นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ VIVOTEK เตรียมพร้อมเสริมความปลอดภัยสำหรับรถไฟฟ้า MRT สายใหม่ของประเทศไทย

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ พฤศจิกายน 12, 2564

กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 31 สิงหาคม 2564 - บริษัท VIVOTEK Inc. บริษัทในเครือเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ กรุ๊ป ได้จัดหากล้องวงจรปิดอัจฉริยะเพื่อรองรับระบบรักษาความปลอดภัยของรถไฟฟ้าMRT สายสีแดงสายใหม่ของประเทศไทย

กล้องวงจรปิด VIVOTEK รุ่น Mobile Dome Network MD 8563-EH จำนวน 570 ตัว ได้ถูกติดตั้งในระบบรักษาความปลอดภัยของรถไฟฟ้าสายสีแดงประเภท 4 ตู้ และ 6 ตู้ โดยรถไฟฟ้าประเภทสี่ตู้ได้รับการติดตั้งกล้องวงจรปิดดังกล่าวทั้งหมด 180 ตัว ภายในรถไฟฟ้าจำนวน 10 ขบวน เฉลี่ยติดตั้งกล้องจำนวน 18 ตัวต่อหนึ่งขบวน ส่วนรถไฟฟ้าประเภทหกตู้ ได้รับการติดตั้งกล้องวงจรปิดทั้งหมด 390 ตัว ภายในรถไฟฟ้าจำนวน 15 ขบวน เฉลี่ยติดตั้งกล้องจำนวน 26 ตัวต่อหนึ่งขบวน

กล้องวงจรปิด VIVOTEK รุ่น Mobile Dome Network MD 8563-EH นี้ เป็นกล้องเน็ตเวิร์ก (network camera) ความละเอียดภาพขนาด 2 เมกะพิกเซล ที่มีขนาดกะทัดรัด มาพร้อมกับตัวเรือนโลหะที่ป้องกันการทุบทำลายมาตรฐาน IK10 เหมาะสำหรับการติดตั้งใช้งานด้านการขนส่ง ซึ่งหมายรวมถึงรถประจำทางและรถไฟต่างๆ ด้วยการปฏิบัติตามข้อกำหนด EN50155 Tx อย่างเต็มรูปแบบและการออกแบบที่ทนทานระดับ IP67 ตัวกล้องจึงสามารถทนต่อแรงกระแทก การสั่นสะเทือน ความชื้น ฝุ่นละออง และความผันผวนของอุณหภูมิ เพื่อรักษาวิดีโอให้มีความเสถียรและเชื่อถือได้ระหว่างการเคลื่อนที่ของยานพาหนะ

นอกจากนี้ กล้องวงจรปิด VIVOTEK รุ่น Mobile Dome Network MD 8563-EH ยังนำเสนอฟีเจอร์ WDR Pro สำหรับการมองเห็นที่เหนือชั้นในสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันสูง อีกทั้ง ตัวกล้องยังมีฟังก์ชัน Smart Stream II ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแบนด์วิธ โซลูชัน Trend Micro IoT Security และฟังก์ชันการหมุนวิดีโอสำหรับการบันทึกภาพบริเวณทางเดิน

รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีแดงใหม่นั้น ครอบคลุมเส้นทางตั้งแต่สถานีบางซื่อ ขึ้นไปทางเหนือถึงสถานีรังสิต (ระยะทาง 26.4 กม.) และทางตะวันตกไปยังสถานีตลิ่งชัน (ระยะทาง 14.6 กม.) กลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium ที่ประกอบด้วยกลุ่มบริษัท Mitsubishi Heavy Industries (MHI) ฮิตาชิ และซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น ได้รับมอบสัญญาเพื่อสร้างระบบไฟฟ้าและเครื่องกลของระบบรถไฟฟ้าสายสีแดงตามที่ได้วางแผนไว้

สำหรับโครงการดังกล่าว บริษัท Glory Technology สัญชาติไต้หวัน เป็นผู้รับเหมาช่วงให้กับกลุ่มบริษัท MHI เพื่อวางแผนและออกแบบระบบสื่อสารทางรถไฟ รวมถึงจัดซื้ออุปกรณ์และจัดหาระบบวิทยุดิจิทัล (Digital Radio System) และระบบการสื่อสารรถไฟ (Train Communications system) โดย Glory Technology ได้เลือกกล้องวงจรปิด VIVOTEK รุ่น Mobile Dome Network MD 8563-EH เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์แบรนด์ระดับพรีเมียมที่สุดที่มีความสามารถในการรักษาความปลอดภัยแบบอัจฉริยะ

รถไฟฟ้าสายสีแดงสายใหม่ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้เปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการ พร้อมบริการทดลองขึ้นฟรีในวันที่ 2 สิงหาคม ส่วนการเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบจะเริ่มในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ในระหว่างการทดลองใช้สามเดือนนี้ จำนวนผู้โดยสารในรถไฟฟ้าและสถานีจะถูกจำกัดความจุเพียงครึ่งเดียวเพื่อรักษาระยะห่างทางสังคมและป้องกันการแพร่กระจายของ ไวรัสโควิด-19

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next