นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

เดลต้า ประเทศไทย ส่งนักศึกษาไทยคว้ารางวัลใหญ่ในการแข่งขันเดลต้า คัพ

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ กันยายน 14, 2564

By David Nakayama, DET Corp Comms

กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 24-25 กรกฎาคม 2564 – บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) สนับสนุนทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันเดลต้า คัพ ครั้งที่ 7 ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบการแข่งขันออนไลน์ โดยในปีนี้ทั้งสามทีมได้คว้ารางวัลจากการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

หัวข้อการแข่งขันเดลต้า คัพในปีนี้ คือ “การค้นหาผู้มีความสามารถด้าน IIoT อัจฉริยะ (Seeking Smart IIoT Talents)” และนำเสนอโครงงานใน 3 ด้าน ได้แก่ นวัตกรรมเครื่องจักร (Innovative Machines), โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) และ ชีวิตแห่งโลกอนาคตที่ดีกว่า (Better Future Living) โดยเป้าหมายของเดลต้า คัพ คือการจุดประกายความหลงใหลในกลุ่มเยาวชนที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติผ่านการเสริมสร้างทักษะด้านการออกแบบ การเขียนโปรแกรม และการแก้ไขจุดบกพร่อง พร้อมผสานทฤษฎีเข้ากับการปฏิบัติ

เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการเดินทาง เดลต้า คัพจึงจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์เป็นครั้งแรกในปีนี้ ทีมตัวแทนประเทศไทยที่ชนะทั้งสามทีมร่วมขับเคี่ยวกับ 100 ทีมจากทั่วโลกเพื่อคว้ารางวัลจากการพัฒนาโครงงานนวัตกรรมระบบอัตโนมัติดังต่อไปนี้:

1. รางวัลชนะเลิศ: ทีม Calamari จากมหาวิทยาลัยมหิดล

 นำเสนอโซลูชันปัญญาประดิษฐ์ในการป้องกันน้ำท่วม ที่ใช้การเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) กับแบบจำลอง Hidden Markov (Hidden Markov Model) ร่วมกับซอฟต์แวร์ตรวจสอบและควบคุมอุตสาหกรรม Delta SCADA

2. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2: ทีม JENO จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

นำเสนอโครงงาน Tiny Carrier Robot ซึ่งเป็นระบบควบคุมอัตโนมัติในการขนส่งเสบียงที่จำเป็น อาทิ อาหาร ยา และเครื่องมือแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโควิด-19 จากการสัมผัสระหว่างคนสู่คน โดยมีฟังก์ชันการสแกนสแกนคิวอาร์โค้ด และการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์อัตโนมัติทางอุตสาหกรรมต่างๆ ของเดลต้า เช่น Programmable Logic Controller (PLC) และ Human Machine Interface (HMI)

3. รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2: ทีม Maew Maew Sweety จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

กับโครงงานระบบบริการจัดส่งอัตโนมัติเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคมระหว่างร้านอาหารและลูกค้า โดยมีอุปกรณ์อุตสาหกรรมอัตโนมัติของเดลต้า PLC, HMI และ เซอร์โว (servo) สนับสนุนฟังก์ชันหลักของระบบ

เดลต้าได้สนับสนุนการเข้าร่วมแข่งขันของทีมตัวแทนจากประเทศไทยคว้ารางวัลเดลต้า คัพมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ไม่ว่าจะเป็นทีมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผ่านห้องแล็บเดลต้า ออโตเมชั่น (Delta Automation Labs) และเดลต้า คัพ (Delta Cup) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการพัฒนาสังคมและสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยยุคอุตสาหกรรม 4.0

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next