โดย Genalyn Llorando - เผยแพร่เมื่อ มีนาคม 10, 2563
โดย Genalyn P. Llorando
มนิลา ประเทศฟิลิปปินส์, 29 กุมภาพันธ์ 2563 – ชาวฟิลิปปินส์มีความภาคภูมิใจในความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นและรอยยิ้มอันอบอุ่นของครอบครัว และใช่! ฉันอยากจะแบ่งปันภาพประสบการณ์ที่มีความสุขของครอบครัวตอนที่เราได้ใช้ช่วงเวลาวันหยุดปีใหม่ร่วมกันในภูมิภาคที่มีลมแรงและอากาศเย็นสบายของฟิลิปปินส์อย่าง ตาเกย์เตย์
ที่ภูมิภาคนี้ของประเทศเป็นต้นกำเนิดของอาหารจานโปรดของชาวฟิลิปปินส์อย่างซุปเนื้อวัว หรือที่เราเรียกว่า บูลาโล่ ตรงด้านหลังของภาพถ่ายครอบครัวคือทะเลสาบตาอัลที่มีชื่อเสียง เพราะที่กลางทะเลสาบมีภูเขาไฟขนาดเล็กอยู่กลาง
Taal เคยเป็นที่ที่เงียบสงบและเป็นสวรรค์ของคนที่อยากหนีจากความวุ่นวายและมลพิษของมนิลา แต่น่าเสียดาย สถานที่พักผ่อนที่มีชื่อเสียงด้านทัศนียภาพอันสวยงาม ตอนนี้เราสามารถเห็นได้เพียงเถ้าถ่านและความว่างเปล่า ความงามของทิวทัศน์ทะเลสาบยังคงชัดเจนในความทรงจำของฉัน ต้นไม้สีเขียวล้อมรอบชายฝั่งและท้องฟ้าสีครามสะท้อนลงบนผืนน้ำของทะเลสาบที่นิ่งสงบ ช่างแตกต่างกับวิวที่ได้เราเห็นในวันนี้
ในวันที่ 12 มกราคม 2563 ภูเขาไฟตาอัลเกิดการระเบิดขึ้นอย่างฉับพลันสร้างความหวาดกลัวให้กับคนที่อาศัยอยู่ที่จังหวัดบาตังกัส ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะลูซอน ซึ่งอยู่ห่างจากมนิลา 60 กิโลเมตร นอกจากผลกระทบที่เกิดกับเกาะลูซอนแล้ว ยังส่งผลกระทบสู่จังหวัดโดยรอบ โดยภูเขาไฟมีการปล่อยแก๊สเถ้าถ่านภูเขาไฟสูงถึง 300 เมตร และเกิดแผ่นดินไหวในพื้นที่ 34 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง แม้ว่าตาอัลจะเป็นภูเขาไฟที่มีความสวยงาม สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชมความงามของมันได้เป็นจำนวนมาก แต่มันยังเป็นภูเขาไฟที่มีเล็กและอันตรายที่สุด และพร้อมที่จะระเบิดได้ตลอดเวลา
สถาบันภูเขาไฟและแผ่นดินไหววิทยาของฟิลิปปินส์ (PHIVOLCS) ได้ยกระดับการเตือนภัยจาก 2 และ 3 มาสู่ระดับที่ 4 ในวันที่ระเบิด เพียงไม่กี่ชั่วโมง บ้านเรือนหลายพันหลังและต้นไม้ถูกปกคุมด้วยเถ้าถ่าน ในขณะชาวบ้านสามารถหยิบทรัพย์สินของมีค่าของตนออกไปได้เพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น
แต่ด้วยความที่ชาวฟิลิปปินส์เป็นคนที่สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี ในช่วงวิกฤตแบบนี้เรามักจะได้เห็นโอกาส ไม่ใช่โอกาสทางธุรกิจ แต่เป็นโอกาสในการช่วยเพื่อนร่วมชาติ จังหวัดและเมืองใกล้เคียงร่วมกันช่วยเหลือ โดยการส่งอาหารและน้ำสะอาดมาให้ผู้ประสบภัย อาสาสมัครหลายคนช่วยกันสร้างศูนย์อพยพและอพยพผู้ประสบภัยออกจากที่เกิดเหตุทันที
สายตาที่เต็มไปด้วยความแน่วแน่และเห็นใจของผู้ที่มาช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้มอบความเข้มแข็งและความหวังให้พวกเขาเชื่อว่าวันพรุ่งนี้ทุกอย่างจะดีขึ้น สำหรับฉันแล้ว คำว่า ความฉับไว หมายถึง การตอบสนองและความรวดเร็วในการทำบางสิ่งที่คุ้มค่า ไม่ว่ามันจะมีมูลค่าเท่าไหร่ก็ตาม
ฉันจำได้ว่า “ความฉับไว” เป็นเสาหลักสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรของเดลต้า กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง เพื่อธุรกิจที่ยั่งยืน จึงทำให้ความฉับไวในชีวิตประจำวันของเราเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและควรนำไปปรับใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์วิกฤต ความสามารถในการฟื้นตัวจากความยากลำบาก ซึ่งนี่เป็นสิ่งสำคัญที่เราควรมีในช่วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติเช่นนี้
ในวันที่ 26 มกราคม ระดับความเสี่ยงของภูเขาไฟตาอัลในที่สุดก็ลดลง จากการแจ้งเตือนระดับ 4 มาสู่ระดับ 3 จนถึงตอนนี้ตาอัลยังอยู่ในการแจ้งเตือนระดับ 2 อย่างไรก็ตามถึงแม้ชาวฟิลิปฟินส์ยังคงต้องรับมือกับผลกระทบของการระเบิดของภูเขาไฟตาอัล แต่ Covid-19 กำลังเป็นปัญหาไปทั่วโลก
ในช่วงเวลาแบบนี้ เราสามารถนำความฉับไวมารับมือกับปัญหาเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเราได้อีกครั้ง ฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าปัญหาใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นนี้ จะนำพาสิ่งดี ๆ ภายในจิตใจทุกคนออกมาและนำพาความหวังที่ว่าเราจะผ่านทุกอย่างไปได้แม้ว่าจะติดอยู่ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายมากมายก็ตาม