นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

โครงการ Delta International Recruitment Program

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ มกราคม 19, 2565

กรุงเทพ ฯ ,  6 ตุลาคม 2564 – ในฐานะบริษัทระดับโลก บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งในประเทศไทยและไต้หวันเพื่อมอบโอกาสการทำงานระดับนานาชาติให้แก่ผู้มีความสามารถชาวไทยในต่างประเทศ วันนี้ เรามีโอกาสได้ร่วมพูดคุยกับสองสาวไทย อนัญญา อริยฤทธิ์ และ พัฒน์ธนี ตั้งพานิชยานนท์ (จากซ้ายไปขวาในภาพด้านบน) เกี่ยวกับเรื่องราวที่พวกเธอได้รู้จักกับเดลต้า ประเทศไทยที่ไต้หวันผ่านโครงการ Delta International Recruitment Program

  • ยินดีด้วยครับที่ได้เข้าทำงานร่วมกับเดลต้า ประเทศไทย! อยากให้ช่วยเล่าเกี่ยวกับตัวเองให้ฟังหน่อยได้ไหมว่าจบจากที่ไหนและเรียนเกี่ยวกับอะไรครับ

อนัญญา: สวัสดีค่ะ หนูชื่อจิ๊บ ทำงานกับเดลต้าประเทศไทยในตำแหน่งวิศวกร IE มาสองปีแล้วค่ะ จิ๊บจบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมอุตสาหการจากมหาวิทยาลัยมหิดลค่ะ หลังจบปริญญาตรี จิ๊บก็ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่ไต้หวันในระดับปริญญาโทด้านการจัดการอุตสาหกรรมและสารสนเทศที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกุง ตอนกลับประเทศไทย จิ๊บก็ได้เข้าทำงานกับเดลต้าค่ะ

พัฒน์ธนี: สวัสดีค่ะ! หนูชื่อแอล เกิดและโตที่กรุงเทพฯ แอลจบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีค่ะ

งานแรกของแอลคือการเป็นนักพัฒนา UX ให้กับบริษัทสตาร์ทอัพแห่งหนึ่ง จากนั้น แอลก็ทำงานเป็นวิศวกรจัดซื้อในบริษัทก่อสร้าง ประสบการณ์การทำงานของแอลทำให้แอลได้เห็นธุรกิจในโลกแห่งความเป็นจริงและทำให้แอลตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านธุรกิจและการจัดการที่มหาวิทยาลัย Tamkang ประเทศไต้หวัน  จากนั้นแอลก็ได้เข้าทำงานกับเดลต้า ประเทศไทย ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาค่ะ

  • อันนี้เคยเรียนภาษาจีนก่อนที่จะไปเรียนที่ไต้หวันหรือเปล่า? ทำไมถึงเลือกเรียนที่ไต้หวันหรือครับ?

อนัญญา: ใช่ค่ะ จิ๊บเรียนภาษาจีนมาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้ว เหตุผลที่เลือกเดินทางไปเรียนที่ไต้หวันก็เพราะว่าไต้หวันอยู่ไม่ไกลจากประเทศไทย พ่อกับแม่ก็สามารถไปเยี่ยมได้บ่อย ๆ ค่าครองชีพก็ไม่สูงเมื่อเทียบกับประเทศไทยแล้วก็ประเทศที่พัฒนาแล้วประเทศอื่น ๆ ค่ะ

พัฒน์ธนี: แอลไม่เคยเรียนภาษาจีนมาก่อนที่จะไปไต้หวันเลย แต่แอลคิดว่าการเรียนภาษาสามารถช่วยทำให้คุณเปิดโลกทัศน์ได้ดีมากเลยค่ะ ไต้หวันมีความเป็นสากลด้วยทรัพยากรที่ดีมาก ๆ และสำหรับนักศึกษาต่างชาติ ค่าเทอมของมหาวิทยาลัยชั้นนำก็มีอัตราค่าเล่าเรียนไม่ต่างกันมากค่ะ และเรายังมีโอกาสเรียนภาษาจีนกลางจากเจ้าของภาษาอีกด้วย นอกจากนี้ แอลสามารถพูดได้เลยว่าไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการขนส่งสาธารณะที่มั่นคงและเข้าถึงได้ มีรถประจำทาง รถไฟหรือรถไฟฟ้าใต้ดินให้บริการทุกที่เลย

โดยรวมแล้ว สำหรับแอลไต้หวันเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ดีที่สุดในการไปศึกษาต่อ ชาวไต้หวันเป็นมิตรและต้อนรับดีมาก ๆ พวกเขายินดีที่จะช่วยเหลือชาวต่างชาติ และแอลก็คิดว่าไต้หวันเป็นประเทศที่ค่อนข้างปลอดภัยดูได้จากอัตราการเกิดอาชญากรรมที่ต่ำ ในเรื่องค่าครองชีพอย่าง ค่าที่อยู่อาศัย ค่าขนส่ง และอาหารก็ไม่แพง สำหรับโอกาสทางอาชีพ ชาวต่างชาติก็มีโอกาสเยอะอยู่นะคะ ขึ้นอยู่กับงานที่เรากำลังมองหาค่ะ

  • ช่วยบอกข้อดีของการเดินทางไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศให้หน่อยได้ไหม แล้วคิดว่านักศึกษาที่จบจากต่างประเทศสามารถช่วยประเทศไทยได้อย่างไรบ้าง

พัฒน์ธนี: จากมุมมองของแอล การเรียนในต่างประเทศช่วยให้แอลมีความมั่นใจและความเป็นอิสระมากขึ้น เพราะเราสามารถออกจาก Comfort Zone และซึมซับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมใหม่ ๆ ได้ และการได้เป็นเพื่อนกับคนต่างชาติช่วยให้แอลมองโลกต่างออกไปจากเดิม

นอกจากนี้ ยังช่วยให้แอลเติบโตขึ้นและมีความรับผิดชอบมากขึ้น การอยู่คนเดียวในต่างประเทศหมายความว่าคุณต้องเผชิญหน้าและจัดการกับปัญหาด้วยตัวเอง เพราะเราไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือครอบครัวได้ ความยากลำบากเหล่านี้จะบังคับให้คุณเติบโตขึ้นค่ะ

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของคนรุ่นใหม่ในประเทศไทย แอลคิดว่าคนไทยที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศสามารถมีช่วยเหลือประเทศของเราได้ด้วยการแบ่งปันสิ่งที่เราเรียนรู้ และใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญของเราเพื่อพัฒนาประเทศของเราในทิศทางที่ถูกต้อง

อนัญญา: การเรียนต่างประเทศทำให้เราได้มีโอกาสทำความรู้จักกับเพื่อนจากทั่วโลก จิ๊บยังได้ลองทำอะไรหลาย ๆ อย่างที่ไม่เคยลองทำมาก่อนในประเทศไทย และเรียนรู้วิธีปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ จิ๊บคิดว่าเราสามารถนำประสบการณ์ที่เราได้เรียนรู้ในต่างประเทศมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทยได้ มุมมองและวิธีการใหม่ ๆ เหล่านี้สามารถช่วยพัฒนาประเทศของเราได้ค่ะ

  • อยากทราบว่ารู้จักโครงการ Delta International Recruitment Program ของเราได้อย่างไร แล้วทำไมถึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการนี้ครับ

อนัญญา: ตอนที่จิ๊บเรียนอยู่ที่ไต้หวัน เดลต้า ประเทศไทย ได้มาจัดงาน Recruitment Orientation และสัมภาษณ์ที่มหาวิทยาลัยของจิ๊บ จิ๊บรู้จักงานนี้จากฝ่ายกิจการนักศึกษาต่างชาติ ตอนนั้นจิ๊บตัดสินใจเข้าร่วมงานเพราะจิ๊บวางแผนไว้แล้วว่าจะกลับมาทำงานที่ประเทศไทยหลังจากเรียนจบ

พัฒน์ธนี: แอลรู้จักโครงการ Delta International Recruitment บนเว็บไซต์ค้นหางานในไต้หวันที่ชื่อ 104人力銀行 แอลเห็นประกาศหางานและพออ่านคำอธิบายก็พบว่างานนี้เหมาะกับทักษะของแอล แอลก็เลยตัดสินใจส่งเรซูเม่ไปค่ะ หลังจากนั้นสองสามวัน Delta HR ก็ได้ส่งอีเมลและโทรหาแอลเพื่อยืนยันการสัมภาษณ์ ตอนนั้นเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นมาก เพราะจริง ๆ แล้วแอลสนใจที่จะเข้าทำงานกับเดลต้ามาสองสามปีแล้ว

แอลรู้สึกประทับใจกับผลิตภัณฑ์ที่เดลต้าผลิตและรู้สึกอยากทำงานที่นี่ ผลิตภัณฑ์และบริการของเดลต้าถูกผลิตขึ้นด้วยมาตรฐานที่สูงมากและมีราคาที่สมเหตุสมผล แอลต้องการทำงานกับองค์กรที่มุ่งมั่นอย่างเดลต้าเท่านั้น แอลสามารถมองเห็นภาพตัวเองทำงานกับบริษัทนี้และเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวเดลต้าได้

  • ตอนนี้ทำงานอยู่ในโรงไหน ตำแหน่งอะไร และอะไรคือสิ่งที่ประทับใจมากที่สุดเกี่ยวกับการทำงานหรือเกี่ยวกับบุคลากรในเดลต้า ประเทศไทยครับ

อนัญญา: จิ๊บเข้าทำงานที่โรงงานเดลต้า 5 ในตำแหน่งวิศวกร จิ๊บประทับใจที่เดลต้าให้โอกาสแก่ทุกคนตามผลงานอย่างเท่าเทียม และไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้อื่นตามเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ ภาษา การเมือง กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ

พัฒน์ธนี: แอลเข้าทำงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล ด้าน Compensation and Benefits ที่โรงงานเดลต้า 5 สิ่งที่น่าประทับใจที่สุดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและบุคลากรที่เดลต้า ประเทศไทย คือทุกคนคอยให้การสนับสนุนและให้กำลังใจเสมอ ตอนที่แอลมีคำถามหรือต้องการความช่วยเหลือ พวกเขาก็ยินดีที่จะแนะนำและให้ความช่วยเหลือทันที เพื่อนร่วมงานของแอลส่วนใหญ่เป็นคนที่มีความน่าเชื่อถือและมีความรับผิดชอบ พวกเขาทำงานได้ดีมากและรู้ว่าการทำงานเป็นทีมต้องทำกันยังไง

  • บทบาทหลักตอนนี้ที่เดลต้าประเทศไทยคืออะไรหรือครับ และคิดว่าส่วนไหนน่าสนใจที่สุดในงาน

อนัญญา: ปัจจุบัน จิ๊บทำงานในตำแหน่งวิศวกรอุตสาหการ นั่นหมายความว่าจิ๊บต้องปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อช่วยให้ทีมผลิตของเราผลิตชิ้นส่วนที่มีคุณภาพออกมาได้ดีที่สุด

เนื่องจากงานของจิ๊บเกี่ยวข้องกับการผลิต ในทุกวันเราต้องเผชิญกับปัญหาทุกรูปแบบในสายการผลิต นั่นทำให้เราต้องจัดการกับมันและแก้ไขปัญหาให้ออกมาได้ดีที่สุดค่ะ

พัฒน์ธนี: โดยทั่วไปแล้ว แอลทำหน้าที่ดูแลพนักงานชาวต่างชาติของเรา รวมถึงรับผิดชอบเรื่องการทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงานและกิจการ SEA C&B นอกจากนี้ แอลยังต้องจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องกับค่าตอบแทนของพนักงานทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ และรับผิดชอบในการวางแผนโครงการกิจกรรม การสำรวจความต้องการ และการประเมินประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของพนักงาน

ส่วนที่น่าสนใจที่สุดเกี่ยวกับตำแหน่งนี้ก็คือ แอลสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาและดำเนินการตามนโยบายเพื่อดึงดูดผู้สมัครที่มีศักยภาพ และใช้ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์และการสื่อสารเพื่อทำให้แน่ใจว่าทุกคนมีความเข้าใจตรงกันได้

  • ในฐานะพนักงานใหม่ คิดว่าอะไรคือวิธีที่ดีที่สุดในการดึงศักยภาพและพัฒนาอาชีพที่เดลต้า ประเทศไทย

พัฒน์ธนี: แอลคิดว่าวิธีที่ดีที่สุดในการก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพคือการไม่หยุดเรียนรู้ โลกของเราเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นทุกวัน และวันหนึ่งโซลูชันที่เราเคยใช้อาจใช้ไม่ได้อีกต่อไป ไม่ว่าคุณจะทำงานอยู่ในสายอาชีพไหน คุณต้องเรียนรู้ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้จากความผิดพลาด มองโลกในแง่ดีและเชื่อมั่นในตัวเอง อย่ากลัวที่จะขอคำแนะนำจากหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน นอกจากนี้ ยังต้องทำความเข้าใจในความสามารถและทักษะของตนเองเพื่อให้รู้วิธีใช้และเติมสิ่งที่ขาด

อนัญญา: ในฐานะพนักงานใหม่ จิ๊บคิดว่าควรสอบถามข้อมูลจากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานเพื่อที่คุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการสำหรับงานของคุณ พยายามเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ให้มากที่สุด แต่อย่ากดดันตัวเองมากเกินไป

  • หัวหน้าและเพื่อนร่วมทีมคอยช่วยเหลืออะไรเราบ้าง และ soft skill อะไรที่เราเรียนรู้จากการได้ทำงานร่วมกับชาวต่างชาติครับ

อนัญญา: หัวหน้าและเพื่อนร่วมทีมคอยสนับสนุนจิ๊บเสมอ เราเคารพการตัดสินใจของกันและกัน แต่เมื่อมีปัญหาหรือคำถาม เรายังสามารถช่วยเหลือและหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่ดีที่สุดสำหรับทีมของเราได้ ทักษะการเข้าสังคมที่จิ๊บได้เรียนรู้จากที่นี่ทำให้จิ๊บมีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น รวมถึงตัวจิ๊บเองก็ได้เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกันในทีมแล้วก็ทีมอื่น ๆ ด้วยค่ะ

พัฒน์ธนี: หัวหน้าและทีมมักจะสนับสนุนแอลเสมอ หัวหน้าของแอลเป็นคนที่มีทักษะด้านการสื่อสารที่ดีมาก และยังสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับหัวหน้างานของทีมอื่น ๆ และสมาชิกในทีมของเราได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นนักแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์ สามารถควบคุมและคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อช่วยให้เราก้าวไปข้างหน้าได้เสมอ

เพื่อนร่วมทีมทุกคนให้ความช่วยเหลือและคอยสร้างแรงจูงใจให้กับแอลตลอด เราทำโปรเจคจนสำเร็จกันมามากมายโดยการรวบรวมและระดมความคิด เราคิดค้นวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของบริษัท แอลยังสังเกตว่าวัฒนธรรมองค์กรที่เหนียวแน่นของเดลต้าและสภาพแวดล้อมที่มีหลากหลายภาษาช่วยให้แอลพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร ซึ่งรวมถึงทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การคิดนอกกรอบ และการปรับตัว ควบคู่ไปกับความฉลาดทางอารมณ์ตลอดจนการบริหารเวลาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของงาน

  • มองตัวเองในอีก 5 ปีข้างหน้าไว้อย่างไร แล้วเราต้องทำอะไรบ้างเพื่อบรรลุเป้าหมายการทำงานและการใช้ชีวิต

อนัญญา: เป้าหมายสูงสุดของจิ๊บในอีกห้าปีข้างหน้าคือการเป็นผู้นำทีมหรือแผนก จิ๊บมีความสุขทุกครั้งที่ได้เป็นผู้นำในสายอาชีพของตนเอง ดังนั้นการเติบโตในฐานะผู้นำจึงเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของจิ๊บตอนนี้

พัฒน์ธนี: ในช่วง 2-3 ปีแรก แอลวางแผนที่จะพัฒนาตนเองทั้งส่วนตัวและในเรื่องของอาชีพการงาน แอลต้องการส่งมอบความสามารถที่ดีที่สุดของตนเองให้กับบริษัท ในขณะที่เรียนรู้และซึมซับบทบาทของงานที่ทำอยู่ก็อยากพัฒนาในด้านอื่นที่สามารถปรับปรุงได้ แอลอยากเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาการทำงานของแอลค่ะ

แอลต้องการเป็นหนึ่งในพนักงานที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นกำลังใจให้ผู้อื่น และทำให้คนอื่น ๆ สามารถไว้วางใจได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยขับเคลื่อนบริษัทของเราให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางด้านธุรกิจของเรา ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า เมื่อเวลานั้นมาถึงแอลเห็นตัวเองเติบโตขึ้นในบทบาทของการบริหารจัดการค่ะ

  • อะไรคือปัจจัยสำคัญในการเลือกบริษัท มีเคล็ดลับอะไรที่อยากแบ่งปันให้กับเพื่อนชาวไทยที่ศึกษาในต่างประเทศไหม? 

พัฒน์ธนี: เหตุผลหลักที่แอลอยากทำงานที่เดลต้าก็เพราะชื่อเสียงของบริษัท ประวัติความสำเร็จของเดลต้าพิสูจน์ให้เห็นว่าเดลต้าเป็นบริษัทที่ใช่สำหรับแอล การทำงานที่เดลต้าจะเปิดโอกาสให้แอลได้ค้นพบโอกาสในการเป็นตัวของตัวเองในแบบฉบับที่ดีที่สุด

แอลอยากแนะนำให้เพื่อนชาวไทยที่ศึกษาในต่างประเทศเลือกองค์กรที่เหมาะสมกับพวกเขาที่สุดและมีพื้นที่สำหรับการเติบโตในอนาคต หาที่ที่คุณสามารถขยายบทบาทและความรับผิดชอบของคุณได้ เพื่อให้คุณสามารถใช้ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของคุณให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

อนัญญา: มันมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกบริษัท เช่น สภาพแวดล้อมในการทำงาน ครอบครัว เงินเดือน โอกาสในการก้าวหน้า จิ๊บอยากแนะนำว่าคุณควรจัดลำดับความสำคัญของตัวคุณเอง เนื่องจากแต่ละคนในแต่ละสถานการณ์มีลำดับความสำคัญที่แตกต่างกัน หลังจากที่คุณจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่คุณกำลังมองหาในงานได้แล้ว คุณจะค้นหาบริษัทที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และเป้าหมายของคุณได้ง่ายขึ้น

สร้างความก้าวหน้าทางด้นอาชีพและพัฒนาประเทศไทยไปกับเดลต้า

หากคุณเป็นนักศึกษาหรือวิศวกรชาวไทยในต่างประเทศที่กำลังมองหาสถานที่ทำงานระดับนานาชาติเพื่อยกระดับประสบการณ์ในต่างแดนของคุณ คุณสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ Delta International Recruitment Program ได้ที่เพจ Delta Thailand Careers Page หรือติดต่อฝ่ายทรัพยากรบุคคลของเราวันนี้

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next