นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

DET Voices #5: เราเลือกที่จะท้าทาย

โดย Delta Electronics (Thailand) PCL. - เผยแพร่เมื่อ มีนาคม 16, 2564

สุขสันต์วันสตรีสากลให้หญิงแกร่งแห่งเดลต้า(ประเทศไทย) เสียงของชาวเดลต้าตอนที่ 5 ขอนำเสนอความคิดเห็นของพนักงานหญิงกับหัวข้อในปีนี้ #ChooseToChallenge

วันนี้เรามาฟังเสียงของพนักงานหญิง 4 คน ที่รวบรวมตั้งแต่เจ้าหน้าที่ต้อนรับไปจนถึงวิศวกรในบริษัท ซึ่งจะมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการที่จะทำให้ผู้หญิงมีความเท่าเทียบในสังคมมากขึ้น

โดยแต่ละคนจะแสดงความคิดเห็นโดยการตอบคำถาม:

คุณมีแนวทางไหนที่จะเรียกร้องความยุติธรรมและควรทำอย่างไรให้ผู้หญิงมีสิทธิในสังคมมากขึ้น?

นางสาวสุณัฐชา ลาจันทะ   Receptionist

ดิฉันคิดว่าความเท่าเทียบทางเพศในการทำงานของผู้หญิงเนี้ย ผู้หญิงเราสามารถเป็นผู้นำได้ ไม่จำเป็นจะต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูก ทำงานบ้าน แล้วให้ฝ่ายชายออกไปทำงาน ผู้หญิงก็สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้ ปัจจุบันผู้หญิงตอนนี้เกือบทุกประเทศ คือไม่ห่วงเรื่องการมีสามี ผู้หญิงสามารถอยู่คนเดียวได้ เลี้ยงดูครอบครัว ทำงาน หาเลี้ยงตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องพึ่งฝ่ายชายเสมอไปค่ะ


นางสาวจิรภัทร์ แดงโชติ IE Engineer IT LOB/IPS

สำหรับในเรื่องของการเรียกร้องความยุติธรรมและก็ทำให้ผู้หญิงมีสิทธิทางสังคมมากขึ้นนะคะ สำหรับเต้ยมองว่าสิ่งใกล้ตัวที่สุดที่สามารถปรับและทำได้ก็คือสังคมในเรื่องของการทำงานและสังคมครอบครัวค่ะ ซิ่งปกติแล้วการทำงานที่จะให้ผลออกมาดีก็คือการทำงานที่เป็นทีม ซึ่งในทีมปกติก็จะมีทั้งผู้หญิงแล้วก็ผู้ชายใช่ไหมคะ เราต้องให้สิทธิแสดงความคิดเห็นเท่าๆกันอ่ะค่ะ รวมถึงการปกป้องดูแลทั้งในเรื่องของการทำงานแล้วในชีวิตส่วนตัวในมุมที่เขาต้องการค่ะ ซึ่งเต้ยเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนอ่ะค่ะมีความอ่อนโยนแล้วก็มีวัฒนธรรมดีๆอยู่ในตัวอยู่แล้ว การชี้แนะหรือว่าปลูกฝังโดยเริ่มจากคนใกล้ตัวของเราอ่ะค่ะ เช่นคนในทีมที่ทำงานหรือว่าคนในครอบครัวอ่ะค่ะ ให้ปกป้องดูแลกัน ให้เกียรติกัน รวมถึงการที่ให้เขาแลกเปลี่ยนทัศนคติที่ดีต่อกันอ่ะค่ะ ไม่น่าใช่เรื่องยาก เพื่อเป็นการส่งต่อและก็ส่งเสริมให้ทุกๆคนดูแลแล้วก็ให้สิทธิและรวนถึงให้เกียรติกันต่อๆไปค่ะ

นางสาวชุลีพร โชคประดิษฐ์สุข   IE Engineer IT-LOB SMT TEST

แนวทางที่จะเรียกร้องความยุติธรรมและก็การทำให้ผู้หญิงมีสิทธิในสังคมมากขึ้นนะคะ  ถ้าเรามองจากเรื่องใกล้ตัว เราสามารถมองได้จากการทำงาน เราสามารถแสดงความคิดเห็นในการแก้ปัญหาต่างๆได้ ผู้หญิงเราก็ควรที่จะกล้าแสดงความคิดเห็นและแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาให้หัวหน้างานหรือผู้ใหญ่ได้เห็นก่อนค่ะว่าเราก็สามารถทำได้เช่นกัน ยกตัวอย่างอย่างเฟิร์นนะคะ ก็คือเรียนจบทางด้านเครื่องกลมาค่ะ เฟิร์นสามารถที่จะซ่อมเครื่องหรือว่าทำงานอื่นๆที่ให้เหมือนพี่ๆช่างได้ค่ะ แม้ว่าเฟิร์นจะอายุน้อยกว่าแต่เฟิร์นก็สามารถแสดงศักยภาพออกมาได้ว่าเราก็ทำได้ค่ะ อีกอย่างการเรียกร้องความต้องมาคู่กับเหตุผล ถ้าเราต้องการที่จะเสนอแนวทางการแก้ปัญหาในองค์กร  เราก็ควรจะเรียบเรียงข้อมูลมาเพื่อมานำเสนอให้เป็นอย่างดีค่ะ ในปัจจุบันการแสดงความคิดเห็นอาจจะถูกปิดกั้นด้วยภาษาหรือการสื่อสาร จึงทำให้เราไม่กล้าแสดงความคิดเห็นออกมา อย่างแรกนะคะก็คืออยากให้ทุกคนหันมาภาษามากขึ้นและเก้าข้ามความกลัวไปได้ค่ะ อีกอย่างนะคะ อย่างการทำงานอยากให้หัวหน้างานให้โอกาสน้องๆที่เป็นผู้หญิงแสดงศักยภาพออกมาให้มากที่สุดเช่นกันค่ะ

นางสุภาภรณ์ เอกตาแสง MRO Clerk

บางประเทศเนี้ยคือว่าเขาจะให้สิทธิผู้หญิงคือไม่เท่าเทียมกัน ในหลายๆประเทศนี่คือจะให้ อย่างเรื่องการศึกษาผู้หญิงจะให้เรียนแค่นี้ จะไม่ให้สูงเหมือนผู้ชาย จะให้ผู้หญิงอยู่ที่บ้าน เลี้ยงลูก เป็นแม่บ้านงี้ คืออยากให้ทุกประเทศให้สิทธิผู้หญิงในการเรียนสูงๆขึ้น เพราะว่าผู้หญิงก็มีสิทธิเท่าเทียบกับผู้ชายค่ะ ทำงานได้เหมือนกัน มีความรู้ความสามารถเหมือนผู้ชายค่ะ อีกอย่างนึงถ้ามีกิจกรรมต่างๆ มีงาน มีโปรเจคอะไร อยากให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในงานนั้นๆโปรเจคนั้นๆ ไม่ใช่ว่าให้ผู้หญิงเป็นผู้ฟัง ผู้ตาม ผู้สนับสนุนอย่างเดียว อยากให้ผู้หญิงเป็นผู้นำ เป็นผู้บริหารในบริษัทมากขึ้น เพราะที่เห็นอยู่มีแต่ผู้ชายเป็นคนบริหาร แล้วก็ให้ผู้หญิงมีอำนาจมากขึ้น อยากให้ผู้หญิงมีสิทธิตรงนี้มากขึ้นค่ะ ขอบคุณค่ะ

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

Delta Electronics (Thailand) PCL.

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next