นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ: พิภพเล็ก ๆ แห่งวิญญาณสยาม

โดย Delta Electronics (Thailand) PCL. - เผยแพร่เมื่อ มีนาคม 01, 2563

แปลโดยแผนกสื่อสารองค์กรเดลต้าประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้:

สมุทรปราการ, ประเทศไทย, วันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 – การหาเวลาท่องเที่ยวในประเทศไทย เป็นเรื่องยากสำหรับเพื่อนร่วมงานผู้มาเยี่ยมเยือนหรือลูกค้าเนื่องด้วยตารางเวลาประชุมอันวุ่นวาย เต็มไปด้วยตารางการประชุม การสำรวจ การตรวจตรา จึงทำให้การมองหาสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่นั้นเป็นความคิดที่ต้องพับเก็บไปก่อน แต่หากได้ออกไปเรียนรู้ ทำความเข้าใจวัฒนธรรมภายในท้องถิ่นซึ่งเป็นหนึ่งเคล็ดลับในการสร้างมิตรภาพกับคนในพื้นที่ นอกจากคุณจะได้มิตรภาพแล้วคุณอาจได้พาร์ทเนอร์ทางธุรกิจกลับมาอีกด้วย ซึ่งพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณเป็นหนึ่งในสถานที่ที่คุณสามารถเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรมไทยได้อย่างรวดเร็ว

หากเดินทางจากกรุงเทพมายังสำนักงานใหญ่เดลต้า ประเทศไทย คุณจะไม่พลาดที่จะเห็นช้างสามเศียรขนาดใหญ่ตั้งสง่าอยู่บนสิ่งก่อสร้างทรงกลมสีชมพูซึ่งเป็นทั้งแลนด์มาร์กและสัญลักษณ์ของจังหวัดสมุทรปราการ เศียรช้างสีดำทมึนทั้งสามทิศถูกรายล้อมด้วยตึกสูงเหนือท่าเรือของปากน้ำ อาจดูเป็นการผสมผสานที่ไม่เหมือนจริงราวกับภาพวาดดาลี แต่ถ้าคุณมองเข้าไปถึงภายในจะพบกับศิลปะ วัฒนธรรม จิตวิญญาณ และปรัชญาที่ช่วยให้คุณเข้าใจความเป็นไทยได้มากยิ่งขึ้น

แหล่งรวมจิตวิญญาณและวัฒนธรรม

มอเตอร์เวย์ที่ตลบอบอวลด้วยฝุ่นจากการจราจรอันแสนวุ่นวายภายนอกรั้วสีขาวของพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณช่างแตกต่างกับบรรยากาศที่เงียบสงบภายในกำแพงพิพิธภัณฑ์ ในการเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มีค่าบริการ 400 บาท สำหรับชาวต่างชาติ (200 บาท สำหรับคนไทย หรือต่างชาติดูคล้ายคนไทย) คุณสามารถนำอุปกรณ์บันทึกเสียงเพื่อบันทึกขณะเยี่ยมชม หรือหากคุณเป็นคนไม่คิดอะไรมากแบบผม คุณสามารถเข้าไปศิลปะและวัฒนธรรมที่รอคุณอยู่ภายในได้เลย ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบไปด้วยสวน ศาลาประดิษฐานองค์เทพเจ้าทั้งไทยและจีน และรูปปั้นช้างจำลอง

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2537 แล้วเสร็จในปี 2546 ตำนานเล่าว่าเกิดจากความคิดและจินตนาการของนักธุรกิจชาวไทย มหาเศรษฐี ผู้อุปถัมภ์ด้านวัฒนธรรม คุณเล็ก วิริยะพันธุ์ ส่วนชื่อเอราวัณนั้นมาจากภาษาไทยที่ใช้เรียกช้างสามเศียร ไอยรตา ซึ่งเป็นผู้ขี่พาหนะทรงของพระอินทร์ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณเป็นประตูสู่มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศไทยและยังได้จัดแสดงของสะสมส่วนตัวทางด้านศาสนาของคุณเล็กเอาไว้ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นการผสมผสานระหว่างศาสนากับความเชื่อ ศิลปะ และหัตถศิลป์ในท้องถิ่น ซึ่งทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสามารถเข้าเยี่ยมชมและสักการะบูชาได้ ภายในบริเวณพิพิธภัณฑ์มีพระพุทธจากหลายยุคและมีเทพเจ้าจากหลากหลายความเชื่อประดิษฐานอยู่ ดังนั้นผู้ชมควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย

จักรวาลช้าง

อาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณคือ สัญญลักษณ์ตัวแทนฮินดู เป็นการรวมของจักรวาล ได้แนวคิดมาจากคัมภีร์ไตรภูมิกถา โดยแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้นสุวรรณภูมิหรือบาดาล (ชั้น 1) ชั้นโลกมนุษย์ (ชั้น 2) และชั้นจักวาลหรือสวรรค์ (ชั้น 3) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ดำเนินการสร้างโดยผู้สร้างเมืองโบราณ พิพิธภัณฑ์มีความสูง 43.6 เมตร (เทียบเท่าตึก 14 ชั้น) และกว้าง 12 เมตร ยาว 39 เมตร ช้างมีน้ำหนัก 150 ตัน รูปปั้นช้าง ประกอบด้วยแผ่นทองแดงหนาประมาณ 1.2 มิลลิเมตร จำนวน 100,000 กว่าแผ่นประดับตกแต่ง

ชั้นหนึ่ง มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมหลากหลายรูปแบบและใช้วัสดุหลากหลายชนิดในการตกแต่งทั้งไม้สักไทย กระเบื้องเซรามิค ศิลปะแบบกอธิค งานเคาะดุนโลหะ และกระจกสีแบบศิลปะตะวันตกประดับที่หน้าต่างและเพดานทั้งหมดถูกนำมารวมกันกลายมาเป็นความแตกต่างที่งดงาม บริเวณเสา ชายคา ประตูทางเข้าและซุ้มไม้ถูกแกะสลักเป็นลายไทยและเคาะดุนโลหะอย่างประณีตเล่าเรื่องราวของศาสนาฮินดู ตรงกลางประดิษฐานพระโพธิสัตว์กวนอิมเก่าแก่โอบล้อมด้วยบันไดเงินและบันไดนาคที่ทอดยาวขึ้นสู่ชั้นโลกมนุษย์ (ชั้น 2) ระหว่างทางเดินขึ้นมีรูปปั้นคนธรรพ์บรรเลงดนตรี เต้นรำให้ความรู้สึกราวกับกำลังเฉลิมฉลองให้กับผู้ที่เดินขึ้นไปห้วงสวรรค์นี้บันไดสู่สวรรค์

หากมองจากชั้นหนึ่ง คุณจะพบทัศนียภาพอันงดงามชั้นพื้นดินในมุมกว้าง พาโนรามา บันไดเงิน บันไดนาค และพระโพธิสัตว์พระพุทธรูปสีขาวในท่านั่งประดิษฐานอยู่ด้านบน โดยรอบบริเวณชั้นสวรรค์นี้ถูกตกแต่งด้วยไม้สักรวมถึงลิฟต์สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการด้วยเพื่อให้ความรู้สึกแตะพื้นดิน สองข้างคุณจะพบกับประตูและบันไดสู่ภายในตัวช้างเอราวัณ ตลอดทางเดินขึ้นบันได มีภาพจิตกรรมฝาผนังที่เล่าถึงตำนานศาสนาฮินดูและความเชื่อของไทยไว้ให้เราได้ชื่นชมเมื่อขึ้นบันไดมาคุณจะพบพระพุทธรูปปางลีลาศิลปะสุโขทัยเป็นพระประธาน ฉากเบื้องหลังตกแต่งเป็นผังที่ตั้งแห่งเขาพระสุเมรุมีซุ้มวิมานด้านบนสุดซึ่งประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์จำลอง ทั้งสองฝั่งของห้องมีพระพุทธรูปโบราณจากสมัยต่าง ๆ และพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ ทำให้รู้สึกเหมือนเป็นทั้งสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา หอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ในเวลาเดียวกัน ผู้เข้าชมสามารถเคารพบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือจะเดินชมศิลปะและโบราณวัตถุที่จัดแสดงอยู่ภายในห้องช้างเอราวัณ

นอกจากนี้ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ยังมีภาพและสัญลักษณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของคนไทย นักท่องเที่ยวสามารถเดินไปตามทางเดินเป็นวงกลมรอบ ๆ ตัวอาคาร เสมือนอยู่ใต้ท้องช้างและระหว่างด้านหน้าและขาหลังของน้ำพุรูปปั้นช้างในสวน (น้ำไหลจากลำตัวที่หันออกด้านนอก) โดยคนไทยเชื่อว่าการกระทำนี้นำมาซึ่งความโชคดีและทุกครั้งที่คุณเดินผ่าน แตรของช้างจะส่งเสียงร้องยินดีอวยชัยให้คุณโชคดี นอกจากนี้ ยังมีช้างเผือกยืนเฝ้าตรงกำแพงและธงช้างเผือกโบราณของราชอาณาจักรสยามสะบัดไปตามสายลม

ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติของไทย และคนไทยเชื่อว่าช้างเผือกเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีความสำคัญต่อความเป็นอยู่และความเจริญรุ่งเรืองของราชอาณาจักร ช้างเผือกทั้งหมดจะถูกจับมาถวายพระมหากษัตริย์โดยจำนวนของช้างนั้นจะแสดงถึงอำนาจของกษัตริย์แต่ละพระองค์ ภายในพิพิธภัณฑ์ยังจัดแสดงพระพิฆเนศ และเทพเจ้าจีนอย่างขงจื๊อ ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่อยู่คู่กับความเชื่อของคนไทยมาช้านาน

ค้นหาเส้นทางของตัวเราเองในโลกที่วุ่นวาย

ท้ายที่สุด พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณช่วยเปิดมุมมองของผู้เข้าชมให้กว้างขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นนักโบราณวัตถุ ผู้หลงใหลในของเก่า ช่างภาพหรือแม้แต่นักแสวงบุญ เราต่างได้รับประสบการณ์ในแบบของตัวเรา รูปแบบที่ดูยุ่งเหยิง ขัดแย้ง สีสันสไตล์ไซคีเดลิค และสัญลักษณ์เสมือนจริง อาจเป็นสิ่งที่ยากเกินกว่าจะเข้าถึง แต่นี้ทำให้พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ทรงคุณค่าสำหรับชาวไทย

ถึงแม้ผมยังคงมีคำถามมากมายมากกว่าคำตอบ แต่การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ได้ทำให้ผมรู้สึกสบายใจขึ้น ทักษะที่จำเป็นเมื่อต้องจัดการกับงานที่ซับซ้อนและเพลิดเพลินไปกับการผจญภัยของชีวิตกับ “Amazing Thailand”

ลิ้งค์ที่เกี่ยวข้อง:

สถานที่: https://g.page/ErawanMuseumSamutprakan?share

เว็ปไซต์พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ: https://www.muangboranmuseum.com/en/landmark/the-erawan-museum/

ข้อมูลเพิ่มเติม:  http://paknam.com/tourist-attractions/the-erawan-museum/

อ่านเพิ่มเติม “สถานที่ท่องเที่ยว”

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

Delta Electronics (Thailand) PCL.

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next