นิตยสารออนไลน์รายสองเดือนสำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย
นิตยสารออนไลน์รายสองเดือน
สำหรับครอบครัวเดลต้าที่เพียรพยายามในการทำงาน
ประจำภูมิภาคอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลีย

หกความจริงเกี่ยวกับวันตรุษจีน

โดย David Nakayama - เผยแพร่เมื่อ กุมภาพันธ์ 25, 2564

ที่มา: “Chinese New Year in Taiwan” นิตยสาร CommonWealth Magazine

บทความโดย David Nakayama, DET Corp Comms

ตรุษจีนวันขึ้นปีใหม่ (農曆新年) หรือเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (春節) เป็นเทศกาลจีนโบราณที่เริ่มต้นขึ้นในวันที่พระจันทร์เต็มดวงปรากฏขึ้นระหว่างวันที่ 21 มกราคมถึง 20 กุมภาพันธ์ ซึ่งช่วงเวลานี้มีการเฉลิมฉลองในหลายประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับจีน รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ในช่วงเวลานี้ คนไทยจำนวนมากต่างสนุกสนานกับการประดับตกแต่ง ร่วมรับประทานอาหารกับครอบครัว และมอบอั่งเปา ด้วยความปรารถนาที่จะมีสุขภาพดีและมีเงินทองกองเป็นภูเขา แต่อากงกับอาม่าได้บอกคุณถึงความหมายของสิ่งเหล่านี้หรือไม่?

มาหาคำตอบกันว่า 6 ความจริงเกี่ยวกับวันตรุษจีนมีอะไรบ้าง

1. สีแดงสดและประทัดขับไล่ความโชคร้าย

ที่มา: เว็บไซต์ ChineseNewYear.net

ตามตำนานของจีน เหนียน (年獸) เป็นปีศาจที่จะในช่วงวันตรุษจีนเพื่อกินชาวบ้านกลางดึก ชายชราหรือเด็กจะช่วยกันวางกระดาษสีแดงและจุดประทัดเพื่อให้เหนียนกลัว ในปัจจุบัน ผู้คนจะสวมชุดสีแดง วางม้วนกระดาษสีแดงรอบประตูและจุดประทัดเพื่อไล่วิญญาณชั่วร้ายออกไป

2. ให้เงินเพื่อนำความโชคดีให้กับทุกคน

ที่มา: BBC

ซองสีแดงพร้อมเงิน (紅包) เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีและช่วยขับไล่วิญญาณชั่วร้าย ในภาคใต้ของจีน คนที่แต่งงานแล้วจะมอบอั่งเปาให้กับคนที่ยังไม่ได้แต่งงานและลูก ๆ ส่วนในภาคเหนือ ผู้เฒ่าผู้แก่จะมอบอั่งเปาให้กับคนที่อายุน้อยกว่า อย่าลืมที่จะใส่ธนบัตรใหม่เอี่ยมไว้ในซองสีแดงที่คุณจะมอบและหลีกเลี่ยงการเปิดซองต่อหน้าผู้อื่น จำนวนเงินที่ใส่ด้านในควรเลขนำโชคโดยขึ้นต้นด้วยเลขคู่ เช่น 8 (八) หมายถึงความมั่งคั่ง 6 (六) หมายถึงราบรื่น ควรหลีกเลี่ยงเลขคี่และห้ามใส่เลข 4 (四) ซึ่งออกเสียงเหมือนกับคำว่าความตาย

3. นำโชคลาภมาเยือนบ้านของคุณ

ที่มา: CGTN

ในวันตรุษจีน เราจะแขวนแผ่นกระดาษสีเหลี่ยมจัตุรัสสีแดงพร้อมตัวอักษรจีนคำว่า “โชคลาภ” (福) ที่ทางเข้าบ้าน หลายคนห้อยอักษรนี้กลับหัว เพราะภาษาจีนคำว่า “กลับหัว” (倒) เป็นคำพ้องเสียงของคำว่า “มาถึง” (到) ดังนั้น การแขวนอักษรนี้กลับหัวจะมีความหมายว่า ความโชคดี ความสุข และความเจริญรุ่งเรืองกำลังมาเยือนบ้านของเรา

4. อาหารตรุษจีนมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค

ที่มา: Travel China Guide

ทางภาคเหนือของจีน งานเลี้ยงตรุษจีนจะต้องมีเกี๊ยวนึ่งร้อน ๆ (饺子) ซึ่งทั้งครอบครัวจะมาร่วมกัน พ่อเป็นคนรีดแป้ง ส่วนคนอื่น ๆ ตั้งแต่ย่ายายจนไปถึงเด็ก ๆ จะช่วยกันใส่ไส้และห่อเกี๊ยวแล้วนำไปต้ม ส่วนในทางภาคใต้ (ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของคนไทยเชื้อสายจีน) ผู้คนจะมอบขนมเข่ง (年糕) ซึ่งตั้งแต่มณฑลฝูเจี้ยนไปจนถึงมณฑลกวางตุ้ง ขนมเข่งจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป รวมถึงประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีชุมชนฮักกาและกวางตุ้งขนาดใหญ่

5. การเดินทางกลับบ้านที่หนาแน่นที่สุดในโลก

ที่มา: Global Times China

อาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนไทยที่จะจินตนาการว่าการกลับบ้านในช่วงตรุษจีนในประเทศที่ใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลกนั้นยากลำบากเพียงใด ฤดูการเดินทางกลับบ้านของจีนหรือ “ฤดูเดินทางแห่งเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” (春運) เป็นช่วงเวลา 40 วัน ซึ่งเป็นการเดินทางประจำปีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีชาวจีนหลายล้านคนเดินทางจากที่ทำงานที่อยู่บริเวณชายฝั่งไปยังบ้านเกิดหลายร้อยหรือหลายพันกิโลเมตรในต่างจังหวัด ในปี 2562 ก่อนที่โควิดจะแพร่ระบาด มีการเดินทางกลับบ้านประมาณสามพันล้านครั้งในช่วงวันหยุด ปัจจุบัน ชาวจีนสามารถโดยสารเครื่องบินหรือรถไฟความเร็วสูงได้ แต่ก่อนจะถึงตอนนี้ พวกเขาไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องรอหลายวันนอกสถานีรถไฟเพื่อซื้อตั๋ว จากนั้นต้องอดทนต่อบนรถไฟช้าที่แออัดที่แล่นผ่านชนบทอันหนาวเหน็บ

6. เทศกาลฤดูใบไม้ผลิเป็นจุดสิ้นสุดของฤดูหนาวที่หนาวเหน็บและจุดเริ่มต้นความอบอุ่นของฤดูใบไม้ผลิ

ที่มา: China Daily

เทศกาลฤดูใบไม้ผลิเป็นจุดสิ้นสุดของฤดูหนาวและเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจันทรคติของจีน คนไทยอาจไม่รู้สึกถึงฤดูหนาวหรือฤดูใบไม้ผลิในสภาพอากาศเขตร้อนชื้นแบบนี้ แต่ชาวจีนจำนวนมากต้องทนกับน้ำแข็งและหิมะเป็นเวลาหลายเดือนและเดินทางผ่านภูมิประเทศที่เป็นน้ำแข็งเพื่อกลับบ้านมาเยี่ยมญาติ ในจังหวัดทางตอนกลางและตอนใต้ของจีนที่ไม่มีระบบทำความร้อนส่วนกลางที่จัดตั้งขึ้นโดยรัฐแบบทางภาคเหนือ ผู้คนจำนวนมากต้องสวมเสื้อแจ็คเก็ตหนา ๆ และอยู่ในบ้านที่มีอากาศหนาวเย็น พลางรับประทานเมล็ดทานตะวันเพื่อรอคอยที่จะสิ้นสุดฤดูหนาวที่ยากลำบากนี้อีกครั้ง

David Nakayama

เกี่ยวกับผู้เขียน (ทีมบรรณาธิการ)

David Nakayama

หากคอนเทนต์คือราชา ซึ่งแน่นนอนว่าต้องมีผู้สร้างราชา และธีมโปรดในบทความของผมคือความปรารถนาของมนุษย์ที่จะเป็นอิสระ ผมจบปริญญาโทในสาขาการศึกษาภาษาจีน และมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ในฐานะที่เป็น Comms ของเดลต้า ประเทศไทย ผมมีความสนใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องราวเบื้องหลังของผลิตภัณฑ์และผู้คนของเรา สามารถแบ่งปันเรื่องราวของคุณกับผมได้ที่ https://www.linkedin.com/in/yushi-david-nakayama/

แชร์ facebook linkedin

ร่วมแสดงความเห็น

แสดงความคิดเห็น next