นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

ทำงานเหมือนคุณเป็นเจ้าของ: คำแนะนำของประธานบริษัทเดลต้า ประเทศไทย คนใหม่ สำหรับชีวิตแห่งการผจญภัยและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ พฤษภาคม 12, 2563

บทสัมภาษณ์ของ แจ็คกี้ ชาง ประธานบริหารภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และออสเตรเลีย
บทความโดย เดวิด นากายามะ DET Corporate Communications
ภาพโดย Eakkachai, DET IPS Marketing and DET Archives

สมุทรปราการ ประเทศไทย วันที่ 21 เมษายน 2563 – เป็นเวลากว่าสองทศวรรษที่นายแจ็คกี้ จาง ได้ทำงานให้กับเดลต้าในยุโรป โดยเป็นบุคคลสำคัญที่ได้วางรากฐานของเดลต้าในภูมิภาคยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (EMEA) ในเดือนเมษายนนี้ อดีตประธาน EMEAคนเก่านี้จะได้รับตำแหน่งใหม่เป็นประธานบริหารภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และออสเตรเลีย แม้ว่าเดลต้า ประเทศไทย จะเป็นที่รู้จักในชื่อสวรรค์เขตร้อน แต่ประธานคนใหม่ที่มีความรอบคอบนั้นต้องการเอาชนะอุปสรรคอย่างสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนและวิกฤตโควิด-19

นายแจ็กกี้เป็นคนที่มีอารมณ์ขันแบบที่ไม่เหมือนใคร เขาพูดติดตลกว่าเขาก็ไม่รู้เหมือนกันว่านี่คือความโชคดีหรือโชคร้าย ในขณะที่เรานั่งสัมภาษณ์กันอยู่นั้น แจ็คกี้ได้พาผมเข้าไปในเรื่องราวการเดินทางที่น่าสนใจของเขากับเดลต้าจากเอเชียไปยังยุโรปและกลับมาที่เอเชียอีกครั้ง ได้พูดถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาสในปัจจุบันของเรา และนำเสนอมุมมองส่วนตัวของผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยพลัง

ช่วยเล่าเรื่องการทำงานที่เดลต้า ไต้หวัน ช่วงแรกของคุณในเราฟังหน่อย

ชีวิตของผมก่อนที่จะมาทำงานที่เดลต้านั้นธรรมดามาก ผมเริ่มทำงานกับเดลต้าเมื่อปี 1992 ในตำแหน่งพนักงานขายให้กับโรงงานที่เถาหยวน ผมไม่เคยรู้สึกเบื่อกับการทำงานเลยเพราะผมมักจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ตอนนี้หลายคนอาจคิดว่าที่ทำอยู่มันเป็นแค่งาน แต่ตั้งแต่ที่ผมเริ่มทำงานกับเดลต้า ผมทำงานราวกับว่านี่คือธุรกิจของตัวเอง ผมก็ทำทุกอย่างเพื่อให้บริษัทของเราประสบความสำเร็จ

ตอนทำงานอยู่ที่เถาหยวน หน้าที่ของผมคือขายชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น หม้อแปลง พัดลม DC และ EMI filter ให้กับลูกค้าในยุโรป ผมมักจะเลิกงานช้ากว่าเวลาเลิกงานเพื่อที่จะได้ใช้เวลาเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการในการผลิต การออกแบบผลิตภัณฑ์ การขนส่งในคลังสินค้า วัสดุหรือแม้แต่ชื่อหมายเลขชิ้นส่วน

หลังจากนั้นหนึ่งปี ผมก็ได้ย้ายมาที่สำนักงานใหญ่ไทเป โดยตำแหน่งของผมในตอนนี้คือพนักงานขายในประเทศ เนื่องจากผมสามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ผมจึงได้รับมอบหมายดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศกับลูกค้าที่อยู่ในอเมริกาฝั่งตะวันออก ซึ่งงานนี้ต้องทำในเวลากลางคืนหลังจากทำงานขายขายในประเทศ แทนที่จะทำงานเก้าโมงเช้าแล้วเลิกงานห้าโมงเย็น ผมกลับพบว่าตัวเองทำงานตั้งแต่แปดโมงเช้าจนถึงเที่ยงคืน

เรื่องราวที่น่าสนใจในการเริ่มต้นทำงานในต่างประเทศของคุณคืออะไรในปี 2538 ผมมีโอกาสได้รู้จักประเทศไทยและกรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก ตอนผมนั้นได้รับมอบหมายให้ไปพัฒนาธุรกิจในยุโรปซึ่งฐานอยู่ที่สหราชอาณาจักร เพราะตอนนั้นไม่มีเที่ยวบินตรงจากไต้หวันไปยังสหราชอาณาจักร ผมจึงต้องแวะเปลี่ยนเครื่องที่กรุงเทพฯ และผมก็ได้พบกับดิ๊ก เซีย ดิ๊กเป็นเหมือนพี่ชายและเขายังเป็นคนพาผมไปที่สหราชอาณาจักรเพื่อเริ่มต้นชีวิตการทำงานในยุโรป ระหว่างทางจากลอนดอนกลับมาที่กลาสโกว์ ผมมองออกไปด้านนอกที่มืดและเต็มไปด้วยหิมะของสก็อตแลนด์ ซึ่งผมไม่เคยคิดเลยว่าจะมาใช้ชีวิตหลายปีในยุโรปแห่งนี้

ความตะลึงในวัฒนธรรมแรกเมื่อผมไปถึงสก็อตแลนด์ คือ ผมแปลกใจมากที่ภาษาอังกฤษทั้งหมดที่ผมเคยเรียนตอนมัธยมนั้นมันไร้ประโยชน์ ผมฟังคนที่นั้นพูดไม่เข้าในเลยแม้แต่น้อย ผมจึงลองทุกวิธีเพื่อเรียนรู้อย่างการดูข่าว อ่านหนังสือพิมพ์และการเปิดพจนานุกรม แต่ต้องใช้เวลากว่าสองสัปดาห์ผมถึงสามารถเข้าใจสิ่งที่คนท้องถิ่นพูดกัน สามเดือนต่อมาผมโทรหาลูกค้าเป็นภาษาอังกฤษและแทบจะร้องไห้ในตอนที่ได้ยินภาษาอังกฤษที่ผมสามารถฟังเข้าใจ

คุณจัดการพัฒนาตลาดของเดลต้า อังกฤษได้อย่างไร และคุณเข้ามาดำรงตำแหน่งประธาน EMEA ได้อย่างไร
ที่สกอตแลนด์ไม่มีอะไรมากไปกว่าการทำงานหนัก ผมมีลูกค้าอยู่ทั่วสหราชอาณาจักร ดังนั้น ในวันอาทิตย์ฉันจะขับรถไปทั่วอังกฤษเพื่อหาลูกค้าตลอดทั้งสัปดาห์ บางครั้งผมต้องโทรไปเพื่อขายของเหมือนกับคนขายประกันภัย นี่คือสิ่งที่ผมจะต้องทำก่อนที่จะมีอินเทอร์เน็ตและ Google เข้ามา ดังนั้น ผมต้องดูแผนที่บริเวณที่อยู่ใกล้เขตอุตสาหกรรมและขับรถวนในบริเวณนั้นเพื่อหาลูกค้าที่เป็นไปได้

ผมใช้เวลาประมาณสองปีในการวางรากฐานการขายให้มั่นคง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานภาคสนามคนเดียว ในขณะเดียวกันก็ต้องคอยติดต่อกับฝั่งไต้หวันเพื่อหาผลิตภัณฑ์ใหม่มาโปรโมตในประเทศ ข่าวดีก็คือรายได้ของเราเพิ่มขึ้นมากและผมก็ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นผู้อำนวยการภูมิภาคสำหรับธุรกิจพลังงานตอนที่ผมต้องย้ายจากสำนักงานใหญ่ในอัมสเตอร์ดัม และในปี 2553 ผมได้รับตำแหน่งประธานประจำภูมิภาค EMEA ซึ่งครอบคลุมยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา

ประสบการณ์ใดบ้างจาก EMEA สามารถมาปรับใช้ในการเป็นประธานของเดลต้า ประเทศไทย?

การทำงานในยุโรปได้มอบประสบการณ์เกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจซึ่งแตกต่างจากธุรกิจแบบ OEM / ODM ของเดลต้าโดยสิ้นเชิง ทัศนคติในการทำงานที่ได้รับมอบหมายราวกับเป็นธุรกิจของตัวเองผลักดันให้ผมเลือกสิ่งต่าง ๆ เพื่อจัดการการสร้างแบรนด์ การบริการ การเจาะกลุ่มเป้าหมาย หรือแม้แต่การออกแบบและการผลิตในท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว ในฐานะประธานของภูมิภาค EMEA ผมได้เรียนรู้วิธีใช้ประโยชน์จากการทำงานร่วมกันและทรัพยากร เข้าใจและเคารพในวัฒนธรรม และกระตุ้นให้ทุกคนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงเวลานั้นผมมีโอกาสที่ได้ร่วมมือกับประเทศไทยและอินเดียหลายครั้งด้วยกัน

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมได้เรียนรู้จากภูมิภาค EMEA คือต้องเคารพทางวัฒนธรรมและคอยเรียนรู้อยู่เสมอ ธรรมชาติและวิธีคิดของคนในวัฒนธรรมไทยนั้นไม่ก้าวร้าวเหมือนที่ไต้หวัน ฮ่องกง หรือสิงคโปร์ เมื่อคนไทยเข้าใจ และยอมรับหรือพยายามเข้าใจสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อ จากนั้นพวกเขาจะให้ความร่วมมือกันและทำสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น ตัวอย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้ผมพยายามที่จะปรับปรุงโรงงานและเมื่อพวกเขาเข้าใจว่าทำไมเราถึงต้องทำและสิ่งที่เรากังวลนั้นคืออะไร จากนั้นพวกเขาก็ช่วยกันเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงให้ดีขึ้นและออกมาดีกว่าที่ผมคิดไว้ในตอนแรกด้วยซ้ำ

ในขณะที่เราร่วมมือกันเพื่อเอาชนะวิกฤติโควิค-19 คุณคิดว่าอะไรเกิดขึ้นกับเดลต้า ประเทศไทยในวันข้างหน้าในแง่ของผลกระทบเชิงบวกและโอกาสทางธุรกิจ?

ในภาษาจีนมีคำหนึ่งที่เรียกสถานการณ์วิกฤติแบบนี้คือคำว่า危機 (Wéijī) ซึ่ง危(Wéi) หมายถึง “ความเสี่ยง” และ機 (Jī) หมายถึง “โอกาส” ความเสี่ยงนั้นเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้เหมือนกับโควิด-19 แต่เราต้องทำให้แน่ใจว่าเราเตรียมการเป็นอย่างดีในการป้องกันการติดเชื้อภายในโรงงาน ผมคิดว่าทุกคนสามารถสัมผัสได้ถึงความใส่ใจของบริษัทที่มีให้กับพนักงานของเราและเราจะทำทุกอย่างเพื่อปกป้องทุกคน

ที่จริงแล้วในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากความต้องการของตลาดที่ลดลงโดยเฉพาะในยุโรปและสหรัฐอเมริกาคือความเสี่ยงที่น่าเป็นห่วงมากกว่า ผู้คนเริ่มลดค่าใช้จ่ายเนื่องจากโควิด-19 และทุกคนต่างกังวลเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต นั่นเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มหดตัวลงอย่างมาก อย่างไรก็ตามเราจะต้องผ่านอุปสรรคเหล่านี้ไปให้ได้

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตอนนี้ทุกคนทำงานจากที่บ้านหรืออยู่บ้านกันมากขึ้น ดังนั้น เราทุกคนต่างต้องการอินเทอร์เน็ตแบนด์วิดท์และพื้นที่จัดเก็บ จึงทำให้ดาต้า เซ็นเตอร์มีความสำคัญและเป็นเป้าหมายในการขยายตัวที่สำคัญของทุกประเทศ นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ระบบ Telecom Power และโรงงาน UPS ของเราใน Rudrapur เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับรัฐบาลอินเดียที่จะเปิดอีกครั้ง

ในขณะเดียวกัน สงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนยังให้โอกาสในการแปลงศูนย์การผลิตจากจีนไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน นอกจากนี้เรายังมีโอกาสที่จะขยายขอบเขตภูมิภาคของเราตลาดใหม่ในเวียดนาม เพื่อเจาะตลาดอินโดจีนและช่วยให้เราดำเนินงานต่อไปได้แม้อยู่ในช่วงวิกฤต

ใครคือบุคคลที่น่าจดจำที่สุดสำหรับคุณที่เดลต้า และทำไม

คนแรกที่ผมนึกถึงก็คือบรูซ เจิ้ง ผู้ก่อตั้งและประธานของเรา ผมต้องบอกเลยว่าเขามีอิทธิพลต่อเดลต้าเป็นอย่างมาก เขาเป็นผู้มีวิสัยทัศน์และใส่ใจสิ่งต่าง ๆ มากมาย เช่น การปกป้องสิ่งแวดล้อม สำหรับผมเขาเป็นเหมือนพ่อของครอบครัวเดลต้า ซึ่งเป็นทั้งผู้นำและคอยชี้นำเราให้เดินไปข้างหน้า

อะไรคือบทเรียนที่ไม่คาดคิดที่คุณได้เรียนรู้ในการเติบโตขึ้นเป็นผู้นำ

ผู้จัดการที่มากประสบการณ์ส่วนใหญ่ได้ผ่านการทำงานและความสำเร็จมามากมาย แต่โดยทั่วไปแล้วการสื่อสารใช้เวลาเป็นจำนวนมาก ทุกวันนี้หากผมไม่ได้เป็นประธานการประชุม ผมมักชอบที่จะเป็นผู้ฟัง ผู้ฟังที่ดีนั้นสามารถรับข้อมูลเพิ่มเติมและสังเกตภาษากายของผู้พูดได้ดี นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าคุณให้ความสนใจและมีความเคารพต่ออีกฝ่าย

บางครั้งผมจะใช้การถือปากกาเพื่อเตือนตัวเองว่าเวลานี้ไม่สมควรพูด เพราะเมื่อคุณมีประสบการณ์มากมายมันง่ายมากที่จะคิดว่า “โอ้ ฉันรู้แล้วว่าคนนี้เขากำลังพูดถึงอะไร” แต่นั่นไม่ดีเลย เราจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะอดทนและรอให้ผู้อื่นพูดให้เสร็จก่อน เพราะถ้าคุณคอยขัดจังหวะพวกเขาตลอด พวกเขาจะรู้สึกว่าไม่พูดดีกว่า

ตอนที่ผมได้มาทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งแรก ผมตั้งใจที่จะดำเนินการทุกอย่างให้เสร็จอย่างรวดเร็ว แต่ดิ๊กบอกกับผมว่า “คุณกำลังเดินไปข้างหน้าเร็วเกินไปนะแจ็คกี้” ผมเก็บเอาคำพูดของเขาไปคิดและผมก็ได้เข้าใจว่าทำไมเขาถึงพูดแบบนี้ ผมจึงปรับตัวเองให้คิดให้มากขึ้นก่อนที่จะลงมือทำ

วัฒนธรรมของเนเธอร์แลนด์นั้นตรงไปตรงมาเป็นอย่างมาก นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า “Let’s go Dutch” จากมุมมองทางธุรกิจการตรงไปตรงมาไม่ใช่เรื่องแย่ มันกลับมอบแนวทางที่ชัดเจนและเปิดกว้างในกับเราด้วยซ้ำ อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมในเอเชียนั้นไม่ได้ตรงไปตรงมาเหมือนอย่างของเนเธอร์แลนด์ ดังนั้น ผมจำเป็นต้องสื่อสารเพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจตรงกันกับสิ่งที่ผมจะสื่อมากขึ้นก่อนที่จะลงมือทำ

คุณมีอะไรจะแชร์แบ่งปันต่อเพื่อน ๆ ชาวเดลต้าทั่วโลกไหม

ผมอยากบอกทุกคนว่า ให้ทำงานราวกับว่านี่เป็นธุรกิจของคุณเองและต้องมีการพัฒนาตนอยู่เสมอ! ในสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หากคุณไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงอยู่เสมอแสดงว่าคุณนั้นล้าสมัยแล้ว โลโก้เดลต้านั้นเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ให้ลืมอุปสรรคทางด้านประวัติศาสตร์ของเราและมาทำการพัฒนาร่วมกัน เพราะฉะนั้น ไม่ต้องแปลกใจเลยถ้าผมจะมองหาจุดบกพร่องแล้วขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next