นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

ห่างไกลจากความผลุกผล่านของไวรัสโควิด: หนึ่งวันกับการค้นพบอัญมณีที่ซ่อนอยู่ของกรุงเทพ

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ พฤษภาคม 13, 2563

ภาพและบทความโดย เดวิด นากายามะ

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 – ก่อนที่ธุรกิจและการท่องเที่ยวจะปิดตัวลงเนื่องจากโควิด-19 กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามามากที่สุดในโลกด้วยความสวยงามของวัดวาอาราม ห้างสรรพสินค้า และบาร์รูฟท็อป

แต่ในช่วงล็อคดาวน์แบบนี้เราคงต้องหยุดเรื่องการเดินทางไปชั่วคราวก่อน อย่างไรก็ตามเรายังคงสามารถหาแรงบันดาลใจทางอินเตอร์เน็ตเพื่อรวบรวมข้อมูลให้พร้อมสำหรับการผจญภัยครั้งต่อไป ดังนั้น หากคุณต้องการเคล็ดลับจากวงในคุณสามารถเข้าร่วมกับเราใน “ทัวร์เสมือนจริง” อัญมณีที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักในกรุงเทพฯ ซึ่งคุณสามารถเดินทางไปได้ทุกเมื่อหลังจากที่สถานการณ์กลับมาเป็นปกติแล้ว

ช่วงเช้า: ปั่นจักรยานรอบตลาดน้อย ชุมชนคนไทยเชื้อสายจีน
ในขณะที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เดินทางมาเยาวราชนั้นเพื่อได้ลิ้มรสอาหารระดับมิชลินสตาร์หรือเดินเที่ยวบนถนนเยาวราช แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าไม่ไกลจากเยาวราชนั้นเป็นที่ตั้งของตลาดน้อย ชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นขุมทรัพย์ของช่างภาพแนวสตรีทหรือใครก็ตามที่ต้องการสัมผัสวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีน

ปัจจุบันสีสันของศิลปข้างถนนและจิตรกรรมฝาผนังในสไตล์เมืองจอร์จทาวน์ มาเลเซีย ได้เพิ่มชีวิตชีวาให้กับตรอกซอกซอยและเพิ่มความรู้สึกของเมืองสมัยใหม่ให้กับร้านค้าเก่าแก่ คุณสามารถเช่าจักรยานเพื่อปั่นลัดเลาะไปตามตรอกซอกซอยในบริเวณใกล้เคียง (ในขณะปั่นควรระวังตัวเด็ก ผู้สูงอายุและสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านแถวนั้นด้วย) และหามุมถ่ายภาพสวย ๆ ลง Instagram ที่ชุมชนชาวฮากกา ศาลเจ้าลัทธิเต๋าหรือคาเฟ่ริมแม่น้ำและร้านคาร์ฟเบียร์

ระหว่างทางที่ผมกำลังเดินไปที่ตลาดน้อยหลังจากเข้าชมนิทรรศการพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไต้หวันและงานศิลปะอิตาเลียนสมัยใหม่ที่หอศิลป์ River City Bangkok ที่ตั้งอยู่ติดกับท่าเรือสี่พระยา ผมได้หยุดดูเรือบรรทุกและเรือข้ามฟากที่กำลังล่องไปตามแม่น้ำจากฝั่งชุมชนชาวฮากกาอันเงียบสงบ ได้เห็นมอเตอร์ไซค์ไทเกอร์สภาพสมบูรณ์ (ตอนนี้ได้กิจการได้ปิดตัวลงแล้ว) และเจอกับนักแสดงที่มีชื่อเสียงของไทยที่ร้านกาแฟโดยบังเอิญ

ช่วงเที่ยง: เรียนรู้มรดกทางศิลปะของประเทศไทยที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ประเทศไทยมีมรดกทางศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์และมีชื่อเสียงหลายอย่าง ปัจจุบันคนไทยได้รับรางวัลระดับสากลมากมายจากทั้งโฆษณาเชิงสร้างสรรค์ ภาพยนตร์ ชุดผ้าไหมและสถาปัตยกรรมเลี่ยมทอง แต่น่าแปลกที่ผมไม่ได้เห็นหอศิลป์หรือพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยเยอะเท่าที่ควร ดังนั้น หากคุณต้องการหลบหนีจากแสงแดดในตอนเที่ยงคุณสามารถหลบเข้ามาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเพื่อชื่นชมศิลปะที่จัดแสดงอยู่ภายใน

ชั้นล่างของพิพิธภัณฑ์จัดแสดงผลงานศิลปะนานาชาติหรือศิลปะสมัยใหม่ ในขณะที่ชั้นบนนั้นจะจัดแสดงศิลปะ วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งได้รวบรวมคติชน พุทธศาสนาและราชาธิปไตยเอาไว้ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงผลงานของผู้บุกเบิกศิลปะสมัยใหม่ของไทยจากมหาวิทยาลัยศิลปากร
ผมเดินเข้ามาภายในแกลเลอรี่เพื่อชมนิทรรศการภาพถ่ายโบราณที่ถ่ายเมื่อ 100 ปีก่อนในประเทศไทย ภาพถ่ายขาว-ดำและภาพถ่ายสีเซียนนาซึ่งภาพถ่ายเหล่านี้เป็นภาพที่ถูกถ่ายในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ การผสมผสานของศิลปะไทยดั้งเดิมกับอิทธิพลจากต่างประเทศเป็นเครื่องเตือนใจที่ดีว่านี่คือการผสมผสานโดยธรรมชาติของวัฒนธรรมไทย

ตอนบ่าย: เดินเล่นในชุมชนกุฏีจีน

คนไทยมีความภูมิใจเป็นอย่างมากที่ประเทศไทยไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของประเทศในยุโรป ดังนั้น ผมจึงรู้สึกสนใจที่จะเดินทางมาที่ชุมชนชาวโปรตุเกสในกรุงเทพฯ ก่อนที่จะมาเป็นกรุงเทพฯ แบบในปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้สถาปนากรุงธนบุรีขึ้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยให้กรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงใหม่หลังจากที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลายในปี พ.ศ. 2310 พระองค์ได้จัดสรรที่ดินที่เรียกว่ากุฏีจีนให้กับชาวโปรตุเกสไว้ตั้งเป็นชุมชนเล็ก ๆ

ในปัจจุบันพื้นที่ทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ช่วยให้เราได้ออกจากความวุ่นวายของเมืองเพื่อพักเติมพลัง คุณสามารถเดินไปตามตรอกซอกซอยเพื่อชื่นชมสถาปัตยกรรมเอเชีย-โปรตุเกส รูปเคารพทางศาสนา งานศิลป์และลองชิมอาหารของท้องถิ่น ที่นี่อาจจะทำให้คุณนึกถึงบรรยากาศบนถนนของมาเก๊า เดินทางจากแม่น้ำเจ้าพระยา คุณสามารถลงที่ท่าเรือวัดกัลยาณมิตรและเดินไปที่โบสถ์ซานตาครูซซึ่งเป็นทางเข้าของชุมชนกุฏีจีน

ผมจอดรถไว้ที่วัดกัลยาณมิตร แล้วเดินผ่านโบสถ์สไตล์เรอเนซองส์เพื่อเข้าสู่ชุมชนกุฏีจีน ที่นี่ผมได้ค้นพบเรื่องราวของชุมชนที่น่าสนใจจากพิพิธภัณฑ์บ้านกุฏีจีนและเพลิดเพลินไปกับขนมสัพพะแหยกทานคู่กับเอสเพรสโซ่เย็น เช่นเดียวกับที่มาเก๊าและญี่ปุ่นชาวโปรตุเกสได้นำทักษะการทำขนมที่มีชื่อเสียงมาสู่สยาม ที่ร้านเบเกอรี่ในชุมชนคุณสามารถพบเห็นขนมฝรั่งกุฎีจีนอบในเตาอบแบบโบราณ

ช่วงเย็น: เข้าชมวันโพธิ์ในยามเย็น
หนึ่งในภาพที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในประเทศไทยคือพระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ของวัดโพธิ์ วัดโพธิ์เป็นหนึ่งในวัดที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงเทพมหานคร และยังศูนย์การเรียนนวดและการแพทย์แผนไทย เพื่อหลีกเลี่ยงฝูงชนที่มาเยี่ยมชมในเวลากลางวัน คุณสามารถเข้าเยี่ยมชมหลังจากพระอาทิตย์ตกดินได้ (แต่ควรมาก่อนเวลาเคอร์ฟิว 10:00 น.) เพื่อชมแสงที่ตกกระทบกับเจดีย์และประตูสะท้อนประกายระยิบระยับออกมาให้เราได้ชื่นชมความสวยงาม

ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้ชมพระพุทธไสยาสน์หรือเพลิดเพลินกับการนวด แต่คุณก็สามารถเดินชมสวนและโบสถ์ที่ร่มรื่นโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติ (คนไทยสามารถเข้าได้ฟรี) วัดตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำเจ้าพระยาและใจกลางเมืองจึงทำให้สะดวกต่อการเดินทาง หลังจากชมความงดงามของวัดแล้วก็มานั่งดื่มด่ำกับบรรยากาศที่บาร์ริมน้ำ จากนั้นก็เดินทางเข้าสู่จุดหมายต่อไปในเมือง

ผมเข้าชมวัดโพธิ์หลังจากรับประทานอาหารค่ำริมแม่น้ำตรงข้ามกับวัดอรุณฯ ตอนที่เราเดินมาถึงลานวัด ผมถามเพื่อนร่วมงานคนไทยว่าทำไมตรงลานวัดถึงว่างเปล่าและพวกเขาตอบอย่างเคร่งขรึมว่าผีจะเดินผ่านวัดตอนกลางคืน “ผีเหรอ ผีแบบไหนกัน” ผมถามด้วยความอยากรู้ว่าผีแบบไหนกันที่จะมาเดินผ่านวัดโพธิ์ แต่ก่อนที่พวกเขาจะตอบคำถามของผม เราก็ได้นั่งรถตุ๊กตุ๊กเพื่อมุ่งไปสู่การผจญภัยครั้งใหม่ของเรา

ลิงค์ข้อมูล:

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ: https://www.museumthailand.com/en/museum/The-National-Gallery-Hor-Silp-Chao-Fa
ที่ตั้ง: https://goo.gl/maps/6GKoQzDs9EGqknue7
ชุมชนกุฏีจีน: https://www.bangkok101.com/kudichin-walk/
พิพิธภัณฑ์บ้านกุฏีจีน: https://www.tour-bangkok-legacies.com/baan-kudichin-museum.html
ที่ตั้ง: https://goo.gl/maps/gftnMwJUpdCoPf2m7
วัดโพธิ์: https://en.wikipedia.org/wiki/Wat_Pho
ที่ตั้ง: https://goo.gl/maps/AKuickanvpwxHVxq5
ตลาดน้อย: https://en.wikipedia.org/wiki/Talat_Noi
ที่ตั้ง: https://goo.gl/maps/bK1BQqBtJcqugci76



David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next