นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

การมีส่วนร่วมและการสร้างโอกาสในอาชีพ: ผู้จัดการทั่วไปของเดลต้า สิงคโปร์ แบ่งปันเคล็ดลับสู่ความสำเร็จของเดลต้าและ Innergie

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ กันยายน 10, 2566

ภาพโดย นาย PS Tang

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 30 สิงหาคม 2566 – เมื่อไม่นานมานี้เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ได้ประกาศความมุ่งมั่นของเราที่จะพัฒนาไปสู่แบรนด์อุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ แต่นอกเหนือจากประกาศจากองค์กรแล้ว มันหมายความว่าอย่างไร และจะเปลี่ยนจากซัพพลายเออร์ OEM ที่ไร้หน้าตาไปสู่คู่แข่งในตลาดที่เป็นที่รู้จักได้อย่างไร วันนี้เรามีโอกาสได้มาเรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกด้านการสร้างแบรนด์และการตลาดอันทรงคุณค่าจากผู้ก่อตั้ง Innergie แบรนด์ที่ชาร์จมือถือสำหรับผู้บริโภคของเดลต้า!

เมื่อไม่นานมานี้ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับนาย PS Tang ผู้จัดการทั่วไปของเดลต้า สิงคโปร์ และผู้ก่อตั้ง Innergie ผ่าน Teams ซึ่งเขาได้แบ่งปันเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับจุดสูงสุดและต่ำสุดของอาชีพการเป็นผู้ประกอบการและความเป็นผู้นำที่ตู้องดูแลทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน เขายังได้เล่าถึงการเดินทางที่น่าตื่นเต้นของเขาตั้งแต่การเริ่มต้นธุรกิจไปจนถึงการเสนอ Innergie ให้กับเดลต้า และสร้างแบรนด์ในตลาดที่ยังไม่มีใครเคยทำ นอกจากนี้ เขายังได้แบ่งปันถึงวิธีที่เขาเพิ่มมูลค่าอย่างต่อเนื่องในปัจจุบันโดยทีมงานชั้นนำของเดลต้า สิงคโปร์

ขอแสดงความยินดีที่ในปีนี้คุณได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทั่วไปของเดลต้า สิงคโปร์ คุณช่วยแบ่งปันเกี่ยวกับภูมิหลังและเส้นทางอาชีพของคุณได้หรือไม่?

Image: Presenting a smart passport scanning machine to former Malaysian PM Dr. Mahathir (center) in 1995

ผมสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกุง (NCKU) ในไต้หวัน สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากนั้น ผมก็กลับมาทำงานที่บริษัท Siemens ในสิงคโปร์ ในตำแหน่งวิศวกรเครื่องกล ก่อนที่จะเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองในฐานะที่ปรึกษาด้านการออกแบบ

ผมได้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบเล็ก ๆ ร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ และเราได้เริ่มออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทต่าง ๆ เช่น HP, Motorola, Whirlpool และ Thompson สมัยที่พวกเขายังผลิตทีวี เราเริ่มต้นจากบริษัทออกแบบ และจากนั้นเริ่มให้บริการเต็มรูปแบบตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการผลิต ซึ่งเป็นบริษัทแรก ๆ ที่ทำในภูมิภาคนี้ ในช่วงเวลานี้เราทำเงินได้มากมายและจดทะเบียนบริษัทในไต้หวัน

หนึ่งในโปรเจคที่มีชื่อเสียงที่สุดของเราคือโทรศัพท์มือถือที่เล็กที่สุดของ Motorola ในยุค 90 มันเป็นโทรศัพท์ฝาพับขนาดเล็กมากที่มีสัญลักษณ์ตัว V อยู่บนเครื่องซึ่งจะกะพริบเป็นสีต่าง ๆ เมื่อคุณได้รับสายเรียกเข้าจากหมายเลขที่ต่างกัน เช่น ถ้าสีเหลืองกระพริบแสดงว่าภรรยาของคุณโทรเข้ามา และหากเป็นสีแดงแสดงว่าแฟนของคุณโทรเข้ามา ซึ่งขณะนั้นโทรศัพท์รุ่นนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในเอเชีย

เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เราเป็นกลุ่มนักออกแบบรุ่นใหม่ที่ไม่รู้วิธีบริหารจัดการบริษัทที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และสุดท้ายเราก็ต่างมีแนวทางเป็นของตัวเอง ตอนนั้นผมรู้สึกหงุดหงิดที่บริษัทของตัวเองที่สร้างมา 10 ปี ผลลัพธ์กลับออกมาไม่ดีนัก ผมตัดสินใจที่จะหยุดทำงานไป 2 ปี และหลังจากการหยุดพัก ผมก็ตื่นขึ้นมาและเริ่มต้นอาชีพใหม่อีกครั้ง

คุณเข้ามาทำงานกับเดลต้าได้อย่างไร และช่วงแรกของการทำงานเป็นอย่างไรบ้าง?

ในปี 2549 มีคนแนะนำให้ผมรู้จักกับเดลต้า ประเทศไทย ซึ่งตอนนั้นนาย Henry Hsieh ดำรงตำแหน่งประธานต่อจากนาย James Ng และผู้ผลิตและ BG จำนวนมากได้ย้ายไปที่ประเทศจีน การดำเนินงานของเดลต้า ประเทศไทย หดตัวลง แรงใจในการทำงานจึงไม่ดีนัก และพวกเขากำลังมองหาธุรกิจใหม่เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา

ระหว่างที่เข้าสัมภาษณ์กับ Henry เขาถามว่าผมทำอะไรได้บ้าง ตอนนั้นผมคิดอยู่นานเกี่ยวกับแผนในอนาคตของตัวเองและความผิดพลาดในอดีตเพื่อที่จะเริ่มต้นอาชีพใหม่อีกครั้ง จากนั้น ผมก็ได้ตอบ Henry ไปว่าพาวเวอร์ซัพพลายของเดลต้าเป็นอันดับหนึ่งของโลก โดยมีการผลิตและการออกแบบระดับโลก และผมเชื่อว่าในอนาคตจะมีผลิตภัณฑ์ด้านพลังงานจำนวนมากในตลาดผู้บริโภค

เนื่องจากผมมีประสบการณ์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์และความรู้ในการทำการตลาดผลิตภัณฑ์ ผมจึงแนะนำให้เราใช้ R&D ของเดลต้าและทรัพยากรการผลิตเพื่อสร้างแบรนด์ที่มีพลังของผู้บริโภค แล้วเขาก็พูดว่า “เอาล่ะ มาเริ่มงานกันเลย!”

คนที่เดลต้าจำนวนมากรู้จักคุณจากการก่อตั้งแบรนด์ที่ชาร์จมือถือ Innergie ของเดลต้า คุณช่วยแบ่งปันประสบการณ์ของคุณในการพัฒนาและทำการตลาดผลิตภัณฑ์ Innergie ทั่วโลกได้หรือไม่?


Image: The Motorola V8088 released in 2000 was the smallest and lighted flip phone at the time with the caller-identifying system developed by PS Tang’s company

ตอนที่ผมเข้าทำงาน รายได้กว่า 90% ของเรามาจากธุรกิจ ODM และสำนักงานบริหารแบรนด์เดลต้า (BMO) ที่เพิ่งเริ่มต้นในปี 2553 ดังนั้น เราจึงค่อนข้างล้ำหน้าที่ DET ในการเริ่มต้นแบรนด์ผู้บริโภค ย้อนกลับไปในปี 2549 ผมบอก Henry ว่าจะต้องมีอุปกรณ์พกพาในตลาดที่ต้องการพลังงานมากขึ้นเรื่อย ๆ และเราจะต้องมีอะแดปเตอร์แปลงไฟที่ดีกว่า Henry เป็นคนมีวิสัยทัศน์และเขาคิดว่ามันเป็นความคิดที่ดี จากนั้น ผมก็เลยเดินหน้าต่อไป

พูดตามตรง ผมไม่มีแผนที่ชัดเจน 100% แต่ในระยะยาว ผมเข้าใจว่ายังมีผลิตภัณฑ์เฉพาะกลุ่มเพื่อรองรับแล็ปท็อป โทรศัพท์ และกล้องที่ใช้พลังงานสูงพร้อมแบตเตอรี่สำหรับชาร์จ ผู้คนจำเป็นต้องสื่อสารในขณะเคลื่อนที่หรือเดินทางเพื่อทำธุรกิจและพักผ่อน และในขณะนั้นไม่มีที่ชาร์จจำหน่ายแยกต่างหาก เพราะอุปกรณ์ทั้งหมดมาพร้อมที่ชาร์จในตัว สมัยนั้นขั้วต่ออุปกรณ์และมาตรฐานพลังงานทั้งหมดแตกต่างกัน ไม่มีที่ชาร์จสำหรับทุกสิ่ง ผมจึงตระหนักได้ว่าเราต้องสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถชาร์จทุกอย่างได้

ก้าวสำคัญประการแรกคือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เราเรียกว่าเครื่องชาร์จ “All-in-One” และตอนนี้กลายเป็นเครื่องชาร์จ Innergie “One-for-All” ผมต้องรับสมัครวิศวกรด้าน R&D เพื่อเข้าร่วมทีม Innergie ในช่วงพักเที่ยง ผมจะลงไปคุยกับคนที่โรงอาหารและฝ่ายวิจัยและพัฒนา และพยายามดึงพวกเขามาร่วมทีม ผมได้พูดคุยกับผู้จัดการโรงงานหลาย ๆ คน แต่ไม่มีใครอยากพัฒนาการผลิตให้ผมเลย สุดท้ายวิชัยก็เข้ามาช่วยผมในส่วนเล็ก ๆ จากนั้นปิติสุขก็เข้ามาเป็นหัวหน้าฝ่ายผลิตให้กับผม

ผมต้องเริ่มต้นจากศูนย์โดยไม่มีอะไรเลย แม้แต่ชื่อแบรนด์ คุณลองจินตนาการดูว่าเมื่อ 17 ปีที่แล้วเราไม่รู้ว่าโซลูชั่นพลังงานสำหรับผู้บริโภคคืออะไร ไม่มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ในตลาด แต่ทุกวันนี้ใคร ๆ ก็รู้จัก เพราะเรามีโน้ตบุ๊กและสมาร์ทโฟนมากมาย แทนที่จะเป็นโทรศัพท์มือถือแบบปุ่มกดเก่า ๆ เหมือนในอดีต ในตลาดเมื่อก่อนไม่มีเครื่องชาร์จ USB type C หรือแม้แต่พาวเวอร์แบงค์ก็ตาม

Innergie เป็นหนึ่งในแบรนด์ผู้บริโภคไม่กี่แบรนด์ของเดลต้า คุณจะใช้ประโยชน์จากประสบการณ์การเป็นผู้ประกอบการและการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ธุรกิจที่ไม่ใช่ OEM ได้อย่างไร?

บอกตามตรงว่าเลยว่า การเริ่มต้นธุรกิจเชิงพาณิชย์ที่ไม่ใช่ OEM ในโรงงานเป็นเรื่องยากมาก ทุก ๆ วัน ผมคิดจะลาออกเพราะเคยเปิดบริษัทและมีอิสระมากในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตัวเอง แต่พอมาร่วมงานกับบริษัท OEM เพื่อสร้างแบรนด์ B2C ทุกอย่างที่อยากทำก็แบบว่า “โอ้ย ทำไม่ได้หรอก” จากนั้นผมก็คิดว่า ถ้าตัวเองไม่มีประสบการณ์ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้า ทำไมเดลต้าถึงจ้างงานด้วยล่ะ เพราะฉนั้นลงมือทำเลยและอย่าบ่น! ผมตัดสินใจว่าจะทำมันให้สำเร็จไม่วิธีใดก็วิธีหนึ่ง และให้ BG ของไต้หวันมาช่วยเรา

ผมต้องการสร้างแบรนด์ที่เชื่อมโยงกับทุกคนและควรแสดงให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์ การเลือกชื่อแบรนด์ใช้เวลาตัดสินใจทั้งสิ้นสองปีและใช้เวลากว่าหนึ่งปีเพื่อค้นหาภาพลักษณ์และความรู้สึกของ Innergie ผมเลือกให้พื้นหลังสีฟ้าและสีขาวของเดลต้า ดังนั้น จึงง่ายต่อการรวมเข้ากับแบรนด์เดลต้าในอนาคต ในส่วนของชื่อ ผมพบว่าการตั้งชื่อที่ใหม่และง่ายต่อการจดจำนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก แต่คืนหนึ่งตอนที่ผมกึ่งหลับกึ่งตื่น จู่ ๆ ชื่อนี้ก็แล่นเข้ามาให้หัวผม ผมจึงตื่นขึ้นมาและจดบันทึกไว้ ผมคิดว่าตัวเองยังเก็บกระดาษแผ่นนั้นไว้ที่ไหนสักแห่งในบ้าน

ความหมายของ Innergie คือ นวัตกรรมและพลังงาน ความหมายอีกอย่างที่ผมชอบคือพลังงานหรือกำลัง “ภายใน” การสะกดคำว่าพลังงานในภาษาเยอรมันคือ “Energie” เพราะการสะกดภาษาอังกฤษจะทำให้เป็น “Innergy” โดยมีตัวอักษรยาวสองตัวต่อท้ายซึ่งดูไม่สมดุลหรือสวยงาม ในที่สุด เราต้องการชื่อที่ดูเท่ ดังนั้น เราจึงใช้โทนสีน้ำเงินและสีเทาในตัวอักษรจนกระทั่งเมื่อห้าหรือหกปีที่แล้วในตอนที่เราเปลี่ยนชื่อแบรนด์ใหม่

ความสำเร็จของ Innergie ในช่วงแรกๆ มีอะไรบ้าง และคุณได้พัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์และรูปแบบธุรกิจอย่างไร?

Image: Presenting Innergie to Delta Founder and Chairman Bruce Chang at Computex

ในปี 2551 เราได้จัดแสดงผลิตภัณฑ์ Innergie ในงาน CES ที่สหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัล CES Design Innovation Award สำหรับที่ชาร์จ “All-in-One” ของเรา หลังจากที่เราคาดการณ์ในปี 2551 ซึ่งเป็นปีที่ค่อนข้างยากลำบากว่าในอนาคตจะกลายเป็นที่ชาร์จแบบมาตรฐาน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคจะนำแนวโน้มในการลดขยะอิเล็กทรอนิกส์และสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ “สีเขียว” ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เราคาดการณ์ว่าที่ชาร์จพลังงานจะกลายเป็นอุปกรณ์เสริมและไม่ต้องแถมมาพร้อมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างที่ Iphone ได้เริ่มทำ

การตลาดสำหรับแบรนด์ของเรามีการเติบโตเป็นอย่างมากพร้อมกับการเพิ่มขึ้นของส่วนบริการสำหรับที่ชาร์จหลังการขาย และนี่คือ milestone สำคัญถัดไปสำหรับเรา เราได้ตั้งโชว์ผลิตภัณฑ์ของเราที่คิง เพาเวอร์ จากนั้นก็ไปแล้วจึงไปตั้งโชว์ที่สนามบินชางงี ด้วยยอดขายที่สนามบินที่ใหญ่ที่สุดสองแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราสามารถสร้างชื่อเสียงและขยายการจัดจำหน่ายไปยังสนามบินในประเทศเนเธอร์แลนด์และที่อื่น ๆ ในยุโรป

นอกจากนี้ เรายังได้ขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ของเราและสร้างรุ่นใหม่ ๆ ที่มีกำลังที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงที่ชาร์จในรถยนต์ นั่นคือวิธีที่เราขยายธุรกิจของเรา รูปแบบธุรกิจของเราคือ B2B+C ดังนั้น เราจึงขายให้กับผู้จัดจำหน่ายและทำงานร่วมกับผู้ค้าปลีกเพื่อจัดแสดงและส่งเสริมการขาย เรายังจำหน่ายบนเว็บไซต์ Innergie ของเราอีกด้วย แต่ตอนนี้เรายังไม่มีหน้าร้าน

เหตุใดคุณจึงเลือกความท้าทายในการเป็นผู้นำของเดลต้า สิงคโปร์ และคุณเปลี่ยนจากการเป็นผู้นำ Innergie ไปสู่การบริหารสำนักงานในประเทศได้อย่างไร?

ในปี 2556 เรามีการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ที่เดลต้าและ Innergie ให้อยู่ภายใต้ PSBG ปัจจุบันทีมงานด้านการตลาดและการขายของ Innergie มีเพียง 20 คนใน และการวิจัยและพัฒนาและการผลิตทั้งหมดดำเนินการโดย PSBG ในเวลานั้น ผมได้ออกจากเดลต้า เพราะผมไม่ต้องการย้ายไปทำงานที่ไต้หวัน แต่ก็ตลกดีที่ผมต้องย้ายไปทำงานที่ไต้หวันกับบริษัทอื่นในปี 2557 และผมก็กลับมาร่วมงานกับเดลต้าอีกครั้งเพื่อเป็นผู้นำ Innergie ในปี 2561
ในช่วงห้าปีตั้งแต่ออกจากเดลต้า ผลิตภัณฑ์และชื่อเสียงของแบรนด์ Innergie หายไปจำนวนมาก ดังนั้น ผมจึงเริ่มรีแบรนด์ ตอนนี้สถานการณ์ทั้งหมดเปลี่ยนไปมากและมีคู่แข่งมากเกินไปในตลาดพลังงานผู้บริโภค และการดำเนินงานของเราก็เป็นไปอย่างช้า ๆ ดังนั้น เราจึงต้องรีสตาร์ท Innergie ด้วยซีรีส์ “One for All” หรือที่ชาร์จ C4 และ C6

ผมถูกมอบหมายให้ไปทำงานที่สิงคโปร์โดยมีเวลาเตรียมตัวที่สั้นมาก ๆ แต่ผมก็ตัดสินใจรับความท้าทายและกลับมาอีกครั้งหลังจากอยู่ต่างประเทศมา 23 ปี ผมรู้สึกกังวลนิดหน่อยเกี่ยวกับการปรับตัว แต่ออฟฟิศและบ้านของผมอยู่ใกล้กับบ้านเกิด และมีสมาชิกในครอบครัวของผมก็อยู่ที่นี่อยู่ ไม่นานผมก็ปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตแบบคนสิงคร์ได้ และผมก็เริ่มคุ้นเคยกับการทำงานที่นี่ สภาพอากาศ และการไปร้านอาหารแบบฟู้ด คอร์ท

สิ่งเดียวที่ผมคิดถึงคือทีมงานและธุรกิจของ Innergie ดังนั้น บางครั้งผมก็จะไปที่ร้านค้าปลีกเพื่อตรวจสอบสินค้าที่จัดแสดง นอกจากนั้น ผมมีความสุขมากกับบทบาทใหม่ของตัวเองในการสนับสนุนเดลต้า สิงคโปร์ ในสายงานสนับสนุน เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายไอที ฝ่ายบริการ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายกฎหมาย และฝ่าย DRC

วันที่ 9 สิงหาคม สิงคโปร์ได้ฉลองครบรอบ 58 ปี ในฐานะประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม คุณมีวิธีจัดการทีมที่มีความหลากหลายและปลูกฝังวัฒนธรรมเดลต้าอย่างไร?


สิงคโปร์มีความหลากหลายทางเชื้อชาติเป็นอย่างมาก คล้ายกับประเทศไทยแต่คนจำนวนมากเดินทางมาประเทศไทยเพื่อการท่องเที่ยว ในขณะที่คนส่วนใหญ่มาสิงคโปร์เพื่อทำงาน ที่เดลต้า สิงคโปร์ เรามีพนักงานที่มาจากไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และอีกจำนวนมากจากจีนและอินเดีย บางคนเพิ่งมาที่นี่ บางคนก็อยู่ที่นี่มาหลายปีแล้วและกลายเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรในสิงคโปร์ หลาย ๆ คนชื่นชอบเมืองและชีวิตที่มีชีวิตชีวา โดยพวกเราใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร

นอกจากนี้ เรายังมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และในทุก ๆ ปี เราจะเฉลิมฉลองวันปีใหม่ทั้งหมด 3 วัน คือ วันปีใหม่จีน วันปีใหม่มาเลย์ และวันปีใหม่อินเดีย เพื่อนร่วมงานของเราทุกคนคุ้นเคยกับสิ่งนี้ และเราเรียนรู้ว่าประเพณีอะไรที่ต้องระวัง เช่น ในช่วงรอมฎอน เราต้องคำนึงถึงเพื่อนร่วมงานที่เป็นมุสลิม และไม่ถืออาหารต่อหน้าพวกเขา ในฐานะบริษัทสัญชาติไต้หวัน บางครั้งก็จะมีการใช้ภาษาจีนกลางในระหว่างการประชุมฝ่ายบริหารซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเพื่อนร่วมงานชาวอินเดียและมาเลย์ของเรา แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักเหมือนกับที่ DET

แม้ว่าเดลต้าจะอยู่ที่นี่มาตั้งแต่ปี 2540 ซึ่งแต่เดิมมีเพื่อนร่วมงานจำนวนมากที่มาจาก BU และ BG ในฐานะฝ่ายขาย จากนั้นทีมของเราก็ใหญ่ขึ้น เป็นผลให้เพื่อนร่วมงานบางคนในทีมสนับสนุนของเรา เช่น ฝ่าย HR หรือ ฝ่าย IT ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเดลต้านั้นใหญ่แค่ไหน ผมจึงจัด “PS Coffee Talk” โดยที่เรามารวมตัวกันดื่มโกปี๊และรับประทานอาหารว่างและแบ่งปันความคิดเห็นของเราอย่างอิสระ

พวกเราได้จัดกิจกรรมนี้สองครั้ง และในระหว่างการพูดคุยครั้งล่าสุด ทีมการตลาดได้แชร์กับทุกคนที่เป็นเดลต้าและวิสัยทัศน์อาคารสีเขียวของเรา เช่น RE100 นอกจากนี้ เรายังจัดเซสชั่นการแบ่งปันเกี่ยวกับความคิดเห็นด้านธุรกิจให้กับหัวหน้าแผนกสามครั้ง และเพื่อนร่วมงานของเราประมาณ 80% เข้าร่วมผ่าน TEAMs ในที่สุด เรามีการแบ่งปันการจ้างงานใหม่ทุก ๆ 1-2 เดือน

แม้ว่าชีวิตในสิงคโปร์จะดำเนินไปอย่างรวดเร็ว คุณมีวิธีการรักษาสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีได้อย่างไร?

หลังเลิกงาน ผมจะไปเดินเล่นหรือปั่นจักรยานกับภรรยาเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง และวันหยุดสุดสัปดาห์หลังออกกำลังกาย ผมจะไปย่านช็อปปิ้งเพื่อดูร้านค้าปลีก นี่คืองานอดิเรกของผม ผมจะมองดูผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างกัน
ผมย้ายกลับมาที่สิงคโปร์ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อรัฐบาลตระหนักถึงความจำเป็นในการออกกำลังกายมากขึ้น จึงได้จัดตั้งเครือข่ายเชื่อมโยงสวนสาธารณะ ที่สิงคโปร์ ผมมักจะไปวิ่งและปั่นจักรยานบริเวณเลียบชายฝั่งตะวันออก นอกจากนี้ ผมยังชอบว่ายน้ำและพักผ่อนอ่านหนังสือริมสระน้ำ

ส่วนที่ไต้หวัน ผมมักจะไปที่อุทยานแห่งชาติหยางหมิงซาน ซึ่งคุณสามารถเดินขึ้นเขาได้ภายในหนึ่งชั่วโมง และรับประทานอาหารเช้าบนเส้นทางเดินภูเขา ผมยังสนุกกับการขี่จักรยานไปตามเส้นทางจักรยานตั้นสุ่ย และหากคุณเหนื่อยก็สามารถนำจักรยานขึ้น MRT เพื่อกลับบ้านได้

คุณเรียกรูปแบบการบริหารจัดการของคุณว่าอะไร และสิ่งนี้ช่วยให้ผู้มีความสามารถที่มีศักยภาพของคุณก้าวไปอีกขั้นในอาชีพของพวกเขาได้อย่างไร?

มันอาจจะดีกว่าถ้าไปถามคนอื่นเกี่ยวกับเรื่องนี้ คนที่เข้าใจผิดอาจจะคิดว่าผมเป็นคนจุกจิกมากแต่ผมไม่คิดว่าตัวเองเข้าไปจัดการทุกอย่างในทุกกระเบียดนิ้วขนาดนั้น และผมก็ไม่เหมือนผู้จัดการสไตล์ไต้หวันแน่นอน ผมชอบที่จะใช้โอกาสเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นเพื่อแบ่งปันความคิดของตนเอง และเราจะร่วมกันคิด จากนั้นผมจะให้พวกเขาตัดสินใจในขั้นตอนต่อไป เพื่อนร่วมงานบางคนอาจคิดว่าผมกำลังพยายามบอกพวกเขาว่าต้องทำอะไร แต่จริง ๆ แล้วผมแค่แบ่งปันความคิดของตัวเองเท่านั้น

ผมต้องการแบ่งปันเหตุผลเบื้องหลัง และหลังจากหนึ่งหรือสองครั้ง ผมจะไม่ทำอีกต่อไป และปล่อยให้พวกเขาพยายามหยิบมันขึ้นมาด้วยตัวเอง ผมชื่อว่าผมให้อิสระแก่ผู้คนมากมายทางความคิดเกี่ยวกับเส้นทางอาชีพของตน และผมมักจะบอกพวกเขาเสมอว่าไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม เราก็สามารถถือว่ามันเป็นการเรียนรู้สำหรับตัวเราเองได้

ผมหวังเสมอว่าเราจะทำอะไรบางอย่างที่มีผลกระทบต่อภูมิภาคได้ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นสถานที่ที่มีมูลค่าสูงมาก และผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเราจะสร้างคุณค่าให้กับเพื่อนร่วมงานของเราในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กับการช่วยให้ผู้คนประสบความสำเร็จในอาชีพที่นี่

สุดท้ายนี้ คุณอะไรอยากจะแบ่งปันให้กับเพื่อนเดลต้าทั่วโลกบ้างไหม?

เดลต้าเป็นบริษัทที่ดีมาก และผมก็รู้สึกซาบซึ้งกับโอกาสที่ได้เข้าทำงานที่นี่ ผมชื่นชมวิสัยทัศน์ของ Bruce Cheng และโอกาสในการทำงานที่เดลต้า และจะสานต่อวิสัยทัศน์เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไป

ผมขอแนะนำให้ทุกคนใช้โอกาสในการมีส่วนร่วมและสร้างอาชีพของคุณที่เดลต้าต่อไป ทุกสิ่งที่เราทำที่นี่ล้วนเป็นประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับตัวเราเอง ดังนั้น จงใช้โอกาสนี้เพื่อสร้างคุณค่าและเติบโตไปพร้อมกับเดลต้า

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next