้งในปี 2555 ตำแหน่งผู้จัดการโปรเจคก่อนที่จะมาเป็นดิจิตัลมาเก็ตติ้งในปี 2560 ความรู้ด้านการตลาดออนไลน์เป็นความรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดเพราะทุกอย่างเปลี่ยนเป็นออนไลน์ไปซะหมดและฉันจำเป็นต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา หากคุณต้องการที่จะรู้จักฉันมากขึ้น สามารถติดต่อฉันได้ที่ https://www.facebook.com/pornsuda.witoonchatree/.

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next