นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

กัปตันผู้กุมชะตาชีวิตของตัวเอง: มุมมองของประธานเดลต้า ประเทศไทยกับความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวของชีวิต

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ มกราคม 02, 2563

แปลโดยแผนกสื่อสารองค์กรเดลต้าประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้:

สมุทรปราการ, ประเทศไทย วันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 – เป็นเวลาเกือบ 6 ปี ที่ “ดิ๊ก” นายเซีย เชน เยน รับตำแหน่งประธานบริษัทเดลต้า ประเทศไทย ซึ่งได้พาบริษัทขยายออกไปยังอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ในปีนี้ห่วงโซ่อุปทานมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและรวดเร็ว การรวมเดลต้า ประเทศไทย เข้ากับบริษัทในเครือเดลต้า เป็นโอกาสที่ดีสำหรับภูมิภาคที่เราจะได้รับประโยชน์จากวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลและเป็นดาวเปล่งประกายในจักรวาลเดลต้า

ที่สำนักงานใหญ่เดลต้าหรือในการประชุมทางไกล เป็นไปไม่ได้เลยที่จะหลีกเลี่ยงเสียงดังของประธานบริษัทของเราที่เหมือนท่านกำลังถามคำถามปนออกคำสั่ง แต่มีมุกตลกปนออกมาด้วย เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์อย่างใกล้ชิดและสัมผัสอีกด้านหนึ่งของท่าน ระหว่างนั่งจิบน้ำชาอู่หลงด้วยภาษาจีนกลางแมนดาริน เกี่ยวกับเส้นทางสู่การเป็นผู้นำ สิ่งสำคัญที่ได้จากเดลต้าในช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งที่นี่ และมุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับชีวิต

ช่วยเล่าถึงภูมิหลังและเรื่องราวในอดีตที่ส่งผลต่อบทบาทของท่านในตอนนี้ ?คุณรู้ใช่ไหมว่าการเป็นประธานบริษัทเดลต้า แห่งประเทศไทยเป็นบทบาทที่น่าสนใจและท้าทายมาก หลายคนไม่รู้ว่าจริงๆ ครอบครัวของผมนั้นไม่ได้ร่ำรวย ดังนั้น ผมจึงต้องเริ่มทำงานตั้งแต่เรียนวิทยาลัย ตอนอายุ 15 ผมต้องตื่นแต่เช้า 6.40 น. เพื่อขึ้นรถเมล์ไปเรียน หลังจากเลิกเรียนตอนบ่าย 3.30 น. ผมต้องรีบไปทำงานที่ไปรษณีย์จนถึง 23.00 น. ผมยังจำความเหน็ดเหนื่อยในตอนนั้นได้ว่าสามารถนั่งหลับได้ทุกที่เลยทีเดียว ถึงแม้ว่ามันจะลำบาก แต่ผมก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันหนักหนาเกินไป เพราะผมมีความสุขที่จะทำงานเพื่อเป้าหมายในชีวิตของผม

ตอนอายุ 21 ผมทำงานอยู่บนเรือในบอสตัน ทุกวันตอน 6 โมงเช้า ผมต้องตื่นมาทำความสะอาดห้องน้ำให้ทุกคน ถึงแม้มันไม่ใช่งานที่น่าทำนัก แต่ก็เลือกไม่ได้ ในฤดูหนาว คลื่นพัดแรงจนขึ้นมาถึงดาดฟ้า อุณหภูมิลดลงเหลือ -5 - 0 องศาเซลเซียส น้ำทะเลที่พัดขึ้นมาแข็งเกาะอยู่บนรองเท้าจนถึงขาของผม งานถึงแม้มันจะยากและอันตรายมากก็ตาม ผมต้องปีนขึ้นไปบนเสากระโดงเรือพร้อมกับค้อนและถังสีเพื่อซ่อมมันท่ามกลางทะเลที่กำลังเกรี้ยวกราด

แล้วทำไมท่านถึงเลือกที่จะทำงานในทะเล?ในปีพ.ศ. 2516 ชาวไต้หวันส่วนใหญ่พอใจแล้วหากพวกเขามีกินมีใช้เพียงพอ ผมเลยคิดว่าจะเข้ารับราชการ แต่ด้วยการศึกษาของผมหลังจากจบมัธยมปลายสามปีและมหาวิทยาลัยสี่ปี ผมได้แต่คาดหวังงานที่ได้เงินเดือน 1,200 ดอลลาร์ไต้หวันใหม่เท่านั้น ในตอนนั้นผมคิดว่า “ผมจะดำเนินตามเหมือนพ่อและพี่น้องคนอื่น ๆ หรือผมสามารถหางานที่ได้เงินมากกว่าได้ไหม? ” สุดท้ายผมจึงตัดสินใจเข้าเรียนที่ China Maritime College เป็นเวลา 4 ปีในการสำรวจเดินเรือ

หลังจากเรียนจบ เงินเดือนฝึกงานของผมนั้นมากกว่าของพ่อที่เป็นอาจารย์มา 30 ปี ในระหว่างที่รับราชการทหาร ผมได้ใบอนุญาตให้เป็นผู้ติดตามระดับสาม หลังจากนั้น 2 ปี ผมก็ได้ย้ายไปทำงานบนเรือบรรทุกน้ำมันและได้เป็นผู้ช่วยกัปตันเรือระดับสอง หน้าที่ผู้ช่วยนี้เหมือนกับคนขับเรือ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นผมต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพราะผมต้องแบกรับความปลอดภัยของทุกชีวิตบนเรือไว้ ถึงแม้ว่านี่จะเป็นอาชีพที่ดีและได้เงินเดือนสูง แต่ผมก็ไม่สามารถทนอาการเมาเรือต่อไปได้ จึงตัดสินใจลาออกในปีพ.ศ. 2520

ช่วงแรกของท่านที่เดลต้าเป็นอย่างไร

ผมเริ่มงานที่เดลต้าในฝ่ายการผลิต เริ่มด้วยเงินเดือนเพียงหนึ่งในสิบจากงานเดิมที่ทำบนเรือ ผมทำงานในสายการผลิตเป็นเวลา 7-8 เดือน จากนั้นก็ย้ายไปฝ่ายขาย เราขายขดลวดขนาดเล็กที่ใช้ในโทรทัศน์สีขาวดำให้กับบริษัทต่าง ๆ เช่น Philips Zenith และ RCA และยังได้ทำงานร่วมกับ Sony และ Tatung ผมจะต้องเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับการขายและผลิตภัณฑ์ของเรา

ในขณะนั้น เราได้ผลิตพาวเวอร์ซัพพลายที่ผนึกเข้ากับผลิตภัณฑ์ดิจิตอลและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของเรา อย่าง EMI ฟิลเตอร์ ที่ผลิตใน Tashi ประเทศไต้หวัน  ซึ่งในตอนนั้น คอมพิวเตอร์จอขนาดใหญ่ที่มีขั้วปลั๊กสายไฟกำลังได้รับความนิยมมาก แต่ในไม่ช้าความต้องการของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและโน้ตบุคก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและภาคอุตสาหกรรมของไต้หวันได้เติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 25-30 ปี โดยมีผู้ผลิตรายใหญ่ อย่าง IBM, Apple, Compaq, Dell Computer และ Acer

ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 จนถึงปี 2548 ทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี เรามีงานและลูกค้ามากมายที่อยู่ใกล้กับโรงงานที่เถาหยวนและซินจู ผมต้องขี่มอเตอร์ไซค์ไปทุกที่ภายในครึ่งชั่วโมงเพื่อส่งสินค้า ขายสินค้า หาลูกค้าใหม่ หรือแม้กระทั่งบริการทางด้านเทคนิค หลังจากนั้นผมได้ย้ายไปที่โรงงานที่จงลี่ ทำงานฝ่ายจัดซื้อของที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี แต่งานด้านจัดซื้อนี้ไม่ใช่สิ่งที่ผมถนัดเท่าไหร่ ดังนั้นผมจึงย้ายกลับมาด้านบริหารที่ซึ่งผมได้พบกับ James Meng และ Stronger Wang

ชีวิตช่วงแรกของคุณในประเทศไทยเป็นอย่างไร?ในตอนนั้นไม่มีใครต้องการที่จะออกจากไต้หวัน แล้วทำงานต่างประเทศ แต่ Andrew Lee เจ้านายของผมในตอนนั้นบอกให้ผมมาที่นี่ วันที่ 18 กรกฎาคม 2534 ผมได้มาทำงานที่เดลต้า ประเทศไทย มันค่อนข้างลำบากในช่วงแรก เพราะผมไม่ค่อยได้ใช้ภาษาอังกฤษมากนัก จึงต้องใช้เวลารื้อมันกลับมาสักเล็กน้อย ตอนนั้น ลูกสาวผมอยู่แค่ป. 4 ส่วนลูกชายอยู่ป. 2 ตอนที่ต้องเข้าโรงเรียนอินเตอร์พวกเขายังไม่รู้จักตัวอักษรภาษาอังกฤษด้วยซ้ำ เราเลยตัดสินใจรอให้ลูก ๆ เข้ามหาวิทยาลัยกันก่อน เราถึงค่อยย้ายกันอีกครั้ง

เราย้ายไปตงก่วน ประเทศจีน ในปีพ.ศ. 2546 จากนั้นในปี 2554 ย้ายไปที่ DGC ในเซี่ยงไฮ้ อยู่ที่นั่นเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จะกลับมารับรับตำแหน่งประธานบริษัทเดลต้า ประเทศไทย ผมรู้สึกว่าตัวเองเปลี่ยนไปมากตั้งแต่รับตำแหน่ง ไม่ใช่นิสัยส่วนตัว แต่เป็นสไตล์การทำงาน ประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นข้อได้เปรียบสำหรับผม รวมทั้งการเล่นกอล์ฟในวันหยุดด้วย แต่ตอนนี้ผมเปลี่ยนมาเป็นวิ่งแทนและใช้เวลากับครอบครัวให้มากขึ้น ทำให้ชีวิตครอบครัวผมดีขึ้นด้วย

ใครคือบุคคลที่น่าจดจำที่สุดตั้งแต่คุณเข้ามาทำงานที่เดลต้า ประเทศไทย?

ผมคงต้องตอบว่าเจ้านายเก่าของผม James Ng อย่างแรกเลยคือเขามีทักษะรอบด้านและมีพื้นฐานด้านวิศวกรรมที่ชำนาญ ดังนั้นผมไม่เคยคิดจะเทียบความรู้ด้านเทคนิคกับเขาเลย และอีกอย่าง ถึงแม้ว่าเขาจะจบทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า แต่เขายังเก่งในเรื่องการจัดการทางการเงินของบริษัทอีกด้วย

เหตุผลที่ทำให้เขาเป็นคนที่มีประสิทธิภาพ คือ เขานำเสนอภาพใหญ่ที่ไม่ได้มาแค่จากมุมมองของเขา แต่มาจากทุกคน ตอนที่เขาให้ผมหาวิธีการทำงานให้ออกมาดีกว่าคนอื่น ทำให้ผมได้รู้ว่าผู้นำที่ดีไม่ใช่แค่จะพูดว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” แต่เป็นการให้คำแนะนำและแนวทาง แต่หากแนะนำมากเกินไปก็อาจเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจ ดังนั้นควรแนะนำหนึ่งหรือสองทางเลือก แล้วเราจะได้ค่อย ๆ เรียนรู้จากการทดลองผิดลองถูก หรือ ความผิดพลาด

อีกคนที่มีอิทธิพลต่อผมมากๆนั้น คือ Stronger Wang เขาทำงานหนักมากและทำสิ่งต่างๆมากมายในฝ่ายการผลิต เช่นเดียวกับเจมส์ เขาซื่อสัตย์และรับผิดชอบต่อคำสั่งที่ได้รับมอบหมาย ผมชื่นชมเขาในทำงานให้บรรลุเป้าหมายตามที่เจ้านายต้องการ คงเป็นเพราะผู้ชายไต้หวันส่วนใหญ่เรียนรู้ที่จะเชื่อฟังคำสั่งจากกองทัพ

อะไรคือความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดที่ท่านสามารถเอาชนะมันได้ที่นี่?ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงจากการเป็นผู้นำแผนกๆหนึ่งมาเป็นผู้นำคนทั้งบริษัท ผมต้องคอยตอบคำถามเจ้านายในขณะเดียวกัน ผมต้องนำพาพนักงานกว่า 10,000 คน เดินหน้าไปด้วยกัน แม้ว่าบางคนมีแนวทางในการทำงานเหมือนกัน แต่บางคนไม่ แล้วเราจะจัดการกับความคาดหวังของทุกคนและทำงานร่วมกันเป็นองค์กรได้อย่างไร?

ตัวอย่างเช่น ผมต้องการที่จะสร้างบริษัทให้เป็นออโตเมชั่น แต่เราไม่มีพนักงานที่มีความรู้ด้านนี้ จึงต้องอาศัยบริษัทข้างนอกที่มีผลิตภัณฑ์เฉพาะด้านเพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติของเราเป็นโซลูชั่นที่ครบวงจร แต่น่าเสียดายที่โครงการนี้ถูกพับเก็บไป

เนื่องจากได้พิสูจน์แล้วถึงความเป็นไปไม่ได้ที่จะรวมไว้ในหนึ่งเดียว แต่ด้วยความคิดริเริ่มนี้ เราได้ทำโปรเจคอัตโนมัติไว้มากมาย ผมจึงไม่สามารถพูดได้เต็มปากว่าผมตัดสินใจถูกหรือผิด เพราะผมเชื่อมั่นว่าระบบอัตโนมัติจะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน !

ท่านคิดว่าอะไรคือ ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เดลต้า ประเทศไทย?

ตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ผมได้นำทีมของเราร่วมกันพัฒนาองค์กรจนเติบโต แนวทางและวัฒนธรรมองค์กรของบริษัท เราทุกคนทำงานร่วมกันอย่างสามัคคีและติดตามผลตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และผมได้ช่วยให้บริษัทของเราก้าวไปสู่ระดับสากลอีกด้วย ผมได้เรียนรู้มากมายเกี่ยวกับแผนมหภาคด้วยโครงการระยะยาวเหล่านี้ ตั้งแต่เป็นประธานบริษัทผมก็เริ่มคิดว่า “ผมต้องเข้าใจภาพใหญ่ของบริษัท เพื่อนำบริษัทของเราไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง”

เมื่อผมได้คิดย้อนกลับไป ผมรู้สึกว่าผมได้ทำสิ่งต่างๆมากมายให้กับประเทศนี้ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมร่วมกับมหาวิทยาลัยหรือกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม สิ่งที่ผมทำมิใช่น้อย ถ้ายังใช้วิธีเหมือนเมื่อก่อนเราคงไม่มาได้ไกลถึงขนาดนี้ นั้นหมายความว่าเราต้องกล้าที่จะทำสิ่งที่แตกต่าง หากเราไม่ทำโปรแกรมด้านการศึกษาหรือขับเคลื่อนด้านการตลาด ซึ่งเป็นการลงทุนพื้นฐานเพื่อที่จะทำให้เรามีชื่อเสียง ไม่อย่างนั้นเราก็ยังคงเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยทั่วๆไปที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักกันอย่างสากล อย่างทุกวันนี้

สุดท้าย ท่านมีอะไรอยากจะแบ่งปันถึงพนักงานของเราหรือไม่ ?

ผมอยากบอกว่า: ใช้ชีวิตในแบบที่คุณอยากจะใช้ชีวิตในวันนี้! คิดให้รอบคอบ วันนี้คุณต้องการชีวิตแบบไหน?  พรุ่งนี้คุณต้องการชีวิตแบบไหน?  พรุ่งนี้ที่ผมหมายถึง คือ อนาคต คิดเกี่ยวกับอนาคตของคุณและวางแผนสำหรับมัน ผมไม่ได้หมายถึงแค่เรื่องงาน แต่ผมหมายถึงชีวิตส่วนตัวของคุณด้วย

เช่น คุณต้องถามตัวเองว่า คุณต้องการอะไรเพื่อครอบครัว อยากมีลูกกี่คน อยากให้ลูกเรียนที่ไหน แล้วโตขึ้นเขาจะเป็นอะไร อย่าวางแผนยาวจนเกินไป แค่สำหรับ 5 ปีข้างหน้าก็เพียงพอ หากคุณวางแผนสำหรับ 20 ปีข้างหน้า จะมีตัวแปรเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่ซึ่งเราไม่สามารถคาดคะเนได้และอาจแค่เหตุการณ์เดียวที่ทำให้ทกอย่างต้องเปลี่ยนไป ดังนั้นจงเปิดใจรับการเปลี่ยนแปลง

อ่านเพิ่มเติม "ชาวเดลต้า"

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next