โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ พฤษภาคม 18, 2565
กรุงเทพฯ ประเทศไทย วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 - อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ของประเทศไทยเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถ ตามรายงานจากบางกอกโพสต์ในปี 2564 อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยได้รับการจัดอันดับให้เป็นฐานการผลิตที่ดีที่สุดอันดับที่ 13 ของโลก โดยดัชนีการผลิตเพิ่มขึ้น 35% และมูลค่าการผลิตเพิ่มขึ้น 3% และด้วยความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงการระบาดของโควิด19 ทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทยขยายตัวขึ้น โดยมีอัตราการส่งออกเพิ่มขึ้น 5-10%
ในฐานะบริษัทอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เดลต้ามีทีมวิศวกรรม R&D ระดับโลกในประเทศไทยที่ทำงานร่วมกับลูกค้าชั้นนำระดับโลกเพื่อผลักดันประสิทธิภาพการใช้พลังงานของผลิตภัณฑ์ แผนกวิจัยและพัฒนาธุรกิจ Power Electronics ของเดลต้า ประเทศไทย ได้มอบโอกาสให้กับผู้มีความพยายามและความสามารถด้านวิศวกรรมของไทย ได้เข้ามาฝึกงาน ประสบการณ์การทำงานด้าน “การวิจัยและพัฒนาที่แท้จริง” นอกเหนือจากงานง่าย ๆ เช่น การทดสอบ
วันนี้เราได้พูดคุยกับผู้มีความสามารถรุ่นใหม่ นายทินนภัทร พุ่มแก้ว ซึ่งเป็นวิศวกรออกแบบเฟิร์มแวร์คนใหม่ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาออกแบบพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ (Custom Design Power R&D Center) ของเดลต้า ประเทศไทย ที่โรงงานเดลต้า 5 ของเรา
ช่วยเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับตัวคุณ มาจากที่ไหน? ภูมิหลังเกี่ยวกับการศึกษาและประสบการณ์เกี่ยวกับอาชีพของคุณ?
ผมมาจากกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งความถนัดทางวิชาชีพของผม คือ พาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์
ทำไมคุณถึงเลือกทำงานที่ Delta R&D และทักษะ/อาชีพของคุณพัฒนาขึ้นอย่างไรที่นี่?
ผมรู้ดีว่าเดลต้าเป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของประเทศไทย และผมเคยได้ยินเกี่ยวกับโอกาสต่าง ๆ ที่มีที่นี่ในช่วงสองปีที่ผ่านมาที่มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ผมยังสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมของเดลต้า เช่น Delta PLC และพาวเวอร์ซัพพลาย ด้วย ดังนั้น ในปีชั้นปีสุดท้ายของการเรียน ผมจึงได้ติดต่อกับรุ่นพี่ที่ทำงานอยู่ที่ Delta R&D เพื่อนัดสัมภาษณ์ ซึ่งนี่เป็นวิธีที่ผมใช้สมัครและได้งานที่เดลต้า ประเทศไทย
ผมเลือกที่จะทำงานที่เดลต้าเพราะรู้สึกว่านี่คือบริษัทที่ตรงกับความสนใจเฉพาะในด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พาวเวอร์ของผม ซึ่งการทำงานที่นี่ทำให้ผมสามารถพัฒนาตนเองโดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ของตัวเองและจากรุ่นพี่ที่มีทักษะในแผนก R&D ของเรา
แม้ว่าผมจะทำงานที่นี่ได้เพียงหนึ่งปี แต่ผมก็ได้ทำงานในโปรเจคใหญ่ถึงสองโปรเจคซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ Stm32CubeIDE ร่วมกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังขั้นสูง โดยมีรุ่นพี่คอยช่วยให้คำแนะนำในการดำเนินการกระบวนการทดสอบและ debug ตลอดทั้งโปรเจค
ที่นี่ผมสามารถพัฒนาทักษะการทำงาน เช่น การเขียนโปรแกรมภาษา C และช่วยพัฒนาระบบควบคุม ในขณะเดียวกัน ผมก็สามารถพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์อย่างการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานเป็นทีม
บทบาทหลักของคุณในตอนนี้คืออะไร และส่วนที่น่าสนใจที่สุดในงานของคุณคืออะไร?บทบาทหลักของผมในตอนนี้คือการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ เช่น การทดสอบประสิทธิภาพ การทดสอบการขยายลูป (loop gain) ด้วย Bode Analyzer Suite และการเขียนซอฟต์แวร์ภาษา C สำหรับระบบควบคุมในโปรเจคใหม่ของเรา ส่วนงานที่น่าสนใจที่สุดของผมตอนนี้คือการเขียนซอฟต์แวร์ เพราะมันทำให้ผมรู้สึกท้าทายและสนุกมาก
สำหรับผมแล้ว ซอฟต์แวร์ที่ดีสามารถสร้างความแตกต่างระหว่างความสำเร็จหรือความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ในตลาดได้ เนื่องจากในอุปกรณ์จ่ายไฟ (PSU) แต่ละเครื่องเราจำเป็นต้องมีตัวควบคุมและซอฟต์แวร์ก็เป็นส่วนสำคัญในการควบคุม หากซอฟต์แวร์มีจุดบกพร่องจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์จะไม่น่าเชื่อถือและไม่ปลอดภัย ดังนั้น ผมมักจะตรวจสอบงานของตนเองอย่างรอบคอบกับหัวหน้างานและเพื่อนร่วมทีมก่อนที่จะส่งงาน เพราะพวกเขาอาจจะมองเห็นสิ่งที่ผมทำพลาดไป
เพื่อนร่วมทีมของคุณให้การสนับสนุนคุณอย่างไร และคุณเห็นข้อได้เปรียบอะไรในการทำงานในสถานที่วิจัยและพัฒนาระดับโลกที่มีผู้คนจากหลายเชื้อชาติและลูกค้าชั้นนำ?
เพื่อนร่วมทีมสนับสนุนผมเป็นอย่างดีในแง่ของการให้คำแนะนำ หัวหน้างานของผมมีประสบการณ์ด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังหลายปี ซึ่งเขาได้ให้รายงานการวิจัยเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังเพื่อศึกษา และเขาสอนวิธีใช้โปรแกรมต่าง ๆ เช่น Stm32CubeIDE, MATLAB, เครื่องวิเคราะห์ Bode และการใช้ออสซิลโลสโคปซึ่งต้องใช้อยู่เป็นประจำ
ข้อดีของการทำงานร่วมกับลูกค้าที่เป็นบริษัทชั้นนำคือ เราได้รับประสบการณ์และความรู้ที่ยอดเยี่ยมอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยให้เราพัฒนาตนเองอย่างมืออาชีพและช่วยให้บริษัทก้าวหน้าต่อไปทั้งในด้านความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและการขายสินค้า
คุณช่วยแบ่งปันความท้าทายที่สุดที่คุณเคยเผชิญในฐานะวิศวกร R&D พร้อมกับวิธีที่คุณจัดการกับมันให้เราฟังได้หรือไหม?
ความท้าทายที่สุดของผมคือการเขียนซอฟแวร์โปรเจคเครื่องชาร์จ On-board สำหรับการผลิต EV ที่โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมบางปูของเรา ซึ่งนี่เป็นความท้าทายต่อเนื่องที่ผมจะต้องพยายามดำเนินงานให้ดีที่สุดทุกวัน
ผมเชื่อว่าด้วยการสนับสนุนของทีมและหัวหน้างานทำให้ผมทำงานนี้ได้สำเร็จลุล่วง ซึ่งผมตั้งตารอที่จะเห็นความสำเร็จของโปรเจคที่น่าตื่นเต้นนี้เป็นอย่างมาก
ผู้มีความสามารถด้าน R&D ในท้องถิ่นช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยได้อย่างไร และทำไมศูนย์ R&D ที่ปรับให้เข้ากับท้องถิ่นเช่นที่เดลต้า ประเทศไทย ถึงสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเศรษฐกิจได้?
ศูนย์ R&D ของเดลต้า ประเทศไทย รับผิดชอบการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลังงานทั้งหมด รวมถึงโซลูชั่นที่มีสมรรถนะและประสิทธิภาพการทำงานสูง และเป็นนวัตกรรมใหม่ของเรา ในฐานะวิศวกร R&D เราต้องผลักดันขอบเขตของความเป็นไปได้เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ เรายังสำรวจความเป็นไปได้ทั้งหมดในการผลิตผลิตภัณฑ์ชั้นนำเดลต้า เช่น พาวเวอร์ซัพพลายหรืออะแดปเตอร์ ซึ่งเราได้ทำงานเพื่อลดความซับซ้อนของกระบวนการผลิตให้มากที่สุดโดยการค้นหาโซลูชันใหม่และใช้ประโยชน์จากนวัตกรรม
การปรับปรุงและการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้สามารถทำให้ผลิตภัณฑ์ของเรามรประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นและยังเพิ่มความได้เปรียบทางเศรษฐกิจเพื่อช่วยให้เราเอาชนะอุปสรรคทางเศรษฐกิจและข้อจำกัดของตลาดได้
โปรเจคใดของคุณที่คุณภูมิใจมากที่สุด และทำไม?
ผมภูมิใจในทุกโปรเจคที่ผมมีส่วนร่วม แต่ถ้าคุณถามว่าโปรเจคใดที่น่าจดจำที่สุด ก็คงจะเป็นโครงเครื่องชาร์จ On-broad เนื่องจากโปรเจคนี้เป็นโปรเจคที่ผมเริ่มต้นด้วยตัวเอง
ผมขอขอบคุณหัวหน้างานที่ให้โอกาสในการเป็นเจ้าของโปรเจคนี้ และหวังว่างานของผมจะช่วยให้ทีมของเรามอบคุณค่าและความพึงพอใจให้กับลูกค้าของเราได้
คุณคิดว่าอะไรเป็นสิ่งที่โดดเด่นของการวิจัยและพัฒนาของเดลต้า ประเทศไทย และอะไรที่คุณประทับใจที่สุดในการทำงานและผู้คนที่นี่?
ผมคิดว่าความสำเร็จของทีมเป็นเรื่องของการมีคนที่ดีและมีความสามารถสูงอยู่ในทีม ซึ่ง R&D มีความต้องการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเป็นพิเศษ และเราต้องมีความอยากรู้อยากเห็น สร้างสรรค์ และคิดนอกกรอบเพื่อค้นหาโซลูชัน ๆ เพื่อลูกค้าของเรา เช่น การใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ Delta PSU
ที่เดลต้า ประเทศไทย เราโชคดีที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลตลอดกระบวนการตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงต้นแบบและการผลิต ซึ่งหมายความว่าเราสามารถนำความรู้ด้านวิศวกรรม R&D มาใช้ได้อย่างแท้จริง
ความประทับใจของผมในการทำงานที่นี่คือทุกคนในบริษัทมุ่งมั่นที่จะทำงานอย่างมืออาชีพ ทุกคนที่นี่เป็นมิตรและน่ารัก และเราก็เป็นเหมือนครอบครัว
คุณมองตัวเองในอีก 5 ปีข้างหน้าไว้อย่างไร และมีเส้นทางอย่าไรที่คุณจะทำเพื่อบรรลุเป้าหมายการทำงานและชีวิตของคุณ?
ในอีกห้าปีข้างหน้า ผมจะเห็นตัวเองกำลังทำงานที่ผมชอบ ดังนั้น ผมต้องเรียนรู้และฝึกฝนให้มากเพื่อสร้างประสบการณ์ ซึ่งตอนนี้ผมเริ่มรู้เรียนการเขียนโปรแกรมเพื่อการควบคุมแบบดิจิทัลโดยใช้ภาษาซี นอกจากนี้ ผมยังมีแผนที่จะเรียนต่อปริญญาโทด้านอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
นอกจากการพัฒนาอาชีพการงานแล้ว เป้าหมายหลักในชีวิตของผมคือการมีความสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิต และร่างกายที่แข็งแรง
คุณมีคำแนะนำอะไรที่อยากบอกกับวิศวกรรุ่นใหม่ที่ต้องการทำงานในด้านการวิจัยและพัฒนาและประสบความสำเร็จในประเทศไทย? และอะไรคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกสถานที่ทำงาน?
โดยส่วนตัวแล้ว ผมมองว่าความก้าวหน้าในสายงานอาชีพเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกสถานที่ทำงาน ดังนั้น ผมอยากแนะนำให้วิศวกรรุ่นใหม่ค้นหาความรู้เพิ่มเติมในสาขาที่สนใจและความเชี่ยวชาญพิเศษที่เป็นที่ต้องการก่อน
อ่านข่าวเทคโนโลยีอยู่เสมอเพื่อนำไปใช้ในการทำงานและมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำที่มีความรู้ในด้านการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่เกิดขึ้นใหม่
สุดท้ายนี้ สภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีและความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น เราควรทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมทีมและหัวหน้างาน และมองหาบริษัทที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และเป้าหมายในอนาคตของเรา
พร้อมสำหรับอาชีพด้าน “R&D” หรือยัง?
ที่เดลต้า ประเทศไทย ทีมงาน R&D ของเราเป็นเจ้าของการพัฒนาตั้งแต่แนวคิดจนถึงการผลิตในตลาด หากคุณต้องการรับประสบการณ์การทำงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างเต็มรูปแบบและพัฒนาความสามารถของคุณที่นี่ในประเทศไทย เดลต้าคือตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ
เข้ามาพูดคุยกันเพื่อหาว่าเราสามารถช่วยทำให้ความฝันของคุณในสายอาชีพวิศวกร R&D ให้เป็นจริงได้อย่างไร สามารถเยี่ยมชม Careers Page ของเราตอนนี้หรือติดต่อฝ่ายทรัพยากรบุคคลของเราได้ที่: recruitment@deltathailand.com