นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

อยุธยา: เมืองหลวงอันรุ่งโรจน์ของยุคทองแห่งสยาม

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ มกราคม 28, 2564

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 22 ธันวาคม 2563 - อยุธยาถือเป็นเมืองประวัติศาสตร์ในดวงใจของคนไทยหลายคนและยังดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกให้มาเยี่ยมชมโบราณสถานของอาณาจักรอยุธยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก

อยุธยาเมืองแห่งประวัติศาสตร์ สถานที่พิเศษในใจของคนไทยจำนวนมากและดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ขึ้นรถตุ๊ก ๆ ของฉันในขณะที่เราสำรวจเมืองโบราณ

อยุธยาถูกสถาปนาเป็นเมืองหลวงที่สองของอาณาจักรสยามต่อจากสุโขทัยในปีพ.ศ. 1893 ต่อมาถูกพม่าเข้าทำลายในศตวรรษที่ 18 ในช่วงศตวรรษที่ 14 ถึง 18 อยุธยาเป็นหนึ่งในอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดและมีความเป็นสากลมากที่สุดในโลก และเป็นศูนย์กลางของการทูตและการพาณิชย์ระดับโลก

กระโดดขึ้นรถตุ๊กตุ๊กมากับผมแล้วนั่งไปสำรวจเมืองโบราณผ่านซากของพระราชวังและวัดที่เคยงดงามเพื่อมองย้อนกลับไปในยุคที่วัฒนธรรมสยามก้าวสู่จุดสูงสุดด้วยกัน
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

จุดแรกเรามาแวะกันที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งประกอบด้วย 4 วัด ได้แก่ วัดพระราม วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาตุวัดราชบูรณะพระบรมมหาราชวัง และวิหารพระมงคลบพิตร เมื่อเดินผ่านซากโบราณสถานเข้ามา เราสามารถนั่งพักในบริเวณสวนที่ร่มรื่นพร้อมกับจินตนาการถึงความงดงามของกำแพงอิฐสีแดง เจดีย์ทองคำที่เคยเปล่งประกายและภาพจิตรกรรมฝาผนังอันวิจิตรที่บอกเล่าเรื่องราวของศาสนา

นอกจากซากโบราณสถานแล้ว บริเวณนี้ยังมีวัดที่ให้คนไทยและชาวพุทธสามารถเข้าไปสวดมนต์และถวายสังฆทานได้อีกด้วย ซึ่งคนในท้องถิ่นส่วนใหญ่นิยมถวายรูปปั้นไก่ชนเพื่อเป็นเครื่องสักการะ ที่นี่คุณยังสามารถพบองค์ประกอบร่วมสมัยซ่อนอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนังและประติมากรรมที่ได้รับการบูรณะ เช่น ตัวละครที่เป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน หรือเหล่านางฟ้าและเทวดาที่กำลังใช้แล็ปท็อป
พระพุทธไสยาสน์ วัดโลกยสุธาวัด

ต่อไปเราไปกันที่วัดโลกยสุธาเพื่อชมพระพุทธรูปปางไสยาสน์องค์ใหญ่ยาว 42 เมตร สูง 8 เมตร ล้อมรอบด้วยซากของวิหารหลังใหญ่ พระพุทธรูปปางไสยาสน์นี้พบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเป็นรูปปั้นขณะที่พระพุทธเจ้ากำลังเข้าสู่นิพพาน ซึ่งสถานที่อันสงบแห่งนี้เป็นที่ที่คนในท้องถิ่นนิยมมากราบไหว้กัน

ผมได้หยุดพูดคุยกับคนในพื้นที่ซึ่งได้เล่าให้ผมฟังว่าเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปีพ.ศ. 2554 ได้สร้างความเสียหายให้ที่นี่เป็นอย่างมาก พวกเขาได้ชี้ให้ดูว่าระดับน้ำสองเมตรสูงเท่าใดของแนวกำแพงเก่า เหตุการณ์อุทกภัยนอกจากสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจหลายพันล้านให้กับบริษัทและประเทศแล้ว และยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้านจำนวนมากในอุตสาหกรรมการผลิต
วัดหน้าพระเมรุ วัดสุดท้ายของอยุธยา

สุดท้ายเราไปกันที่วัดหน้าพระเมรุซึ่งสร้างขึ้นในช่วงที่อยุธยาใกล้จะล่มสลายซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีของวัดที่มีสถาปัตยกรรมและรูปแบบทางวัฒนธรรมในยุครุ่งเรือง พม่าได้ใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นฐานบัญชาการสำหรับการรุกรานซึ่งอธิบายได้ว่าทำไมสถานที่แห่งนี้ยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

ขณะที่ผมกำลังชื่นชมพระธาตุและการออกแบบที่สวยงามเวลาก็ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ผมได้พบเรื่องราวของสถานที่แหล่งนี้บนแผ่นโลหะ จากแห่งข้อมูลของไทยได้ระบุว่าพม่าโจมตีโดยการตั้งปืนใหญ่ไว้ที่บริเวณวัดเพื่อระดมยิงเมือง ปืนใหญ่กระบอกหนึ่งเกิดระเบิดขึ้นมาและได้สังหารนายพลของพม่า จนดูเหมือนว่านี่เป็นเหตุให้การผจญภัยในสยามของพวกเขาเป็นอันสิ้นสุด แต่ในความเป็นจริงพม่าถอนทัพออกไปหลังจากการล่มสลายของอยุธยาไม่นานด้วยเหตุผลหลายประการนอกเหนือจากความสะเพร่าด้านความปลอดภัยในการทำงาน
สรุป
อยุธยาเมืองประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับนักเดินทางที่ต้องการหลีกหนีจากความวุ่นวายของกรุงเทพฯ หรือความแออัดของชายหาดเพื่อมาเจาะลึกวัฒนธรรมไทย ที่นี่จะพาคุณย้อนเวลากลับไปเพื่อสัมผัสกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายท่ามกลางซากโบราณสถานที่เคยรุ่งเรืองเมื่อในอดีต และคุณสามารถพบกับต้นกำเนิดของสยามและความเป็นไทยสมัยใหม่ที่รวมกันเป็นรากฐานของมุมมองและวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม
พระนครศรีอยุธยา: http://www.thailand-guide.com/ayutthaya/
แผนที่: https://goo.gl/maps/MmkhFq4pHyMrnQan7
วัดหน้าพระเมรุ: https://www.tourismthailand.org/Attraction/wat-na-phramen
แผนที่: https://goo.gl/maps/ZF67hNvTMsirovYk7
มรดกโลกจากยูเนสโก นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา: https://whc.unesco.org/en/list/576/
อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554: https://en.wikipedia.org/wiki/2011_Thailand_floods

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next