นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

เบื้องหลังการถ่ายทำวิดีโอVR Powered By Me โดยทีมงาน Google

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ กรกฎาคม 11, 2563

บทความและภาพโดย เดวิด นากายามะ DET Corp Comms

กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย วันที่ 8 มิถุนายน 2563 - ด้วยธุรกิจ OEM/ODM ที่เป็นรายได้หลักของเรา พวกเราชาวเดลต้ากลุ่มหนึ่งทำงานในแต่ละวันของเราไปอย่างเงียบ ๆ ในฐานะวีรบุรุษไม่ได้รับคำชื่มชมเพื่อสนับสนุนลูกค้าที่มีชื่อเสียงระดับโลกของเรา แต่ในเดือนกันยายนปี 2562 เดลต้า ประเทศไทย (DET) ได้รับโอกาสที่พิเศษในฐานะซัพพลายเออร์และพันธมิตรคู่ค้ากับ Google ต่อไปนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์ของ Google เรื่องแรกในรูปแบบ Virtual Reality (VR) ที่ DET-Powered by Me ซึ่งมีให้บริการในรูปแบบแอพพลิเคชั่นบน Android หรือ iOS

ความหมายของคำว่ายั่งยืนสำหรับเดลต้าหมายถึงอะไร และเหตุใดจึงสำคัญสำหรับ Google?Alyssa (ด้านหน้า) จากทีมงาน Google and Kyle (ด้านหลัง) จากทีมครีเอทีฟ บนหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ของเดลต้า ประเทศไทย โรงงาน 5

ทุกอย่างเริ่มต้นเมื่อ Sherry หัวหน้า DET CDBU ของเรา ขอให้ทีมสื่อสารองค์กรของ DET ช่วยต้อนรับลูกค้าสำคัญ Google เพื่อสร้างภาพยนตร์ VR ที่สำนักงานใหญ่เดลต้า ประเทศไทย ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Responsible Supply Chain กับซัพพลายเออร์ที่ยั่งยืน Google และ DET Corp Comms จึงได้ประชุมทางโทรศัพท์ระหว่างประเทศเพื่อหารือเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของโครงการ โครงร่าง และระยะเวลา

สำหรับเดลต้าความยั่งยืนหมายถึงอะไร และคุณกำลังทำอะไรเพื่อให้เกิดความยั่งยืน? Google ได้ถามคำถามเหล่านี้กับเรา เมื่อเราได้บรรยายเกี่ยวกับบริษัทและค่านิยมของบริษัท Google ยังได้แบ่งปันภาพยนตร์ VR พวกเขาอย่าง Journey of Gold ซึ่งเกี่ยวการสำรวจเหมืองทองคำในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และการจัดหาโลหะที่ยั่งยืนสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และภาพยนต์ Made by Me ซึ่งแสดงชีวิตประจำวันของแรงงานผู้อพยพที่โรงงานจูไห่ ประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตให้กับธุรกิจ EMS ทั่วโลกและเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์ Google -Flex

ในการประชุมและการติดต่อสื่อสารเพื่อติดตามผลกับ Google และทีมครีเอทีฟของพวกเขา เราได้จำกัดความคุณค่าของความยั่งยืนที่เราอยากจะแบ่งปันแบ่งปันและเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับวิธีที่เราได้ผลิตผลิตภัณฑ์พลังงานด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่คอยช่วย Google ชุมชนและโลกของเรา เพราะ เดลต้า ประเทศไทยมีพนักงานหญิงถึง 75% พวกเขาจึงกลายเป็นกำลังหลักของโรงงานสีเขียวของเราและสังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศไทย

เดินสำรวจก่อนเริ่มถ่ายทำทีมงาน Google ที่ตลาดดอกไม้ปากคลองตลาด กรุงเทพฯ

เมื่อเรามีไอเดียแล้วว่าโปรเจคจะเดินหน้าไปในทิศทางใด ผมได้มองหาและนำเสนอตัวละคร ฉาก และสถานที่ต่าง ๆ ผมได้มีโอกาสทำงานร่วมกับทีมเทรนนิ่งของเดลต้า เพื่อสัมภาษณ์หัวหน้าฝ่ายผลิตผู้หญิงเกี่ยวกับโปรแกรมฝึกอบรม STEM อาสาสมัครในโปรแกรมให้ความรู้ด้านพลังงานของเดลต้าหรือที่เรียกว่า DEEP และได้เคยสัมภาษณ์วิศวกรที่เป็น LGBT ที่ผมรู้จักในช่วงพักเที่ยง

สำหรับฉากในเดลต้า ผมทำงานร่วมกับฝ่ายผลิต CDBU เพื่อตัดสินใจว่าจะถ่ายทำที่ไหนและส่วนใดของสายการผลิตของ Google ผมยังทำงานร่วมกับทีม Energy Management และ Facility ในการตัดสินใจเลือกสถานที่ถ่ายทำบนหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ สถานีบำบัดน้ำเสีย ฝ่ายทรัพยากรบุคคลช่วยเหลือในการถ่ายทำที่งานสัมมนาสุขภาพในห้องประชุม กิจกรรมที่โรงอาหารและชั้นเรียน DEEP ของเราที่โรงเรียนประถมในท้องถิ่น

ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ผมขับรถไปรอบ ๆ โรงงาน เพื่อสำรวจสถานที่ในการถ่ายทอดเกี่ยวกับด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นและชีวิตหลังเลิกงาน ซึ่งประกอบด้วยเมืองโบราณ สถานตากอากาศบางปู และตลาดรถไฟศรีนครินทร์ พรสุดาเพื่อนร่วมงานชาวไทยของผมได้ช่วยเหลือเรื่องการถ่ายทำที่วัดวัดอโศการาม

ผมส่งข้อมูล ลิงค์ และภาพถ่ายทั้งหมดจากการสัมภาษณ์ของผมและข้อมูลสถานที่ที่ผมได้ไปสำรวจให้กับ Google เพื่อเลือกและเพิ่มลงในสตอรี่บอร์ด เมื่อพวกเขาเลือกเสร็จแล้ว ผมจึงได้รับการอนุมัติจากแต่ละแผนกและหัวหน้างานในการจัดสถานที่ในการปฏิบัติงานและจัดตารางการถ่ายทำ ทีมงาน CDBU ช่วยจัดการเรื่องการเดินทาง อาหารและความบันเทิงให้กับทีมงานของโครงการทั้งหมด

ไฟพร้อม กล้องพร้อม แอคชั่น!ทีมจาก Google กำลังถ่ายทำในสายการผลิตของเดลต้า ประเทศไทย

ด้วยฉากมากมายที่ต้องถ่ายทำให้เสร็จในภายสี่วัน Google และทีมงานถ่ายทำของพวกเขาล้วนต่างมีความกระตือรือร้น หลังจากเที่ยวบินอันยาวนานพวกเขามาถึงประเทศไทยในคืนวันเสาร์และเช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้นพวกเขาก็มาอยู่ที่ DET พร้อมที่จะถ่ายทำ เราเริ่มต้นการถ่ายทำแบบ 360 องศาและโดรนบนหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ของ DET ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากทีม Energy Management จากนั้นเราขับรถออกไปประมาณหนึ่งชั่วโมงไปยังตลาดปากคลอง ซึ่งเป็นตลาดดอกไม้ในกรุงเทพฯ เพื่อถ่ายภาพ จากนั้นเราก็เดินทางไปที่ตลาดรถไฟศรีนครินทร์เพื่อถ่ายภาพแบบ 360 องศา

ในวันที่สอง เราเริ่มต้นการถ่ายทำภาพ 360 องศาในสายการผลิตของ Google และสัมภาษณ์คุณปาริชาติ วงละคร และคุณกันทิมา พิมพ์พนอม เรายังทำการสัมภาษณ์ที่สวนของเดลต้า กิจกรรมโรงอาหาร และการสัมมนาในห้องประชุม ในตอนบ่ายเราได้ถ่ายคุณชุติมา PMM ขี่มอเตอร์ไซค์คาวาซากิ Z300 รอบเขตอุตสาหกรรม

ในวันที่สาม เรากลับไปที่สายการผลิตของ Google ในตอนเช้าเพื่อถ่ายทำวิดีโอแบบ 360 องศาเพิ่มและสัมภาษณ์ Patrick จาก Google’s global commodity management และในตอนบ่ายเราได้ไปถ่ายทำโครงการ Delta Energy Education Program ร่วมกับอาสาสมัครเดลต้าที่โรงเรียนวัดคลองเก้า ซึ่งการถ่ายทำโครงการในครั้งนี้ได้รับการช่วยเหลือจากฝ่ายทรัพยากรบุคคล

ในวันสุดท้ายวันที่สี่ เราเจอกันตอนเช้าที่วัดอโศการามเพื่อถ่ายพิธีการทำบุญตักบาตรแบบไทย จากนั้นเราได้สัมภาษณ์พนักงานที่เป็น LGBT สองคน คือ คุณเกษนภา หัวหน้างานอาวุโส และคุณธัญวรัตน์ วิศวกร R&D

กลไกเบื้องหลังการถ่ายทำภาพยนตร์ VR

ทีมงาน Google กำลังเตรียมโดรนเพื่อถ่ายทำสถานีรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ

Alyssa ผู้จัดการโครงการของ Google คอยกำกับโครงการทั้งหมดเพื่อทำให้แน่ใจว่ามีฉากและข้อมูลที่ต้องการครบถ้วน Serena เพื่อนร่วมงานของเธอช่วยตรวจสอบอีกแรงเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับความยั่งยืนที่ถูกต้องในระหว่างการสัมภาษณ์ในแต่ละฉาก

ในแต่ละฉาก Jen ผู้เชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์ VR เลือกและตั้งค่าการถ่ายภาพแบบ 360 องศาในกล้องแบบพิเศษที่ดูเหมือนลูกบอลสีดำบนขาตั้งกล้อง เมื่อเราติดตั้งกล้องไว้กลางฉากทุกคนต้องวิ่งออกไปและซ่อนอยู่หลังกำแพงที่ใกล้ที่สุด ขณะที่ Jen ควบคุมกล้องแบบไร้สายจากแผ่นควบคุม เลนส์หลายตัวในตำแหน่งที่แตกต่างกันบนลูกบอลทำการถ่ายในเวลาเดียวกันเพื่อให้ได้มุมมองรอบด้าน

ผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพอย่าง Kyle ทำการถ่ายภาพด้วยโดรนโดยใช้กล้อง GoPro ติดกับโดรนขนาดเล็กและปรับการควบคุมให้โดรนมีความมั่งคง (จากน้ำหนักของ GoPro) ในระหว่างเที่ยวบิน แต่โดรนพวกเขาชนระหว่างการบิน เราจึงให้พวกเขายืมโดรนที่มีขนาดใหญ่กว่าของบริษัทเพื่อให้โครงการดำเนินต่อไปได้

Kyle ยังถ่ายภาพสำหรับรายงาน 2019 Google Responsible Supply Chain Report โดยเขาใช้ภาษากายในการบอกให้พนักงานหญิงที่เคอะเขินของเราทำท่าทางออกมาได้สมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ เขายังติดตั้ง GoPro ไว้กับหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์หญิงของเราเพื่อให้ได้มุมมองบนถนนที่น่าตื่นเต้น

Annarose ผู้ควบคุมเรื่องเสียงรับผิดชอบการบันทึกเสียงทั้งหมดในการสัมภาษณ์และฉากต่าง ๆ การสัมภาษณ์แต่ละครั้งได้รับการบันทึกสองครั้งในห้องที่ไร้เสียงรบกวน จากนั้นจะถูกบันทึกอีกครั้งในระหว่างการถ่ายทำ เธอยังทำซาวด์แทร็กสำหรับการถ่ายทำในครั้งนี้ (ใช้ในตอนเปิดและปิดวิดีโอ) อย่างเสียงเครื่องจักร และเสียงอื่น ๆ ที่ถูกบันทึกไว้ในสายการผลิตของเรา

สิ่งสำคัญที่ได้รับจากการทำงานร่วมกับ Google


ทีมงาน Google หลังจากจบการสัมภาษณ์พนักงาน LGBT ของเดลต้า

แม้ว่ามันจะเป็นโครงการสั้น ๆ แต่ก็เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าทึ่งสำหรับผมและเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบของการทำงานร่วมกัน การผนวกรวม การมองโลกในแง่ดีและการทำงานหนัก สามารถสร้างบางสิ่งที่มีความหมายและเป็นศิลปะ ตลอดการทำงาน Alyssa และทีมงาน Google ของเธอยินดีรับฟังความคิดเห็นของเราเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยและสิ่งที่ DET ทำเพื่อผู้คนและชุมชนของเรา ซึ่งการรับฟังข้อเสนอแนะทั้งหมดของพวกเขานี้ ทำให้ผมต้องเก็บเพื่อรายละเอียดของตัวละครและสถานที่ให้ละเอียดที่สุดและแนะนำเพื่อเป็นภาพ b-roll ที่น่าสนใจที่สุดเท่าที่จะทำได้

ผมสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าบริษัทที่มีนวัตกรรมอย่าง Google มีส่วนช่วยให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับทักษะที่เป็นเอกลักษณ์ของทุกคน พวกเขาเคารพในพลังของทุกคนและไม่ได้รั้งไว้ด้วยวัฒนธรรมอนุรักษ์นิยม ประเพณีหรือระบบชนชั้น แต่พวกเขามุ่งเน้นไปที่การปลดปล่อยนวัตกรรมขั้นสูงจากผู้ที่มีโลกทัศน์และประสบการณ์ที่แตกต่างกันอย่างมากมาย ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการทำฟิลม์ของพวกเขาอยู่ในวัยยี่สิบต้น ๆ บางคนยังเป็นนักศึกษาและพวกเขาล้วนแต่เป็นมืออาชีพด้านความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถทำงานได้ตั้งแต่เช้าจรดค่ำโดยไม่มีการบ่น

เมื่อต้องเผชิญกับความผิดพลาด พวกเขาได้แสดงท่าทีและทัศนคติทำได้แบบอเมริกัน ในการออกไปถ่ายในบางสถานที่นอกเดลต้า เราถูกท้าทายด้วยทัศนคติของข้าราชการและผู้ที่ไม่ให้ความร่วมมือในการจัดการสถานที่ ซึ่งเราได้ทำงานร่วมกันเพื่อให้ผ่านพ้นพายุฝนเขตร้อนในครั้งนี้ แทนที่จะโกรธพวกเขา เราห่อกล้องของเราด้วยแผ่นพลาสติกและวิ่งไปที่รถตู้ของเราผ่านสายฝนที่ไหลริน

เพลิดเพลินไปกับโชว์

ทีมงาน Google ถ่ายทำด้วยโดรนที่สถานีรถไฟฟ้า
ขอขอบคุณสำหรับการทำงานอย่างหนักของทีม Google และทีมครีเอทีฟของพวกเรา ตอนนี้เรามีแพลตฟอร์มที่สวยงามที่สามารถแสดงให้โลกเห็นว่าเดลต้า ประเทศไทยและประเทศไทยเป็นอย่างไร ซึ่ง VR สามารถช่วยให้คุณดื่มด่ำประสบการณ์ในโรงงานเดลต้า ได้จากห้องนั่งเล่นของคุณ

ด้วยแอพพลิเคชั่น VR ของ Google คุณสามารถสัมผัสประสบการณ์เสมือนจริงของโรงงานเดลต้าได้ สำหรับบน Youtube คุณสามารถใช้ VR googles แล้วสัมผัสที่หน้าจอของคุณหรือคลิกที่ลูกศรสีเทาเพื่อเลื่อนไปรอบ ๆ ได้ 360 องศา ทุกครั้งที่คุณดูภาพยนตร์คุณจะพบรายละเอียดใหม่ ๆ ที่น่าสนใจอย่างเช่นคนที่กำลังเดินอยู่บนพื้นหลัง ภาพถ่ายของตัวละครของเราในช่วงปิด หรือแม้แต่เสียงใบพัดโดรน

คำขอบคุณสุดพิเศษ

Annarose (ทางขวาด้านหน้า) และ Jen (ตรงกลางในชุดสีดำ) กำลังบันทึกเสียงรถมอเตอร์ไซค์คาวาซากิ Z300

สุดท้ายนี้ ผมอยากกล่าวขอบคุณเป็นพิเศษกับพนักงานของเราทุกคนที่อาสาเป็นดาราของเรา Sherry และทีม CDBU นำโดยนายวัชรินทร์และเพื่อนร่วมงานของผมพรสุดาที่ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือผมในเรื่องการแปลตลอดเวลา

ท้ายที่สุดความสำเร็จของโครงการทั้งหมดนี้จะเป็นไปไม่ได้หากปราศจากการทำงานหนักของทุกคนในทุก ๆ วัน CDBU และธุรกิจ OEM/ODM และแบรนด์ของเดลต้า ไม่ว่าคุณจะอยู่ในฝ่ายขาย การตลาด PMM ฝ่ายวิจัยและพัฒนา ทีมผลิตภัณฑ์การผลิต QA/QC หรือโลจิสติกส์ งานของคุณต่างมีส่วนช่วยให้เราขับเคลื่อนความยั่งยืนและสร้างความเข้มแข็งให้กับโลกใบนี้!

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next