นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

แบ่งปันความท้าทายและความสำเร็จ: บทสัมภาษณ์ผู้จัดการประจำภูมิภาคของเดลต้า อินโดนีเซีย เกี่ยวกับอาชีพที่ท้าทายอยู่ตลอดเวลา

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ พฤศจิกายน 12, 2564

บทสัมภาษณ์ นาย Johnny Tam, Delta Indonesia Country Manager

ประวัติความเป็นมาและการเติบโตของเดลต้า ประเทศไทย ตั้งแต่การตั้งโรงงานในประเทศที่ที่ห่างไกลจากจุดศูนย์กลางเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เดลต้าเกิดขึ้นได้จากผู้นำมากความสามารถหลายคน และหนึ่งในนั้นคือนาย Johnny Tam ผู้นำมากประสบการณ์ซึ่งเป็นผู้สร้างความเติบโตทางธุรกิจของ เดลต้า ประเทศไทย หลากหลายบทบาทตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน ผู้ขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันในฐานะผู้จัดการประจำภูมิภาค เดลต้า อินโดนีเซีย

ไม่นานมานี้ ผมได้นั่งพูดคุยกับผู้จัดการที่เป็นกันเองที่สุดของเดลต้า ประเทศไทย ณ สำนักงานใหญ่เดลต้า บางปู ซึ่งเป็นที่ที่เขาประจำอยู่ในปัจจุบันเนื่องจากข้อจำกัดในการเดินทางจากโควิด ระหว่างจิบกาแฟ เขาได้เล่าเรื่องราวชีวิตการทำงานที่เดลต้ากว่าสามทศวรรษ บทเรียนประวัติศาสตร์ย่อยของเดลต้า ประเทศไทย และข้อมูลเชิงลึกของเขาเกี่ยวกับการเติบโตของเดลต้าในอินโดนีเซียและเคล็ดลับอันมีค่าสำหรับการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ทีมระดับแถวหน้า การรักษาความมุ่งมั่นของคุณให้คงอยู่ และเติบโตในอาชีพการงานของคุณ

จากการที่ทำงานกับเดลต้ามาเป็นเวลานานและเป็นผู้นำที่น่าทึ่ง คุณจะช่วยเล่าเรื่องราวภูมิหลังและความเป็นมาของคุณในการทำงานที่เดลต้า ประเทศไทยได้หรือไม่?

ผมเข้าทำงานกับบริษัทเดลต้า ไต้หวันในปี 1991 ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายขายของธุรกิจจอภาพสีที่โรงงานจงลี่ Frank Hsiung เป็นคนรับผมเข้ามาทำงานและ Golden Liu เป็นผู้จัดการคนแรกของผม เราได้ตั้งทีมเพื่อผลิตและจำหน่ายจอภาพสีในไต้หวันและต่างประเทศ ผมเป็นตัวแทนของเดลต้าในงานแสดงอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ เช่น CEBIT ในยุโรป COMDEX ในลาสเวกัส และ COMPUTEX ในไต้หวัน

ผมเดินทางมาเมืองไทยครั้งแรกในปี 1993 เมื่อได้พบกับ Dick Hsieh และ Sherry Wu เดิมทีเราผลิตเมนบอร์ดมอนิเตอร์ในประเทศไทยและทำการประกอบขั้นสุดท้าย และส่งไปทดสอบที่ไต้หวันเพื่อลดค่าแรงที่สูง เมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้น กระบวนการทั้งหมดจึงย้ายมาที่ประเทศไทย และผมจึงได้ย้ายมาที่เดลต้า ประเทศไทย ภายใต้การดูแลของ Sherry Wu ธุรกิจที่กำลังเฟื่องฟูแต่ราคาของหลอดรังสีแคโทด (CRT) กลับผันผวน และเราต้องการที่จะย่นระยะทางซัพพลายเชนของเราเพื่อขายในต้นทุนแบบเรียลไทม์มากขึ้นด้วยสต็อกที่จำกัด

ต้นทุน CRT คิดเป็นมากกว่า 75% ของต้นทุนวัสดุทั้งหมดสำหรับจอภาพสี ดังนั้น คุณ Dick จึงมอบหมายให้ผมเป็นผู้จัดซื้อวัสดุสำหรับ CRT และ Degaussing Coils และปรับสมดุลช่องว่างระหว่างราคาตลาดและต้นทุนวัสดุ ดังนั้น ผมจึงได้ติดต่อกับซัพพลายเออร์รายใหญ่ เช่น มัตสึชิตะ โซนี่ โตชิบา และฟิลลิปส์ ในตอนที่ยังเป็นผู้จัดการคลังสินค้าสำหรับชิ้นส่วนที่สำคัญเหล่านั้น

บทบาทความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบอื่นๆ ของคุณที่เดลต้า ประเทศไทยมีอะไรบ้าง?

หลังจากที่เราเลิกผลิตจอภาพสี ผมก็ย้ายมาทำหน้าที่ฝ่ายขายและผู้จัดการโครงการธุรกิจของเดลต้า (ในส่วนของเคสคอมพิวเตอร์และพาวเวอร์ซัพพลายเท่านั้น) จากนั้นผมก็มาขายพาวเวอร์ซัพพลายและตัวแปลง DC-DC ให้กับ OEM รายใหญ่ทั่วโลกที่ประสานงานระหว่างโรงงาน ทีมขายของแต่ละทีมธุรกิจ ทีมฝ่ายขาย Front-End EMS จนถึงปลายทางลูกค้า

ต่อมาผมก็ได้เป็นหัวหน้าทีมธุรกิจขนาดเล็กที่มีทีมขายและทีม RD เพื่อพัฒนาและขายอุปกรณ์จ่ายไฟสำหรับเครื่องเอทีเอ็ม ผมเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา ยุโรป สิงคโปร์ และจีนเพื่อพบลูกค้า เรียนรู้ความต้องการ จากนั้นเราจึงพัฒนาและผลิตอุปกรณ์จ่ายไฟของพวกเขาที่นี่

เมื่อ Henry Shieh ก่อตั้ง Delta Green Industrial Thailand (DGiT) เพื่อขยายธุรกิจในประเทศไทย ผมได้เข้าร่วมเป็นผู้นำฝ่ายขาย นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้เริ่มสร้างฐานลูกค้าในประเทศไทย เราขายอินเวอร์เตอร์แบรนด์ SOLIVIA ที่ผลิตในประเทศไทยและความสำเร็จครั้งใหญ่ครั้งแรกของเราคือโซลาร์รูฟท็อปของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์

เมื่อ DGiT ขยายตัวขึ้น เราก็ย้ายการผลิตไปที่เดลต้า โรง6 และในที่สุดการผลิตก็ย้ายไปที่เมืองอู่เจียง ในประเทศจีน แต่ยอดขายนำเข้ายังคงดำเนินต่อไป จากนั้นคุณวิชัย ศักดิ์สุริยะขอให้ผมมาเป็นผู้จัดการโรงงานเดลต้า 6 ที่ดูแลการผลิต EMI Filter เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ผมได้พบว่าการเป็นผู้จัดการโรงงานเป็นงานที่ซับซ้อน การตัดสินใจเพียงครั้งเดียวจะส่งผลต่อการลงทุน ผู้ปฏิบัติงาน การส่งมอบ และลูกค้าของเราหลายพันคนของเรา

เมื่อ Dick กลับมาเป็นประธาน DET เขาพาผมไปที่ DET5 เพื่อเป็นผู้ช่วยของเขา ผมคอยสนับสนุนการจัดการและติดตามการปฏิบัติงานของธุรกิจของอินเดีย DIN ซึ่งผมได้พบกับเพื่อน ๆ หลายคนที่เดลต้า อินเดีย รวมถึง Dalip Sharma, Alok, Niranjan, Deepak และ Manish

ในขณะเดียวกัน ภาพลักษณ์ของแบรนด์เดลต้าก็เติบโตขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติ เครื่องชาร์จ EV และ UPS เนื่องจากตารางงานที่ยุ่งของ Dick ผมจึงเป็นตัวแทนเขาไปร่วมในหลาย ๆ งานและได้มีโอกาสติดต่อกับคนสำคัญในรัฐบาล นักวิชาการ และผู้บริหารระดับสูง

 เหตุใดคุณจึงเลือกแบกรับความท้าทายครั้งใหญ่ในการจัดตั้งบริษัทเดลต้า อินโดนีเซีย และอะไรคือความแตกต่างที่สำคัญระหว่างธุรกิจของเดลต้าในประเทศไทยและอินโดนีเซีย?ผมได้รับมอบหมายจากแจ็คกี้ ผู้จัดการประจำประเทศอินโดนีเซีย ให้ขยายตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันค่อนข้างแตกต่างจากการทำงานในประเทศไทยมาหลายทศวรรษ ผมต้องใช้เวลาศึกษาตลาด วัฒนธรรม การเมืองของชาวอินโดนีเซีย และวิธีจัดการทีมในท้องถิ่น

แม้ว่าเดลต้าจะค่อนข้างเป็นที่รู้จักในประเทศไทย แต่ในอินโดนีเซียแทบไม่มีใครรู้จักแบรนด์และก็ไม่มีโรงงานเลย ตลาดในอินโดนีเซียยังมีการแยกกับ SMEs อื่น ๆ อีกมากเมื่อเทียบกับประเทศไทย ซึ่งเรากำหนดเป้าหมายไปยังกลุ่มบริษัทใหญ่ไม่กี่แห่ง เช่น SCG, CP, TCC หรือ PTT

ดังนั้น การสร้างส่วนแบ่งการตลาดในอินโดนีเซียจึงต้องใช้ความพยายามและเวลาในการเข้าถึง และด้วยทรัพยากรในท้องถิ่นที่จำกัดและการเป็นที่รู้จักของแบรนด์ เราต้องกำหนดเป้าหมายของบริษัทอย่างเหมาะสม

อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศเศรษฐกิจที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีประชากรมากเป็นอันดับ 4 ของโลก คุณช่วยแบ่งปันปัจจัยสำคัญในการเติบโตของทีม ความท้าทายที่ต้องเอาชนะ และกุญแจสู่ความสำเร็จและการเติบโตอย่างต่อเนื่องของคุณได้ไหม?

อินโดนีเซียเป็นประเทศขนาดใหญ่ที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อาหาร และวัฒนธรรมที่หลากหลาย จาการ์ต้าได้รับการพัฒนาให้มีมาตรฐานใกล้เคียงกับประเทศไทย พื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการเติบโตที่เป็นไปได้ของเราอยู่ในธุรกิจ UPS, IA, EVCS และ Telecom (5G) ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในตอนนี้คือการส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์เดลต้า

การหาพาร์ทเนอร์ที่เหมาะสมมีความสำคัญในช่วงการเติบโตนี้ ผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีของเรานั้นมีประสิทธิภาพทัดเทียมกับแบรนด์คู่แข่ง ดังนั้น เราแค่ต้องการพาร์ทเนอร์ที่เหมาะสมที่สามารถสร้างความสัมพันธ์และบริการที่ดีให้แก่ลูกค้าได้ เราจำเป็นต้องจับมือกับพาร์ทเนอร์เพื่อเข้าถึงลูกค้า และนำเสนอเทคโนโลยีล่าสุดของเราพร้อมการสนับสนุนในท้องถิ่น

โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของเดลต้าในอินโดนีเซียอย่างไร?

 โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเราอย่างมากในอินโดนีเซีย ธุรกิจชะลอตัวและสำนักงานจำเป็นต้องปิด ขณะที่ลูกค้ากำลังลดการลงทุนจนกว่าสถานการณ์โควิด-19 จะดีขึ้น

ในช่วงเวลานี้ เรากำลังใช้โซเชียลมีเดีย ประชุมออนไลน์ หรือโทรศัพท์เพื่อทำธุรกิจหรือฝึกอบรม ผมรอคอยที่จะหลุดพ้นจากข้อจำกัดเหล่านี้และการกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งเพื่อกลับมาเยี่ยมลูกค้าและสนทนาทางธุรกิจแบบเห็นหน้ากัน

ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผมโชคดีที่ได้เข้าร่วมและขึ้นพูดในงานต่าง ๆ ที่กรุงจาการ์ตา ทำให้ผมได้พบกับเพื่อนชาวอินโดนีเซียคนสำคัญหลายคน ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งผมยังคงติดต่อกับพวกเขาแม้ว่าตอนนี้ผมยังไม่สามารถกลับไปที่อินโดนีเซียได้ก็ตาม

มีวิธีใดบ้างที่เดลต้าสามารถเอาชนะคู่แข่งระดับโลกเพื่อให้ได้จุดยืนที่ดีขึ้นในฐานะแบรนด์ที่น่าเชื่อถือสำหรับลูกค้าในท้องถิ่นและผู้ที่มีความสามารถ?

ในตอนนี้ ชาวอินโดนีเซียชอบซื้อแบรนด์ดังในยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นที่พวกเขารู้จักและไว้วางใจมากกว่า และอยู่ในประเทศอินโดนีเซียมานานหลายทศวรรษ แม้ว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ลูกค้าก็รู้สึกมั่นใจที่จะซื้อของจากแบรนด์พวกนั้น

ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องวางจุดยืนแบรนด์เดลต้าของเราให้เป็นผู้เล่นระดับไฮเอนด์ที่ให้บริการรวดเร็วและยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับตลาดท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนจำนวนมากรับรู้ว่าเดลต้าเป็นบริษัทที่ดีที่จะร่วมงานหรือทำงานด้วย

โชคดีที่เราได้รับจุดยืนทางการตลาดสูงสุดในกลุ่มผลิตคภัณฑ์การชาร์จ EV และธุรกิจ EVCS ของเรามีรายได้ที่สูง เพราะเรามีพาร์ทเนอร์ที่ดี ผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยม และได้รับการสนับสนุนจากโรงงาน

เรากำลังสร้างแบรนด์ให้เป็นที่จดจำด้วยสื่อในธุรกิจ EVCS และทำงานอย่างใกล้ชิดกับพาร์ทเนอร์ กลุ่มออโตเมชั่น และ กลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์ของเรา ดังนั้น ผมคาดหวังกับการยอมรับแบรนด์ที่สูงขึ้นเป็นอย่างมาก

คุณมีความสามารถที่น่าทึ่งในการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจและการทำความรู้จักกับคนสำคัญมากมาย อะไรคือความลับสุดยอดของการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจของคุณ และเราจะฝึกฝนทักษะทางธุรกิจอันมีค่านี้ได้อย่างไร?

ผมจะบอกว่าให้ตอบสนองต่อข้อกังวลของผู้อื่นอย่างรวดเร็ว จริงใจและเป็นมิตรกับลูกค้า พูดคุยและแบ่งปันข้อมูลและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ที่พวกเขาสามารถเรียนรู้ได้

เรายังสนทนาในหัวข้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเดลต้า เช่น การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ เมกะ เทรนด์ การเมืองระดับภูมิภาค การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาตนเอง และหัวข้อใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเขา ผมพยายามให้มากกว่ารับ ด้วยวิธีนี้ผมจึงได้รับกลับมาหรือสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น

ผมพยายามติดต่อกับเพื่อนๆ ทุกสองสามวันผ่าน LINE หรือ WhatsApp หรือเพียงแค่แชททางโทรศัพท์ ก่อนช่วงโควิด-19 ผมมักจะดื่มกาแฟและทานอาหารเย็นกับเพื่อน ๆ และนี่เป็นวิธีที่มีประโยชน์มากในการสร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น หลังจากสร้างภาพลักษณ์ส่วนตัวและชนะใจลูกค้า ลูกค้าจำนวนมากก็ได้แนะนำให้ผมรู้จักกับลูกค้าและเพื่อนของพวกเขา

 คุณบริหารทีมที่มีความหลากหลายของคุณได้อย่างไร? อะไรคือคุณสมบัติสูงสุดที่คุณกำลังมองหาในทีมและผู้นำของคุณ?

ทีมงาน 10 คนของเราอยู่ทำงานอยู่ในสำนักงานที่จาการ์ตา และเราทำงานร่วมกับผู้จัดจำหน่ายและพาร์ทเนอร์ (SI) ที่มีสาขาหรือบริษัทในเครือทั่วประเทศ ซึ่งคนของเราไปเยี่ยมพวกเขาปีละสองถึงสามครั้งเพื่อขอฟีดแบค

ผมพยายามเป็นผู้นำและสอนสมาชิกในทีมชาวอินโดนีเซียเพื่อขยายส่วนแบ่งทางการตลาดและรายได้ของเดลต้า ผมสนับสนุนให้พวกเขาแบ่งปันประสบการณ์ไม่ว่าจะดีหรือร้ายเพื่อให้พวกเขาสามารถเรียนรู้และก้าวหน้าได้เร็วขึ้น เป้าหมายของเราคือการหาผู้จัดจำหน่ายที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและ SI และปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้าด้วยการให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพและบริการหลังการขายที่รวดเร็ว นอกจากนี้ เรายังแนะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้กับมหาวิทยาลัยและบริษัทต่าง ๆ เพื่อยกระดับแบรนด์เดลต้าอีกด้วย

ผมคาดหวังว่าทีมจะมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายและให้บริการที่รวดเร็วแก่ลูกค้าของเรา ในขณะเดียวกัน พวกเขาต้องเจรจาอย่างมีประสิทธิภาพและใช้ทรัพยากรของเดลต้าทั่วโลก ทุกคน (รวมถึงวิศวกร) ต้องเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าและตลาดของเราโดยเข้าหาลูกค้าอย่างกล้าหาญเพื่อทำความเข้าใจความต้องการของพวกเขาให้ดีขึ้น

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาที่เดลต้า คุณให้คำจำกัดความของความสำเร็จในชีวิตอย่างไร และเราจะสร้างมรดกที่ยั่งยืนในวันนี้เพื่อสร้างเดลต้าแห่งอนาคตได้อย่างไร?

หลังจาก 30 ปีที่เดลต้า ผมสรุปได้ว่าความสำเร็จนั้นเกิดจากการไม่กลัวที่จะยอมรับความท้าทายที่แตกต่างกันและพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอยู่เสมอ

มีศรัทธาในงานและบริษัทของคุณ และคุณจะพบกับหนทางที่ถูกต้องในการทำสิ่งต่าง ๆ ให้ลุล่วงและคนที่เหมาะสมที่จะช่วยให้คุณเติบโตในอาชีพ คุณค่าของคุณจะเพิ่มขึ้นเมื่อคุณมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ

สร้างคุณค่าของคุณเองด้วยการเรียนรู้ สนับสนุนเพื่อนร่วมงาน และนำเสนอบริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า จำไว้ว่าความสำเร็จของทีมก็คือความสำเร็จของตัวคุณด้วย

แม้จะทำงานที่เดลต้ามาหลายปี คุณรักษาความมุ่งมั่นในการทำงานได้อย่างไร และอะไรคือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่คุณเคยเผชิญในการปรับสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว?

ความมุ่งมั่นเกิดจากการเชื่อว่ามีสิ่งใหม่ ๆ ให้เรียนรู้ในชีวิต ความท้าทายใหม่ ๆ และผู้คนใหม่ ๆ ให้พบเจอและเรียนรู้อยู่เสมอ เติบโตไปพร้อมกับเพื่อน ๆ และเพื่อนร่วมงานของคุณ ขอความช่วยเหลือและคำแนะนำจากผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานเพื่อเอาชนะปัญหาที่คุณแก้ไม่ได้

เราต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในสายธุรกิจของเรา แต่เราต้องกำหนดและมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายอย่างชัดเจน ดังที่นักปราชญ์ชาวโรมันกล่าวไว้ว่า หากไม่รู้ว่ากำลังแล่นไปยังท่าเรือใด ลมใด ๆ ก็ไม่อาจช่วยได้

เพื่อชีวิตที่สมดุล ผมเชื่อว่าการมีครอบครัวอยู่ด้วยกันเป็นสิ่งที่สำคัญ การได้แบ่งปันประสบการณ์การทำงานกับครอบครัวของคุณและให้พวกเขาเข้าใจว่าคุณทำงานหนักแค่ไหน ชีวิตการทำงานมักมีความกดดันอยู่เสมอ แต่พยายามอย่านำพลังงานด้านลบกลับบ้าน

สุดท้ายนี้ มีอะไรที่คุณอยากจะแบ่งปันกับเพื่อนร่วมงานเดลต้าทั่วโลกหรือไม่?ผมอยากจะบอกเพื่อนร่วมงานชาวเดลต้าที่รักทุกคนว่าเราคือครอบครัวเดลต้าที่ยอดเยี่ยม มีคำกล่าวที่ว่า ไม่ว่าคุณจะพบใคร เขา/เธอคือคนที่ควรที่จะอยู่ในชีวิตของคุณ

ผมขอขอบคุณบริษัทของเราที่ให้โอกาสผมให้ได้ทำงานร่วมกับพวกคุณทุกคน และเราควรแบ่งปันความท้าทายและความสำเร็จร่วมกันอย่างเท่าเทียมกัน

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next