โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ มีนาคม 27, 2566
วันที่ 8 มีนาคมถือว่าเป็นวันสตรีสากล (IWD) ที่เดลต้า ประเทศไทย สำหรับธีมวันสตรีสากลประจำปี2566 คือ #EmbraceEquity แต่จริงๆแล้วความเสมอภาคคืออะไร? และเหตุใดจึงเป็นส่วนสำคัญของ ความหลากหลาย ความเสมอภาค และการมีส่วนร่วม (DEI) ซึ่งเรามุ่งมั่นที่จะบรรลุผลให้สำเร็จที่ Delta?
ความเสมอภาคหมายถึงความยุติธรรมโดยตระหนักว่าเราทุกคนไม่ได้เริ่มต้นจากที่เดียวกันและต้องปรับเปลี่ยนความไม่สมดุลเพื่อช่วยให้แต่ละคนประสบความสำเร็จ สิ่งนี้แตกต่างจากความเท่าเทียมที่ให้สิ่งเดียวกันแก่ทุกคนโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างและความต้องการส่วนบุคคล
เนื่องในวันสตรีสากล ประจำปี 2566 สำหรับคอลัมน์ DET Voices เรามาฟังความคิดของพนักงานเดลต้าประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้หญิงจำนวน 6 คนที่ยอมรับความเสมอภาคและมุ่งมั่นเพื่อโลกที่ผู้หญิงทุกคนจะสามารถประสบความสำเร็จได้ ต่อไปนี้คือคำถามที่พวกเขาใช้ตอบ:
1.Pranorm Panyakong
สวัสดีค่ะ ชื่อ PRANORM PANYAKONG มาจากแผนก NPI ค่ะ
จะเพศไหนก็คือว่า ทำงานได้เหมือนกันหมด ไม่แบ่งเพศกันว่าเป็นเพศไหน ทุกเพศก็คือเท่าเทียมกันหมด ไม่เลือกเพศ ก็คือว่าอยากให้เค้ามีงานทำเหมือนกับเรา เป็นเพื่อนร่วมงานด้วยกันอะไรประมาณนี้
ไม่ว่าเพศไหนก็คือเท่าเทียมกันหมด แล้วก็เป็นเพื่อนร่วมโลก ก็คือไม่แบ่งชนชั้น วรรณะกัน ยอมรับได้ค่ะ เค้าจะเป็นใครก็ช่าง เรายอมรับได้หมดค่ะ
2.Atchariyaporn Wannasut
สวัสดีจ๊ะ นางสาวอัจฉริยาพร มาจาก NPIBU เพราะว่าไม่ความคิดส่วนตัว เพศสภาพไม่ใช่ตัวกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างในการใช้ชีวิตบนสังคม ความคิด จิตใจ และการกระทำต่างหาก ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ความเป็นคนในตัวเรา
เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นเพศไหนๆ ก็สามารถแสดงศักยภาพที่ดีได้เหมือนกัน ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ในเพศสภาพใดแบบไหน ก็สมควรได้รับโอกาส และความเท่าเทียมในทุกๆ ด้านจากสังคม โดยไม่มีข้อแม้หรือข้อยกเว้นใดๆ เหมือนกัน
เบื้องต้นก็ต้องยอมรับในสิ่งที่ตัวเองเป็น และก็ยอมรับในสิ่งที่คนอื่นเค้าเป็น และก็แสดงศักยภาพที่เรามี ให้คนอื่นเค้าเห็นและยอมรับในตัวเรา และก็สิ่งที่เราเป็น ในความสามารถที่เรามี
ทุกวันนี้โลกเรามันก็เปิดกว้าง เปิดกว้างมากๆ เลย กับความหลากหลายทางเพศ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องใหม่เนอะ ในสังคมไทย ก็ไม่น่าจะใช่ปัญหา ในการที่เราจะยอมรับในส่วนนี้
ก็ทุกคนก็ต่างคน ต่างทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุดเนอะ ทำงานร่วมกัน ใช้ชีวิตร่วมกัน ในสังคมอย่างไม่มีข้อแม้ อันนี้ก็ ก้าวไปสู่ความสำเร็จร่วมกัน มีเป้าหมายเดียวกันก็น่าจะโอเค
3.Janphen Makkhawichit
สวัสดีค่ะ ชื่อจันทร์เพ็ญนะคะ มาจาก PSBC1 เพราะว่าทุกคนมีความเป็นคนเท่าเทียมกันและมีสิทธิหน้าที่เท่าเทียมกัน เพื่อไม่ให้เกิดความแตกต่าง เกิดความขัดแย้ง เกิดความรุนแรง และทุกคนเสมอภาคซึ่งกันและกัน เพื่อให้สังคมนี้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
ไม่ได้ให้เกิดความขัดแย้งกัน อันดับแรก เราต้องเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็น ยอมรับความแตกต่างของเพศสภาพของแต่ละเพศ เข้าใจความเป็นธรรมชาติของแต่ละเพศ เข้าใจ รับฟัง และก็ยอมรับ
ก็คือ....อันดับแรกก็คือ เรา อันดับแรกในแต่ละแผนก ในเดลต้ามันจะมีพนักงานหลายระดับเนอะ และก็มีหลายเพศสภาพที่อยู่ในเดลต้า ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเพศที่สาม ซึ่งเรามองว่าทุกคน มีสิทธิ์ และความเป็นคนเท่ากัน รับฟังความคิดเห็นของแต่ละคน รับฟังข้อเสนอแนะ ของแต่ละคน แต่ละอันนี่ ไม่กีดกันทางความคิด ไม่ไป Anti (หรือ)ไป Bully ของแต่ละเพศสภาพ
และก็รับฟัง และนำทุกอย่างไปปรับปรุง เพื่อให้มันดีขึ้น และก็ให้อยู่ด้วยกัน ทำงานด้วยกันอย่างมีความสุข ไม่ให้เกิดความขัดแย้งค่ะ
4.Phetcharat Kamolman
สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อ Phetcharat Kamolman ก็ ทุกวันนี้ไม่ว่าเพศใด หรือบุคคลใดก็แล้วแต่ สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้ มีความคิดที่แตกต่างกัน แต่ก็ช่วยกันออกความคิดเห็นได้ ไม่ว่าเพศหญิง เพศชาย หรือบุคคล(เพศสภาพ)ที่สาม ก็สามารถทำงานร่วมกันได้ เพราะว่าทุกวันนี้ เพศที่สาม เป็นที่ไม่ค่อยได้(ถูก)ยอมรับซักเท่าไหร่ เพราะว่ามันไม่ใช่แบบ
ต้องเป็นเพศหญิง เพศชายที่ว่าต้องทำงานได้ เพศที่สามก็ทำงานได้เช่นกัน อาจจะมีความรับผิดชอบที่ว่า แตกต่างกันนิดนึง ความคิดเห็นจะแตกต่างกัน แต่ความใส่ใจก็เท่าเทียมกัน
ก็อยากให้เปิดใจรับ เพราะว่า เพศที่สามนี่ เป็นเพศที่ว่า คือจิตใจอ่อนแอ มีความกดดันสูง ในการใช้ชีวิตข้างนอก ถ้าทุกคนเปิดใจยอมรับ ให้ความเข้าใจ ก็สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้
อยากให้มีกิจกรรมร่วมกัน แบบสนับสนุนทางเพศที่สาม ให้ความช่วยเหลือ หรือแบ่งปันทางความคิดซึ่งกันและกัน เพื่อที่จะอยู่ร่วมกันได้ เปิดใจรับบุคคลเพศที่สาม เค้าสามารถทำงานได้ เค้ามีความรับผิดชอบสูง เค้าอาจจะมีความคิดที่แตกต่าง แต่เค้าก็ สามารถใช้ชีวิตกับบุคคลทั่วไปได้ปกติ
5.Sarai Soeprom
ชื่อ สาหร่าย โสภณค่ะ มาจาก Plant NMNBU ค่ะ QA ค่ะ ก็คืออยากให้ทุกคนน่ะค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย เพศหญิง หรือเพศที่สาม มีโอกาสเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความรู้ ความสามารถ และตำแหน่งหน้าที่ในการทำงานค่ะ
เพื่อให้ทุกคนน่ะค่ะ มีโอกาสที่จะแสดงความรู้ความสามารถ ไม่ว่าตัวเองจะเป็นเพศไหน โดยเฉพาะเพศที่สามน่ะค่ะ ก็คืออยากให้สังคมเปิดโอกาสให้เขา มีโอกาสในการแสดงความสามารถ เน้นในส่วนของการ เปิดโอกาสทางด้านการใช้แรงงาน สมัครงาน ตำแหน่งงานใหญ่ๆ โตๆ อ่ะค่ะ ไม่อยากให้มองว่าเพศของเขามีอุปสรรค หรือมองว่าอคติกับกลุ่มพวกนี้อ่ะค่ะ
ก็คือในตำแหน่งนี้สาหร่ายเป็นหัวหน้า มีโอกาสที่จะคัดสรรเลือกน้อง QC มาร่วมปฏิบัติงาน ก็จะไม่ได้เลือกว่าเป็นเพศชาย เพศหญิง หรือเพศที่สาม แต่เราเปิดโอกาสโดยการ มองที่ความรู้ ความสามารถ ลักษณะนิสัย ที่จะสามารถมาร่วมงานกับองค์กรของเราได้มากกว่าที่จะมองว่าคุณเป็นเพศไหน
ก็ต้องยอมรับว่าเดลต้าเป็นองค์กรใหญ่ ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกเพศ รวมถึงเพศที่สาม ก็คือจำนวนมากด้วย ในการร่วมกับองค์กร ในการร่วมกันทำงาน และก็ในส่วนของที่ ที่สาหร่ายอยู่ก็คือ มีทุกเพศ ทุกประเภทที่ร่วมกันทำงาน เรามองถึงความสามารถของเขามากกว่า คือเราต้องยอมรับว่า เราไม่มีอคติของเพศบุคคลใดๆ ค่ะ ให้มองที่ความสามารถ และ ลักษณะนิสัยที่ร่วมกันได้มากกว่าค่ะ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ และก็โตยิ่งๆขึ้นไปค่ะ
6.Sirinapha Kanha
ศิรินภา กัณหาค่ะ มาจาก SMT Production เพราะว่าทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน เชื้อชาติใดหรือศาสนาใดนะคะ ไม่ต้องไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นกับเพศชาย เพศหญิง หรือว่า LGBTQ+ อย่างเรื่องที่เราเห็นได้ทั่วไปก็คือ
อยากเรื่องผ้าอนามัยของผู้หญิงนะคะ คือผู้หญิงเราน่ะเลือกไม่ได้ ว่าเราจะมีประจำเดือน หรือไม่มีประจำเดือน เพราะว่าประจำเดือนมันจะมาพร้อมกับผู้หญิงอยู่แล้ว หนูว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากเลยค่ะ อยากให้เห็นความสำคัญของตรงนี้ และก็ควรมี ผ้าอนามัยฟรีสำหรับผู้หญิงค่ะ
คือทุกคนที่เกิดมาบนโลกนี้น่ะค่ะ มีความเป็นคนเหมือนกันหมดค่ะ เราควรได้รับการปฏิบัติและก็ได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน
ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่เห็นได้ทั่วไปก็คือ เวลาเราไปสมัครงานในหลายๆที่ หรือไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งไหนค่ะ จะมีบางตำแหน่งที่ระบุว่ารับเฉพาะผู้ชาย หรือว่ารับเฉพาะผู้หญิง หนูว่าตรงนี้มันเป็นเหมือนการตัดสินไปแล้วว่า เพศนี้ทำได้เฉพาะแบบนี้นะ
หรือว่างานประเภทนี้ เหมาะกับเพศนี้เท่านั้นนะ หนูว่าไม่ว่าจะเป็นเพศไหนอ่ะ เราก็ทำได้ทุกอย่างเหมือนกันอ่ะค่ะ เพราะว่าเราทุกคนเท่าเทียมกันค่ะ
เราต้องเปิดใจรับฟังกันค่ะ ปฏิบัติและก็ให้โอกาสในทุกๆคนเหมือนกัน มันจะมีเหตุการณ์นึงของหนูน่ะค่ะ คือหนูอยากขี่รถมอเตอร์ไซค์กลับบ้าน เพราะเห็นเพื่อนผู้ชายขี่กลับ แต่บอกทางบ้านไปอ่ะ คนทางบ้านน่ะไม่เห็นด้วย พ่อบอกเราเป็นผู้หญิง
เราจะมาขี่กลับได้ไง มันอันตราย เราจะอยากไปทำอย่างผู้ชายได้ยังไง หนูก็เลยมีความคิดว่า ทำไมถึงขี่กลับไม่ได้ ทำไมถึงทำแบบนั้นไม่ได้ เพราะว่าหนูก็อายุเท่าเค้า ทำทุกอย่างได้เหมือนกับเค้านั่นแหละ แต่หนูก็เข้าใจนะคะว่า มันคือความเป็นห่วงของเค้า ที่แบบไม่อยากให้เราเกิดอุบัติเหตุหรืออะไร แต่นั่นแหละค่ะ ทุกคนก็มีสิทธิ์ที่จะทำอะไรได้เหมือนกัน
หนูเลยอยากจะสนับสนุนให้ ไม่ว่าจะเป็นเพศไหน หรือใคร ให้ออกมาทำตามสิ่งที่เราต้องการ สิ่งที่เราอยากทำ ตราบใดที่มันไม่เดือดร้อนตัวเราเอง หรือไม่เดือดร้อนผู้อื่นค่ะ
อย่างเดลต้าเราเนี่ยมีความหลากหลายทางเพศมากๆเลยค่ะ มีทั้งพนักงานที่เป็นผู้หญิง ผู้ชาย หรือว่าจะเป็น LGBTQ+ คือง่ายๆเลยค่ะ เราก็แค่ไม่ต่อต้าน และก็เปิดใจกับทุกๆคน เพราะว่าเราทุกคนมีความเท่าเทียมกันค่ะ แค่นี้เราก็จะสามารถร่วมยินดีในความสำเร็จร่วมกันกับคนอื่นๆได้ค่ะ